โรคอ้วน, ออกกำลังกาย, ลดอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ

ภัยร้ายจาก โรคอ้วน 108 โรคที่ตามมาติดๆ

โรคอ้วน ส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกาย เรามีคำตอบพร้อมวิธีลดอ้วนมาบอก

โรคอ้วน ไม่ใช่แค่มีรูปร่างตุ้ยนุ้ยไม่น่ามอง แต่ความอ้วนยังนำพาโรคร้ายอีกไม่น้อยตามมา และนี่คือ ประสบการณ์ของคนอ้วนที่ได้แต่นอนอยู่บนเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพราะแค่จะพลิกตัวก็เหนื่อยจนหัวใจจะหยุดเต้น

คุณอัฐพล แดงคําคุณ หรือ คุณปิ๊ก ผู้ป่วยโรคอ้วน บอกเล่าประสบการณ์ป่วยของเขาในงานสัมมนา “แพทย์เตือนภัย หยุดภาวะโรคอ้วน กรณีศึกษาจากประสบการณ์จริง”

เรื่องใกล้ตัว เหตุเกิดภัยอ้วน

ขณะนั้นคุณปิ๊กมีน้ําหนักตัวถึง 350 กิโลกรัม จึงทําให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย จวนจะเอาชีวิตไม่รอด เขาเล่าถึงสาเหตุว่า “ปิ๊กเป็นคนอ้วนง่ายอยู่แล้ว ประกอบกับไม่เคยออกกําลังกาย และกินจุ ทําให้น้ําหนักขึ้นมาถึง 180 กิโลกรัม จึงคิดจะลดความ อ้วนด้วยการซื้อยาลดความอ้วนมากิน” คุณปิ๊กเล่าว่า ช่วงแรกที่กินยาลดความอ้วนนั้น
น้ําหนักลดลง ได้จริง แต่หลังจากนั้นไม่นาน แม้เขาจะกินยาในปริมาณมากขึ้น แต่น้ําหนักก็ไม่ลดลง แถมยังค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 350 กิโลกรัม เขาเล่าต่อว่า
“จากที่เคยเดินไปไหนมาไหนได้ ออกไปทํางานหาเงินช่วยเหลือครอบครัวกลายเป็นว่า ทําไม่ได้ ต้องนอนอยู่แต่บนเตียง ให้พี่น้องมาคอยป้อนข้าว เช็ดตัวเพราะร่างกายทรุดมากจากโรคแทรกมากมาย คือหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไทรอยด์เป็นพิษ ไตวาย ปวดเข่า ความดันโลหิตสูง”

108 โรคร้ายจากภัยอ้วน

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนว่า “ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีไขมันในร่างกายเกิน ทําให้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เช่น ไมเกรน เส้นเลือดสมองอุดตัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความดันในปอดสูง เส้นเลือดดําอุดตัน
“หากไขมันเกาะตับ จะทําให้ตับที่ทําหน้าที่ทําลายสารพิษเสียไป จึงมีสารพิษสะสมในร่างกายมากขึ้น เป็นจุดตั้งต้นของอีกสารพัดโรค หากมีภาวะไขมันสะสมในช่องท้องก็ทําให้เกิดโรคกรดไหลย้อน เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม ซีสต์ในรังไข่ รวมทั้งระบบปัสสาวะผิดปกติ”
นอกจากนี้ โรคอ้วนยังอาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้
โรคอ้วน, ออกกำลังกาย, ลดอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนสูง
แพทย์หญิงกัญชนา ง้าวสุวรรณ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า “โรคอ้วนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านมในผู้หญิง มะเร็งลําไส้ในผู้หญิงและผู้ชาย มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต เป็นต้น เนื่องจากเมื่อร่างกายมีไขมันเกินจะไปรบกวนการทํางานของฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทําให้เกิดมะเร็งในอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายได้นั่นเอง”
เมื่อคุณหมอทั้งสองอธิบายจบ ผู้ที่มาเข้าร่วมงานนับร้อยคนต่างถอนหายใจ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นโรคอ้วนแล้วทั้งสิ้นมีตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น คนทํางาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่า โรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงของสังคมไทย คุณหมอสุเทพเล่าต่อว่า “ในระยะสิบปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ทั้งเพศหญิงและชาย
ทุกกลุ่มอายุ โดยผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) หรือค่าบีเอ็มไอ (BMI) มากกว่า 30 จะมี ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ และความเสี่ยงในการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นตามค่าบีเอ็มไอ
“จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสามารถหยุดโรคอ้วนได้โรคต่างๆ และอุบัติการณ์การเสียชีวิตก็ลดลง ซึ่งจะช่วยลดภาระต่างๆ ให้ครอบครัวและสังคม เพราะโรคแทรกทุกโรคต้องใช้ยา หรือวิธีการรักษาทั้งหมด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่าสูงมากจริงๆ”

ตัวช่วยคนอยากลดน้ําหนัก

ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าเริ่มมีภาวะอ้วนแล้วเราต้องรีบแก้ไข โดยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ซึ่งคุณหมอกัญชนาแนะนําว่า “การกิน ไม่แนะนําให้อดอาหาร แต่ใช้หลักกินอาหารคุณภาพตามหลัก ‘หนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยงเย็น เว้นดึก’ แทน รวมทั้งควรออกกําลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที หรือปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
“นอกจากนี้ต้องรู้จักผ่อนคลายความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุ ทําให้อยากกินอาหารจุบจิบตลอดเวลา จนทําให้น้ําหนักขึ้นโดยไม่รู้ตัว” ส่วนคุณปิ๊ก หลังจากเข้ารับการรักษาโรคอ้วนจนทําให้น้ําหนักลดลงจาก 350 กิโลกรัม เหลือเพียง 90 กิโลกรัม แนะนําว่า “ตอนเป็นโรคอ้วนทรมานมากค่ะ จึงไม่อยากให้ตัวเองกลับมาป่วย ตอนนี้จึงรู้จักเลือกกินอาหาร เมื่อก่อนจะชอบกินผลไม้หวานๆ ก็เลิก หันมากินผลไม้ไม่หวาน เช่น แอ๊ปเปิ้ลเขียวหรือฝรั่งแทน และลดปริมาณอาหารจําพวกแป้ง ของหวาน ของมันลง ซึ่งช่วย
คงน้ําหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ และโรคแทรกซ้อนทั้งหลายก็หายไปเกือบจะเป็นปกติ”
เห็นผลเสียต่อสุขภาพขนาดนี้ ดังนั้นหากใครกําลังเข้าข่ายมีน้ําหนักเกิน ลุกมาปฏิวัติตัวเองด่วน ก่อนจะต้องเข้ารับการรักษา ซึ่งทําให้ทั้งเสียเวลา เสียทรัพย์ และเสียสุขภาพจิต

บทความอื่นที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.