กระดูกพรุน ไม่ระวังอาจถึงตายได้
กระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิงก็จริงค่ะ แต่เมื่อเทียบกันแล้วเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้สูงกว่าผู้ชายมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยทอง ผู้หญิงเราจะสูญเสียกระดูกได้ไวกว่าผู้ชายมากๆ เลยค่ะ ที่สำคัญคือ ถ้าไม่ระวังอาจถึงกับเสียชีวิตได้เลยนะคะ
ความเสี่ยง กระดูกพรุน
เพศ ผู้หญิงเมื่อหมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง จะทำให้กระดูกสลายอย่างรวดเร็ว เพราะสูญเสียฮอร์โมนเพศ และมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้มากกว่าผู้ชาย 40-50%
อายุ คนเรามีกระดูกหนาแน่นที่สุด เมื่ออายุ 30 ปี แล้วหลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลง
กรรมพันธุ์ หากในครอบครัวมีใครเป็นโรคกระดูกพรุน ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกได้
ยา ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยากันชัก ทำให้มวลกระดูกบางลงได้
แอลกอฮอล์ บุหรี่ เป็นตัวเร่งที่ทำให้กระดูกพรุนเร็วขึ้น
เมื่อกระดูกหัก จากกระดูกพรุน
20% เสียชีวิตภายใน 1 ปี
30% พิการถาวร
40% ใช้เครื่องช่วยพยุงในการเดิน
80% ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนก่อนกระดูกหัก
อาการกระดูกพรุน
ส่วนใหญ่ไม่มีแสดงอาการให้รู้ตัว แต่เมื่อสูญเสียกระดูกไปเรื่อยๆ ก็อาจแสดงอาการบางอย่างได้
- ปวดหลัง รุนแรงมากขึ้นเมื่อสันหลังยุบตัว
- หลังค่อม เตี้ยลง
ป้องกันกระดูกพรุน
แม้การสูญเสียเนื้อกระดูกในผู้หญิงจะเกิดขึ้นจากฮอร์โมนเพศหญิงที่น้อยลง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีวิธีป้องกันได้อยู่นะคะ คือ
- ไม่เครียด
- กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ระมัดระวัง อย่าลื่นล้ม หรือหกล้ม
- ตรวจวัดมวลกระดูก หากไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะกระดูกพรุน ควรเริ่มตรวจมวลกระดูกเมื่ออายุได้ 60 ปี
ข้อมูล โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ