สร้างสมาธิ เสริมไอคิว

สร้างสมาธิ เสริมไอคิว

หลากหลายกิจกรรมสร้างสมาธิ อีกหนึ่ง วิธีเพิ่มไอคิว

สุขภาพกายใจส่งผลถึงกัน บางครั้งเกิดเป็นความมหัศจรรย์อย่างที่เราคาดไม่ถึง ชีวจิต จึงอยากจะชวนให้ทุกคนลองทำสมาธิ ซึ่งเป็นเทรนด์ฟิตสมอง  อีกหนึ่ง วิธีเพิ่มไอคิว ที่กำลังมาแรง เริ่มจากค่อยๆ ปรับลมหายใจเข้า – ออกให้ช้า เบา และลึกขึ้น ผ่อนคลายตัวเองให้รู้สึกสบาย เพื่อเตรียมความพร้อมนำเคล็ดลับดีๆ ไปใช้ค่ะ

สมาธิเสริมไอคิวได้อย่างไร

สมาธิมีความสำคัญต่อสมอง เนื่องจากการมีสมาธิจัดเป็นสภาวะอย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมศักยภาพของสมองให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้

คุณหมอเรขา กลลดาเรืองไกร จิตแพทย์แผนกประกันสังคม โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 อธิบายถึงบทบาทของสมาธิต่อไอคิวว่า

เวลาที่มีสมาธิ สมองของเราจะหลั่งสารชื่อโดพามีน (dopamine) และสารสื่อประสาทซีโรโทนิน

(serotonin) ในปริมาณที่พอเหมาะกับการทำงานของสมอง ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองด้านความสนใจ (concentration) และความตั้งใจ (attention) ให้ดีขึ้น

วิธีเพิ่มไอคิว

อีกทฤษฎีหนึ่งเป็นทฤษฎีทางชีววิทยาที่กล่าวไว้ว่าพฤติกรรมการรับรู้และการเรียนรู้ถูกกำหนดโดย

คลื่นที่สมองส่งออกมา ดังนั้นความสงบของจิตใจย่อมสร้างคลื่นสมองที่ช่วยให้การรับรู้และการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

เมื่อใดก็ตามที่เรามีสมาธิ จิตใจอยู่ในสภาวะที่สงบ เยือกเย็น ผ่อนคลาย สมองจะส่งคลื่นสมองชนิดหนึ่งออกมา เรียกว่า คลื่นแอลฟา (alphawave) ส่งผลให้ความสามารถในการรับรู้ เรียนรู้และความจำของเรามีประสิทธิภาพ

สำหรับการพัฒนาระดับไอคิวนั้น คุณหมอเรขาอธิบายว่า ระดับไอคิวจะพัฒนาได้จนถึงอายุ 18 ปี

หลังจากนั้นจะไม่สามารถพัฒนาได้ เพราะไม่สามารถแปลผลได้ นำผลมาวิเคราะห์ไม่ได้ แต่ความสามารถ

ในการเรียนรู้สามารถพัฒนาได้ตลอดชีวิต

ทราบหลักการน่าสนใจอย่างนี้กันแล้ว ถ้าพร้อมแล้วไปทำสมาธิกันค่ะ

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

หลากวิธีสร้างสมาธิ

สำหรับชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ต้องกระตือรือร้นตลอดทั้งวัน อาจหาโอกาสฝึกสมาธิได้ไม่ง่ายนัก แต่จริงๆแล้วสมาธิเกิดได้จากการฝึกสติ ซึ่งสามารถทำได้ตลอดทั้งวันในรูปแบบที่หลากหลาย ลองนำเทคนิคที่เรานำมาฝากต่อไปนี้ไปใช้สร้างสมาธิระหว่างวันดูค่ะ

  • ทำสมาธิ / สวดมนต์ตามหลักศาสนา

ไม่ว่าจะเป็นการทำสมาธิด้วยการนั่งสมาธิหรือการเดินจงกรม ตลอดจนการสวดมนต์ ต่างช่วยในการรวบรวมความสนใจ ซึ่งมีผลดีต่อสมอง โดยมีการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่เพ่งความสนใจไปที่ใดที่หนึ่งส่วนของสมองที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลจะทำงานตื่นตัวได้มากขึ้น ทำให้เซลล์ประสาทสังเคราะห์

สารสื่อประสาท บริเวณก้านสมองหลั่งซีโรโทนิน ซึ่งช่วยในการเรียนรู้

วิธีทำสมาธิ : การทำสมาธิทำง่ายๆ ด้วยวิธีอานาปานสติ คือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้า – ออก วันแรกอาจเริ่มด้วยเวลาสั้นๆ เพียง 10 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาให้มากขึ้น โดยทำเป็นประจำทุกวันในช่วงเวลาใดก็ได้

การสวดมนต์เป็นการทำสมาธิที่ช่วยให้สมองได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงช้าๆ ควรสวดเป็นประจำทุกวัน ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีขึ้นไปเพื่อให้สมองได้รับการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ

วิธีเพิ่มไอคิว

  • ทำงานฝีมือหรืองานศิลปะ

งานวิจัยหนึ่งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำวิจัยในนักศึกษาทั่วสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียที่ทำงานเย็บปักถักร้อยอย่างการถักนิตติ้ง ผลปรากฏว่าการถักนิตติ้งเป็นกิจกรรมที่เหมือนการทำสมาธิหรือการสวดมนต์อย่างหนึ่ง เพราะจังหวะของการถักที่สม่ำเสมอมีจังหวะเหมือนการสวดมนต์

การทำงานศิลปะช่วยเสริมสร้างไอคิวได้ เพราะช่วยให้สมองด้านความสนใจและความตั้งใจทำงานได้ดีขึ้น

วิธีสุขกับงานศิลปะ : ทำงานศิลปะที่ตัวเองสนใจ เช่น การวาดภาพ โดยจดจ่ออยู่กับการวาดหรือสเก็ตช์ภาพ การลงสีทุกขั้นตอน สำหรับงานเย็บปักถักร้อยต่างๆ เช่น การถักนิตติ้ง ควรเอาใจใส่ทำด้วยความประณีต โดยใช้เวลาต่อเนื่องนานพอสมควร

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

วิธีเพิ่มไอคิว

  • ฟังเพลง

ดนตรีช่วยเพิ่มสมาธิ ส่งผลต่อการเรียนรู้ได้ดนตรีกลุ่มนี้จะมีความซับซ้อนในทำนองและ

จังหวะ จังหวะไม่ช้าและไม่เร็วเกินไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและมีสมาธิจดจ่ออยู่กับกิจกรรมหรืองานที่กำลังทำ

นอกจากนี้ การฟังเพลงสามารถช่วยให้เราผ่อนคลายพร้อมๆ กับกระตุ้นสมองเราไปด้วยมีการศึกษาพบว่า คนที่เรียนดนตรีมักเก่งด้านคณิตศาสตร์มากขึ้น

วิธีสร้างสมาธิด้วยเสียงเพลง :

  1. ฟังเพลงสองรอบ โดยในรอบที่สองลองสังเกตตัวเองว่าสามารถจับเสียงเครื่องดนตรีหรือทำนองได้แตกต่างไปจากครั้งแรกอย่างไร
  2. ลองจดจ่อฟังเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวตลอดเพลง เช่น เสียงเบส
  3. ผ่อนคลายตัวเองให้มีอารมณ์ร่วมในการฟังโดยปรับอารมณ์ไปตามเสียงเพลง

ที่เปลี่ยนไป

  • ปรับสภาพแวดล้อม

การปรับสภาพแวดล้อมช่วยให้มีสิ่งเร้าที่จะทำให้วอกแวกน้อยลง ช่วยให้มีสมาธิดี ส่งผลดีต่อการพัฒนาไอคิวและการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้นได้

นอกจากนี้ การศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังพบว่าการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติสามารถกระตุ้นสมองได้ดี เนื่องจากสมองไม่ต้องใช้ความพยายามที่จะแยกแยะและแปลความหมายสิ่งแวดล้อมที่สับสนวุ่นวาย

วิธีเปลี่ยนสู่ความสงบ : คุณ หมอเรขาแนะนำให้ปรับสภาพแวดล้อมด้วยการอยู่หรือทำสมาธิในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวนแสงพอเหมาะ อากาศถ่ายเทดี และอุณหภูมิกำลังสบาย

สำหรับนักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน แนะนำให้ทำกิจกรรมในสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติเช่น เดินเล่นในสวนสาธารณะ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าส่งผลให้ผู้ที่ทำกิจกรรมนี้เป็นประจำทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            อัจฉริยภาพสร้างได้ด้วยตัวคุณเองค่ะ

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 274 

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.