ท่ายืนด้วยไหล่, โยคะ, ต่อมไทรอยด์, ไทรอยด์, บำบัดไทรอยด์เป็นพิษ, ไทรอยด์เป็นพิษ

ท่ายืนด้วยไหล่ บําบัดไทรอยด์เป็นพิษ

ท่ายืนด้วยไหล่ บำบัดไทรอยด์เป็นพิษ ทำตามง่าย ไม่อันตรายแน่นอน

ท่ายืนด้วยไหล่ เป็นท่าโยคะที่ช่วยปรับสมดุลของต่อมไทรอยด์ ซึ่งคุณผู้อ่านทราบหรือไม่คะว่า ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่อะไรในร่างกายและสําคัญอย่างไร ผู้เขียนจะกล่าวอย่างคร่าวๆ ดังนี้

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) อยู่ด้านหน้าของลําคอต่อจากลูกกระเดือก รูปร่างคล้ายผีเสื้อ หากการทํางานของต่อมไทรอยด์เสียสมดุลอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย รวมถึงจิตใจด้วย ทั้งนี้ยังไม่รู้สาเหตุของการเสียสมดุลดังกล่าวอย่างแน่ชัด แต่มีปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น เพศหญิง กรรมพันธุ์ ความเครียด เป็นต้น

ขอยกตัวอย่างโรคที่พบบ่อย ได้แก่

1. ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป ทําให้ผอมทั้งๆ ที่กินจุ อารมณ์แปรปรวน หัวใจเต้นแรง เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ

2. ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทํางานน้อยกว่าปกติ กินน้อยแต่น้ําหนักขึ้น ทนหนาวไม่ได้ ท้องผูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เฉื่อย เชื่องช้า นอกจากนี้ยังทําให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวนเกือบทุกระบบ และทําให้เราขาดความสุขในการใช้ชีวิตอย่างน่าเสียดาย

ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทําให้ต่อมไทรอยด์เสียสมดุล การป้องกันและบํารุงต่อมไทรอยด์จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งการฝึกโยคะใน ท่ายืนด้วยไหล่ (สรรวางคาสนะ) และคันไถ จะช่วยบํารุง และปรับสมดุลของต่อมไทรอยด์ได้โดยตรง มีวิธีปฏิบัติดังนี้ค่ะ

ท่ายืนด้วยไหล่, โยคะ, ต่อมไทรอยด์, ไทรอยด์,  บำบัดไทรอยด์เป็นพิษ,  ไทรอยด์เป็นพิษ
ฝึกโยคะท่ายืนด้วยไหล่ ช่วยปรับสมดุลของต่อมไทรอยด์

1. นอนหงาย วางแขนข้างลําตัว

2. หายใจเข้า ยกขาทั้งสองข้างขึ้นให้ปลายเท้าชี้เพดาน และใช้แรงเหวี่ยงเล็กน้อยเพื่อยกสะโพกขึ้นจากพื้น มือประคองที่สะโพกหรือแผ่นหลัง ขยับข้อศอกเข้าหากันจนข้อศอกตั้งฉากกับพื้น มองไปที่เพดานหรือที่ปลายเท้า ส่งสมาธิไปบริเวณต่อมไทรอยด์(หากไม่รู้ให้ส่งไปรอบคอ) ค้างท่าไว้ 10-15 ลมหายใจ หรือประมาณ 3-5 นาที(ขึ้นอยู่กับความสบายในอาสนะ หากรู้สึกอึดอัด หรือหายใจไม่สะดวกให้คลายท่าทันที)

3. หายใจออก คลายท่าโดยการลดแผ่นหลังสะโพก และขาไปยังจุดเริ่มต้นตามลําดับ จากนั้นทําท่าปลาเป็นท่าแก้ โดยยกหน้าอกขึ้นเงยหน้า ตั้งศีรษะกับพื้น ค้างท่า 3-5 รอบหายใจ

ประโยชน์ของท่ายืนด้วยไหล่ยังมีอีกมากมาย ดังนี้

ผลทางด้านร่างกาย

1. รักษาภาวะนอนไม่หลับ เครียด ซึมเศร้า

2.รักษาอาการเส้นเลือดขอด

3.กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดและน้ําเหลือง

4.กระตุ้นการทํางานของต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อทุกต่อม

5.ชะลอความชรา

6.ฟื้นฟูความทรงจําและช่วยให้สมองรับเลือดอย่างเพียงพอ

7.ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าและมีพลังงาน

8.กระตุ้นการทํางานของต่อมเหงื่อให้ทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ

9. ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดที่ขาสําหรับคนเป็นเบาหวาน

10.ปรับฮอร์โมนให้สมดุล

ผลทางด้านจิตใจ

1.ปรับดุลยภาพของจิตใจให้สงบนิ่ง

ข้อควรระวัง

1.ไม่หันหน้าซ้าย-ขวาระหว่างอยู่ในอาสนะ เพราะอาจเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บได้

2.ผู้มีประจําเดือน หรือผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มีปัญหากระดูกคอ ควรหลีกเลี่ยงการฝึกท่านี้

3.ผู้ที่มีน้ําหนักตัวมากหรือเพิ่งเริ่มฝึกใหม่ ควรฝึกด้วยความระมัดระวังและทําตามความสามารถเท่าที่ไหว สําหรับผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เสียสมดุลแล้ว ให้ฝึกท่ายืนด้วยไหล่นี้ได้ แต่ควรเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีอาการแสดงของโรคอย่างชัดเจน และควรเริ่มฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป


บทความอื่นที่น่าสนใจ

รักษาสิว ด้วยโยคะท่างูแบบง่ายๆ

ท่าโยคะแก้ท้องผูก

ท่าโยคะช่วยหลับสบาย

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.