โรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่ หลายคนจะเข้าใจว่าคือโรคอัลไซเมอร์ แต่จริงแล้วนั้น คือ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโรคสมองเสื่อมส่วนหนึ่งเท่านั้น หากแต่ผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ได้ แต่อาจจะมาจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ได้ ดังนี้
1.ผู้สูงอายุ เพราะว่าผู้สูงอายุบางครั้งก็ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้มีการบริหารสมองจึงทำให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายกว่าวัยอื่น
2.เพศที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากที่สุด คือเพศหญิง
3.ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อมนั้นอาจเกิดจากพันธุกรรม เพราะว่าผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับครอบครัวว่าเคยเป็นโรคนี้ ในอัตราส่วน 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุที่พบได้บ่อยมาก มี 2 ชนิด ที่ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้เกิดจากโรคอัลไซเมอร์
1.ชนิดไม่ทราบสาเหตุ อันนี้ผู้ป่วยก็เกิดสมองฝ่อขึ้นมาโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคอัลไซเมอร์)
2.เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง และทำให้หลอดเลือดแข็งตีบตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ยังมีสาเหตุอีกมากมายที่ยังเกิดขึ้นได้ในทุกวันอย่างเช่น
อาจเกิดจากการติดเชื้อในสมอง เช่นการที่ได้รับเชื้อไวรัสทำให้สมองเสื่อมได้ รวมถึงการที่ร่างกายของผู้ป่วยขาดวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 หรือวิตามินบี 12 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยประเภทนี้เซลล์สมองจะทำงานไม่ปกติ ผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุอาจจะให้ท่านกินอาหารประเภทตับ นม ผักใบเขียว ถั่วเหลือง และข้าวกล้อง เพราะอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทำให้ไปช่วยในการทำงานของเซลล์สมองให้ปกติดีขึ้น
ส่วนระยะความรุนแรงของสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ
ระยะแรก ผู้ป่วยมีอาการหลงลืมในเรื่องเพิ่งเกิดขึ้นอย่างเช่นจำไม่ได้ว่าวางของที่ไหน ท่านที่คอยดูแลผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญกับท่านด้วยหรือคอยสอดส่องว่าท่านถืออะไรไปไว้ที่ไหน ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีสมาธิและไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ได้นาน แต่ผู้ป่วยจะมีความทรงจำเกี่ยวกับอดีตได้ดี
สำหรับท่านที่ดูแลผู้สูงอายุอย่ามองข้ามเพราะนี่หมายถึงภาวะสมองเสื่อมระยะแรก สิ่งที่เกิดขึ้นท่านดูแล้วมองข้ามไปว่าเป็นโรคของคนชราทั่วไปเพียงเพราะ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังสามารถอยู่คนเดียวได้ สามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้โดยตัวเอง และมีความสามารถในการตัดสินใจได้ดีเท่านั้นเอง
ระยะปานกลาง เป็นระยะที่เริ่มมีความจำเสื่อมมากขึ้น มีความสามารถในการเรียนรู้ได้น้อยลง มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจและกะระยะทางจากการมอง และการใช้ภาษาผิดเพี้ยนไปจากเดิม สำหรับท่านที่ดูแลผู้ป่วยระยะนี้ท่านต้องช่วยดูแลผู้ป่วยในเรื่องกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น ดูแลเรื่องเกี่ยวกับการกินอาหาร และยา และผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการพูดซ้ำๆ สับสน กระสับกระส่าย หรือถึงขั้นประสาทหลอนได้ เพราะฉะนั้นเราเป็นผู้ดูแลท่านอย่าปล่อยให้ท่านอยู่เพียงลำพัง เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ และที่สำคัญเราต้องให้กำลังใจท่านอย่าดุ อย่าว่าในสิ่งที่ท่านทำผิด เพราะจะทำให้สภาพจิตใจของท่านแย่ลงทันที
ระยะรุนแรง เป็นระยะที่รุนแรง ผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้จะจำสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย สำหรับผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุ คุณต้องอยู่กับท่านอย่างใกล้ชิดเพราะท่านไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องคอยอาบน้ำให้ท่านล้างหน้าให้ท่าน ป้อนข้าว และพาท่านไปเข้าห้องน้ำ สวมเสื้อผ้าให้ท่าน อาการที่เป็นจะเริ่มจาก มีการเคลื่อนไหวช้าลงมากและไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ และส่วนมากท่านจะพูดไม่ค่อยรูเรื่อง หรือไม่พูดเลย