ไมเกรน

4 ยาดี หยุดไมเกรนชะงัด

4 ยาดี หยุด ไมเกรน ชะงัด

คำถาม : มีงานวิจัยรองรับยาพอกไมเกรนไหมคะ

บ.ก.ขอหาคำตอบให้

ผู้ถามถามมาแค่นี้ บ.ก.เข้าใจว่า ผู้ถามหรือคนรอบข้างผู้ถามมีความทรมานจากอาการปวดหัวไมเกรน และต้องการหาทางเลือกอื่น นอกจากการกินยา

เรื่องแรก…ยาพอกไมเกรน…บอกตามตรง บ.ก.และทีมงานไม่เคยได้ยิน เมื่อค้นข้อมูลในเว็บไซต์ก็ไม่เห็น ทำให้ หนึ่ง ไม่รู้ว่า ยาพอกไมเกรนตัวนี้มีส่วนผสมของอะไรบ้าง เป็นสมุนไพร หรืออะไรอื่นๆ และสอง การไม่พบข้อมูลในเว็บไซต์แปลว่า สิ่งนี้ยังเป็นแค่การสื่อสารปากต่อปาก และยังทำกันในคนเฉพาะกลุ่ม จึงยังไม่เกิดการเผยแพร่

ฉะนั้นจากคำถามเรื่องงานวิจัยรองรับ ยาพอกไมเกรน เราจึงไม่สามารถเช็คให้ได้ค่ะ (เพราะเราต้องรู้ว่ามีส่วนผสมของอะไรบ้าง)

ส่วนเรื่องที่สอง…เป็นเรื่องการแก้อาการไมเกรน กูรูต้นตำรับชีวจิต อาจารย์สาทิส อินทรกำแหงให้ความรู้เสมอๆ ขณะท่านยังมีชีวจิตอยู่ และนิตยสารชีวจิตก็นำเสนอ เรื่องวิธีแก้ไขอาการปวดไมเกรนเนืองๆ ซึ่งบ.ก.สามารถรวบรวมมาบอกเล่า ดังนี้

  1. ยาแก้ไมเกรนจากสาเหตุซึมเศร้า เครียด

ความเครียดเป็นจำเลยที่ 1 ที่มักถูกกล่าวหาว่าทำให้ป่วยเป็นไมเกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะสังคมที่บีบคั้นเช่นปัจจุบัน การค้นคว้าทางคลินิกบ่งชี้ว่า สามารถเชื่อมโยงความเครียดกับไมเกรนได้อย่างชัดเจน อาจเป็นไปได้ว่า ความเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาและฮอร์โมนในร่างกาย

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า อาการไมเกรนมักเกิดหลังจากภาวะ Let Down หรือการตอบสนองต่อการผ่อนคลายจากความเครียด เช่น หลังจากเครียดถึงขีดสุด ร้องไห้ฟูมฟาย หรือวิตกกังวลอย่างหนัก ซ้ำร้าย หลายคนเมื่อรู้ว่าไมเกรนกลายเป็นโรคประจำตัวของตัวเองเสียแล้ว กลับเกิดความเครียดขึ้นมาอีก ทำให้อาการไมเกรนกำเริบเป็นเหมือนปัญหางูกินหางไม่จบสิ้น

วิธีการแก้ไข : ฟังเพลง ทำสมาธิ ช่วยผ่อนคลาย

วิธีการที่ดีที่สุดทางหนึ่งในการลดความเครียด แนะนำให้ฟังเพลงบรรเลงที่มีเสียงธรรมชาติ เช่น

เสียงคลื่นในทะเล เพลงเบาๆ ที่ให้อารมณ์สนุกสนานผ่อนคลายเหมือนกำลังเดินทางท่องเที่ยว เพลงที่ช่วย

ให้คิดถึงช่วงเวลาอันสุขสงบ

นอกจากนี้อาจฝึกทำสมาธิง่ายๆ เช่น การนั่งสมาธิด้วยวิธีอานาปานสติ หรือการกำหนดลมหายใจเข้า – ออกอย่างมีสติ การเดินจงกรม หรือฝึกโยคะท่าง่ายๆ ก็ช่วยให้ได้ฝึกเรื่องสมาธิและสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้นได้เช่นกัน

  1. ยาแก้ไมเกรนจากสาเหตุอดนอน

อดนอน นอนมากเกินไป ไมเกรนถามหา จากรายงานของ National Headache Foundation

ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยไมเกรนมีปัญหาการนอน ซึ่งเป็นเหมือนตัวการชักศึก

เข้าบ้านให้ไมเกรนเข้าโจมตีได้ ปัญหาการนอนหลักๆ มีดังนี้

การนอนไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นการนอนดึกทุกวัน หรือเฉพาะในช่วงวันหยุด ล้วนเป็นปัญหาของผู้ป่วย

ไมเกรนเป็นจำนวนมาก มีรายงานพบว่า ผู้ป่วยที่นอนวันละ 6 ชั่วโมงหรือน้อยกว่าจะมีอาการปวดศีรษะ

บ่อยหรือปวดรุนแรงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม การนอนมากเกินไปก็ทำให้เกิดอาการไมเกรนได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การนอนที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ช่วงมีรอบเดือนของผู้หญิงที่ทำให้หลับไม่สนิท อาการหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจซึ่งทำให้นอนได้น้อยกว่าปกติ ปัญหาด้านอารมณ์ความรู้สึก เช่น ปัญหาเรื่องงานหรือเครียดสะสมจนฝันร้าย ล้วนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหลับลึกได้

ดังนั้นอาจจะสรุปได้ว่า พฤติกรรมการนอนไม่สมดุลอาจมีแนวโน้มให้อาการไมเกรนกำเริบได้

วิธีการแก้ไข : ปรับแพตเทิร์นการนอนใหม่

การนอนเป็นยาที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการเยียวยาและป้องกันไมเกรน เชื่อไหมคะว่า การนอนหลับสนิทเพียงหนึ่งชั่วโมงสามารถบรรเทาอาการไมเกรนให้เบาบางลงได้อย่างอัศจรรย์ แนะนำให้จัดตารางการนอนใหม่ โดยกำหนดเวลาเข้านอนว่าจะนอนกี่ชั่วโมงจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากนอนหลับยาก ลองอาบน้ำอุ่นก่อนนอน เปิดเพลงฟังสบาย ใช้ที่ปิดตาที่ทำแบบถุงเจล ฝึกคลายเครียดคลายเกร็งแบบชีวจิต วิธีการดังกล่าวพบว่าผู้ป่วยไมเกรนใช้ได้ผลมาแล้ว อย่าลืมจัดห้องนอนให้เป็นห้องที่ให้ความรู้สึกสบายและผ่อนคลายด้วย

การนอนที่มีคุณภาพช่วยป้องกัน ไมเกรนได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ศึกษาพบว่า คุณภาพการนอนที่ดีลดความถี่ของการป่วยเป็นไมเกรนลงได้ 29 เปอร์เซ็นต์

และลดความรุนแรงของอาการลงได้ 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการนอนที่ไม่มีคุณภาพ

  1. ยาแก้ไมเกรนจากสาเหตุแสง สี เสียง

ตัวกระตุ้นจากแสง สี อาการไมเกรนกำเริบได้เพราะแสงสว่าง เช่น แสงจากหลอดไฟที่สว่างเกินไป แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ รวมไปถึงพวกหลอดประหยัดไฟ แสงกะพริบหรือแสงที่จ้าเกินไป จากจอคอมพิวเตอร์ สีสันที่ตัดกัน เช่น สีขาว – ดำ และลวดลาย บางอย่าง เช่น ลายตาหมากรุก

ตัวกระตุ้นจากเสียง เสียงดังหรือเสียงที่รบกวนอยู่ตลอดเวลา อาจมีผลกับผู้ป่วยบางราย เพราะบางคนไมเกรนจะกำเริบได้เมื่ออยู่ท่ามกลางเสียงดังหรือเสียงที่มีความถี่สูง ดังนั้นเมื่อเกิดอาการไมเกรน

กำเริบควรอยู่ในที่เงียบๆ อาการจะดีขึ้น

ตัวกระตุ้นจากกลิ่น ผู้ป่วยไมเกรนบางคนแพ้กลิ่นบางกลิ่น เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นเทียนหอม จนถึงควันจากสารเคมี ควันบุหรี่ มือสอง มลพิษ ควันจากท่อไอเสีย มีรายงานว่า กลิ่นฉุนทุกชนิดเป็นกลิ่นที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรนมากที่สุด

วิธีการแก้ไข: ลดวอลุ่มของแสง สี เสียง กลิ่น ช่วยได้

ลองเปลี่ยนเป็นหลอดไฟแรงวัตต์น้อยลงที่เรียกว่า Soft Light และติดตั้งหลอดไฟไม่ให้แสงไฟเข้าตาโดยตรง มีแว่นกันแดดไว้ในรถ บ้าน ที่ทำงานเสมอ ปรับแสงจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้จ้าเกินไปและไม่จ้องมองที่ที่มีสีจัดเกินไปจะดีมากหากจะจัดมุมหนึ่งในบ้านให้ร่มรื่น แสงไม่จ้ามาก เงียบสงบ ปราศจากกลิ่น เอาไว้เป็นที่สำหรับพักฟื้นเวลามีอาการและหลีกเลี่ยงที่ที่มีกลิ่นหรือควันพิษ

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

  1. ยาแก้ไมเกรนจากสาเหตุอาหาร

อาหาร ตัวการใหญ่ อาหารการกินเป็นตัวการใหญ่ซึ่งมีอิทธิพลกำหนดชะตากรรมว่า อาการปวดศีรษะเจ้ากรรมจะอยู่กับเราตลอดชีวิตหรือไม่ จะหมู่หรือจ่าอยู่ที่อาหารการกินของเรานี่เองค่ะ

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง อธิบายความสัมพันธ์ของอาหารที่ทำให้เกิดอาการไมเกรนว่า ในด้านวิชาการวิทยาศาสตร์ทางอาหารขั้นสูงสุด คือ Clinical Nutrition หรือการรักษาโรคด้วยอาหารนั้น มีารศึกษาด้านชีวเคมีเกี่ยวกับอาหาร และได้พบว่า การกินอาหารผิดๆ ทำให้เกิดโรคได้หลายอย่าง รวมถึงไมเกรน

รายงานจาก Adrenal Metabolic Research Society จากสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ผู้ที่แพ้อาหารและมีอาการปวดศีรษะไมเกรนมักเป็นเพราะกินอาหารประเภทเนยแข็ง เค้ก ไอศกรีม และช็อกโกแลตมากเกินไป โดยเริ่มต้นจะป่วยด้วยโรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) หรือ “น้ำตาลในเลือดต่ำ” ก่อน แล้วต่อจากนั้น

จะตามมาด้วยอาการปวดศีรษะไมเกรน

สำหรับคนไทยมากมายซึ่งป่วยเป็นไมเกรนพบว่ามีสาเหตุเช่นเดียวกับฝรั่ง คือ กินอาหารหวานและติดอาหารหวาน การกินหวานหรือน้ำตาลขาวมากเกินไป แป้งขาวมากเกินไป ทำให้เกิดโรคไฮโปไกลซีเมียหรือน้ำตาลในเลือดต่ำ และน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของอาการไมเกรน

เมื่อแนะนำผู้ป่วยไมเกรนให้เปลี่ยนอาหาร งดน้ำตาลขัดขาวแป้งขาว และเลิกกินของหวาน ปรากฏว่าผู้ป่วยหลายคนหายจากอาการไมเกรนได้

การค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับไมเกรนในประเทศอังกฤษของ นายแพทย์เชลดอน ซอล เฮนด์เลอร์ ร่วมกับทีมแพทย์อีกสี่ท่าน ได้ระบุว่า กรดแอมิโนไทโรซีน (Tyrosine) อาจเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนขึ้นได้ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า ไทโรซีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนเป็นสาเหตุให้เกิดไมเกรนได้ ดังนั้น การกินเนื้อสัตว์มากๆ จึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ปวดศีรษะไมเกรน

นอกจากนี้การกินเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อ หมู ไก่ ซึ่งไม่เหมาะกับการย่อยของมนุษย์ เมื่อกินเข้าไปมากๆ

นอกจากจะทำให้เกิดท็อกซินหรือพิษในร่างกายแล้ว ยังทำให้ร่างกายมีกรดมากด้วย และกรดเหล่านี้ทำให้เกิดการปวดศีรษะขึ้นได้อย่างแน่นอน

เมื่อเข้าใจกันดีแล้วว่า อาหารเป็นตัวการใหญ่จริงๆ ที่ทำให้ป่วยเป็นไมเกรน ก็ได้เวลาล้างบางพฤติกรรมการกินอาหารผิดๆ ของตัวเอง เริ่มจากการงดอาหารที่ทำให้อาการไมเกรนกำเริบกันก่อน และต่อไปนี้คืออาหารและเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยไมเกรนควรหลีกเลี่ยงค่ะ

  • อาหารกระตุ้นไมเกรน อาหารกลุ่มนี้ได้แก่ โกโก้ มะกอก ของดอง ถั่วเปลือกแข็ง ซอสเทอริยากิ

โยเกิร์ต ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วย อะโวคาโด ผักโขม ขนมปังที่ใช้ยีสต์ และขนมเบเกอรี่ต่างๆ

  • เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ มีผลต่อการทำงานของประสาทส่วนกลาง จึงสามารถทำให้เกิดอาการไมเกรนในบางคนได้ นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีสารฮิสตามีนและสารไทรามีนเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย เช่น ไวน์แดง เบียร์ และแชมเปญ ก็กระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้
  • เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนมีผลกระตุ้นการทำงานของประสาทส่วนกลาง หาก

เครื่องดื่มนั้นมีปริมาณกาเฟอีนสูงจะกระตุ้นให้เกิดไมเกรนคนส่วนใหญ่คิดว่ากาเฟอีนมีอยู่ในกาแฟ ชา และน้ำ

  • แอสปาร์แตม (Aspartame) แอสปาร์แตมเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มักเป็นส่วนผสมอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มที่โฆษณาว่า Sugar Free, Diet และ Low Calorie การศึกษาพบว่า แอสปาร์แตมลดระดับฮอร์โมนซีโรโทนิน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้
  • โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium Glutamate) หรือที่เรารู้จักกันในนามของผงชูรส เป็นเครื่องปรุงที่มีอยู่ในอาหารมากมาย โดยเฉพาะซอส พาร์มีซานชีส เฟรนช์ฟราย แฮมเบอร์เกอร์ บาร์บีคิว ตลอดจนอาหารจากร้านอาหารนอกบ้าน และอาหารที่ปรุงกันสดๆ จากหาบเร่แผงลอยข้างทางก็มักใส่ผงชูรสมากตราบใดที่ไม่ได้ทำอาหารเอง อย่าลืมบอกคนขายว่าไม่ใส่ผงชูรส
  • โซเดียมไนไตรท์ (Sodium Nitrite) เป็นสารปรุงแต่งอาหารที่มีอยู่ในไส้กรอก ฮ็อตด็อก เนื้อกระป๋อง และในเนื้อสัตว์รมควัน
  • สีผสมอาหาร FD&C Yellow#5 (Tartrazine) เป็นสารที่ให้สีเหลืองและสีอื่นๆ สีนี้จึงใช้ผสมในอาหารหลายชนิด เช่น เครื่องดื่มลูกอม

อย่าลืมนะคะ มีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพ อินบ็อกซ์เข้ามา บ.ก.ขอหาคำตอบให้

อ้างอิง นิตยสารชีวจิต

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.