สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง สู่ อัมพาตในผู้สูงวัย!

  1. การหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่นอนกรนดังๆ หรือมีน้ำหนักตัวมากๆ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำ sleep test ดูว่ามีออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงนอนหลับหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้
  2. หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบ พบในผู้ที่มีอายุมาก มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการทำอัลตร้าซาวนด์ดูหลอดเลือดบริเวณคอ
  3. หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีลิ้นหัวใจผิดปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สู’

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้

  1. ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็นได้มาก เรามักพบโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ เนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด
  2. เพศชาย พบอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าเพศหญิง
  3. มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว
  4. มีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน

 สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง

อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่เราสามารถสังเกตได้หลักๆ มี 5 สัญญาณเตือนสำคัญ ดังนี้

  1. ชาหรืออ่อนแรงใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน ทำให้มุมปากตก ปากเบี้ยว อมน้ำไม่อยู่ น้ำไหลออกจากมุมปาก
  2. ชาหรืออ่อนแรงที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน สูญเสียการทรงตัว
  3. พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน นึกคำพูดไม่ออก
  4. การมองเห็นมีปัญหาฉับพลัน อาจมองเห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพครึ่งเดียว ตาบอดหนึ่งหรือสองข้าง
  5. มีอาการปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน

อย่างไรก็ตามด้านการรักษาของโรคเส้นเลือดสมอง การรักษาในปัจจุบันก็คือ มีหลัก ต้องรับมารักษาให้เร็วที่สุด ดังนั้น เมื่อไหร่เริ่มมีอาการชวนให้สงสัยว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ , อัมพาต จะต้องรับมาโรงพยาบาล ถ้ามาได้เร็วได้เวลาเป็นชั่วโมงยิ่งดี ก็อาจจะมียาบางอย่างจะช่วยได้ ยกตัวอย่าง คือ ยาที่ละลายลิ่มเลือด การให้ยาแอสโพริน เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบมากขึ้น แล้วทำให้เกิดอาการมากขึ้น อันนี้มีการศึกษาชัดเจนว่า ยิ่งให้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ถ้าเป็นหลอดเลือดอุดตันบางครั้งก็จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้มันเป็นซ้ำอีก แต่ถ้าหลอดเลือดแตก ก็จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ดูอาการกันไป และต้องระวังไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

ข้อมูลจาก: เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เรื่องนี้ดี..ควรต้องแชร์!! กับ 8 เทคนิค สู่ชีวิตที่มีสุขของผู้สูงวัย

บ้านที่มีผู้สูงวัยอาศัยอยู่ ควรมี “เครื่องวัดความดันโลหิต” ติดไว้ที่บ้าน!

ผู้สูงวัยควรลดน้ำหนักแบบค่อยเป็น ค่อยไป

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.