โรคไต ไตวาย

วิธีกินช่วยผู้ป่วย โรคไต แข็งแรง อายุยืน

ไตวายเฉียบพลัน VS โรคไตเรื้อรัง

คุณเอกหทัยอธิบายการเกิดโรคไตว่า

“อันดับแรกควรเข้าใจว่าโรคไตมี 2 ลักษณะ คือ โรคไตวายเฉียบพลันและโรคไตเรื้อรัง หากได้ยินว่าคนใกล้ชิดเข้าโรงพยาบาลและเป็นโรคไตวายเฉียบพลันต้องเข้ารับการฟอกไตโดยด่วน ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าไตพังและต้องเข้ารับการฟอกไตตลอดชีวิตนะคะ

“เพราะโรคไตวายเฉียบพลันเกิดจากการที่ไตมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงชั่วคราว เมื่อคุณหมอค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ไตไม่ทำงานเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่ไตจะฟื้นตัวและเริ่มทำงานเป็นปกติในเวลา 2 – 3 สัปดาห์”

คุณเอกหทัยอธิบายสาเหตุการเกิดโรคไตวายเฉียบพลันโดยสรุปว่าโรคไตวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเลือดไปเลี้ยงไตลดลง เช่น ผู้ที่เสียเลือดมากจากอุบัติเหตุ ผู้ที่อยู่ในภาวะช็อกมีความดันโลหิตต่ำ หรือเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

โรคไตเรื้อรัง อาจารย์นายแพทย์อรรถพงศ์  วงศ์วิวัฒน์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่พบส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ จะส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนคือโรคไตเรื้อรัง ส่วนสาเหตุอื่น ได้แก่ โรคไตอักเสบเรื้อรังโรคนิ่วในไต หรือการใช้ยาซึ่งมีพิษต่อไต เช่น กินยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

คุณหมออรรถพงศ์อธิบายเสริมว่า หากรู้ตัวว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง แต่ยังคงตามใจปาก ปล่อยให้เนื้อไตถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ไม่นานจะกลายเป็นโรคไตวายระยะสุดท้าย ต้องเข้ารับการฟอกไตหรือรอรับ

 

บริจาคไตผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

การล้างไตผ่านทางหน้าท้องเป็นการขจัดของเสียในเลือดโดยใช้ผนังหน้าท้องของผู้ป่วย

เป็นตัวกรองแทนเครื่องไตเทียม น้ำยาซึ่งมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่จะถูกใส่เข้าไปในช่องท้อง หลังจากนั้นน้ำยาจะดูดซึมของเสียจากเลือดออกมา ในขณะเดียวกันน้ำตาลบางส่วนที่อยู่ในน้ำยาก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย หลังครบกำหนดเวลาก็จะปล่อยน้ำยาที่มีของเสียออกจนหมด แล้วจึงเริ่มใส่น้ำยาใหม่เข้าไปในช่องท้องอีกครั้ง ทำทุกวันวันละ 4 – 6 ครั้ง

กินถนอมไต : คุณเอกหทัยแนะนำว่า “การล้างไตวิธีนี้ทำให้โปรตีนประมาณ 20 – 30 กรัมและเกลือแร่บางชนิดถูกกำจัดทิ้งตลอดเวลาพร้อมกับของเสียในเลือด ผู้ป่วยจึงเสี่ยงมีระดับโปรตีนไข่ขาวและโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้น้ำยาล้างไตที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง” 

คุณเอกหทัยจึงแนะนำให้ผู้ที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องกินเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา หรือ ไข่เพิ่มขึ้นจากเดิมหนึ่งเท่า เช่นเดียวกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และควรกินผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม มะละกอ ฝรั่ง แตงโม แก้วมังกร มะขาม เสาวรส ผลไม้อบแห้งต่างๆ วันละ 2 – 3 จานรองถ้วยกาแฟ

และกินผักที่มีโพแทสเซียมปานกลางถึงสูงอย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี เช่น คะน้าแครอต ถั่วฝักยาว บรอกโคลี มะเขือเทศ มะระ ฟักทอง กะหล่ำปลีสีม่วง

ส่วนผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจลดการกินข้าวลงจากเดิม เพิ่มการกินผัก และหลีกเลี่ยงนํ้าหวาน ของหวาน และขนมหวานต่างๆ ที่สำคัญคือผู้ป่วยยังต้องกินอาหารรสจืดเช่นเดิม

ไม่มีคำว่าสายเกินไปในการดูแลสุขภาพ เพียงปรับเปลี่ยนอาหาร ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เท่านี้ก็อยู่กับโรคไตได้อย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน

 

จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 408


บทความน่าสนใจอื่นๆ

คู่มือกินผักผลไม้ ปรับสมดุลแร่ธาตุ ฟื้นสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไต

หนานเฉาเหว่ย : ผู้ป่วยโรคไต กินได้หรือไม่ ปลอดภัยหรือเปล่า

9 สมุนไพร ที่ผู้ป่วยโรคไตต้องระวัง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.