ยาสมุนไพรไทย, สมุนไพร, สมุนไพรไทย, ยาแผนโบราณ, แพทย์แผนไทย

ยาสมุนไพร ไทยยากลางบ้าน

ยาสมุนไพรไทย ยากลางบ้าน

ยาสมุนไพรไทย ประเทศไทยเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยพืชสมุนไพรทั่วทกุ ภาคของประเทศ เราคนไทยได้พึ่งพาภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้านในการบำบัดรักษาโรคมาแต่โบราณ และยังคงใช้ภูมิปัญญาเหล่านี้กันมาอย่างต่อเนื่อง ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นในแทบทุกท้องถิ่นของเมืองไทย บางสูตรใช้กันเฉพาะในบางท้องถิ่น บางสูตรรู้จักกันแพร่หลายในระดับประเทศ ในที่นี้ขอเริ่มจากสมุนไพรตำรับต่อด้วยการใช้สมุนไพรเดี่ยว

 

ตำลึง แก้ฝีหัวระลอกดับพิษงูสวัด

ตำลึง ถือเป็นยาเย็น ใบตำลึงสดใช้ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ตำพอกถอนพิษคันแก้คันแก้ปวดแสบปวดร้อนเป็นสูตรยากลางบ้านอายุกว่า 100 ปี ตำรับหลวงพ่อสีอดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุลแก้ว ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เดิมทียานี้ใช้พอกแก้ฝีหัวระลอก ราชบัณฑิตยสถานให้นิยามคำว่า ระลอก ไว้ว่าชื่อโรคชนิดหนึ่งพองเป็นหัวเล็กๆ คล้ายฝีโรคนี้ถูกบันทึกไว้ว่า เป็นสาเหตุการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดังมีบันทึกไว้ว่า

ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้ว ก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์แล้วกลายเป็นบาดทะพิษ พระอาการหนักจึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถ มาเฝ้าสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วันสมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต

ยาสูตรนี้ ใช้รักษาหัวระลอกได้ผลดี ต่อมาได้นำมาใช้กับแผลงูสวัด ที่มีอาการคันปวดแสบปวดร้อนรู้สึกแปลบปลาบตามปลายประสาทตรงบริเวณที่มีผื่นแผล จนนอนไม่ได้ และเกิดอาการไข้ร่วมด้วยก็พบว่าสามารถใช้ได้ผลดียิ่งและใช้ได้ดีกับผื่นลมพิษและผื่นแพ้ทุกชนิด

ยาสูตรนี้ ประกอบด้วย ใบตำลึง ใบพุทรา ข้าวสาร ดินสอพอง โดยควรเลือกส่วนผสมที่ปลอดสารเคมี

วิธีทำ ล้างใบตำลึง ใบพุทรา และข้าวสาร ให้สะอาด โขลกใบตำลึงให้ละเอียด โดยใบตำลึงนี้ใช้ปริมาณมากกว่าอย่างอื่นใส่ใบพุทรา 2 – 3 ใบ ตามลงไปโขลกต่อจนละเอียด บดข้าวสารและดินสอพองแยกไว้ จากนั้นเทลงผสมกับใบตำลึงและใบพุทราที่โขลกไว้ ข้าวสารและดินสอพองใช้ในปริมาณที่พอให้ผสมกันแล้วปั้นเป็นก้อนได้ โขลกจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดี นำมาพอกแผล ส่วนผสมที่เหลือปั้นเป็นก้อนนำไปผึ่งแดดให้แห้งสนิท เก็บใส่ขวดโหลนำมาละลายน้ำใช้ได้นาน

ยาสมุนไพรไทย, สมุนไพร, สมุนไพรไทย, ยาแผนโบราณ, แพทย์แผนไทย
สมุนไพรไทยหลายชนิด สามารถนำมาปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต สำหรับสตรี

ยาบำรุงโลหิต แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ บรรเทาอาการช่องคลอดแห้ง

เจ้าของยาตำรับนี้คือ มหาเสวกตรีพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่นสุนทรเวช) แพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนตำราแพทย์ตำบล ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งพระทิพจักษุศาสตร์ เพื่อแจกจ่ายถึงแพทย์ตำบลทั่วประเทศ ตำรายาโบราณเล่มนี้ ยังได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีในครอบครัวบ้านหมอยา แม้วันเวลาจะผ่านไปและไม่มีใครในครอบครัวประกอบอาชีพเป็นหมอยาแล้ว แต่ลูกหลานยังได้ใช้ยานี้รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเสมอมา

ยาตำรับหนึ่งที่ใช้ได้ผลดี และอยากจะแนะนำให้ทุกท่าน นำไปใช้กันมีชื่อว่า ยาต้มบำรุงโลหิตระดู

ตัวยาประกอบด้วย ฝาง แสมสาร แสมทะเล แกแล หญ้าไทร ใบมะกา ใบมะเฟือง ใบไผ่ป่า หัวหญ้า- ชันกาด หัวแห้วหมู ทั้ง 10 อย่างนี้ ใช้น้ำหนักเท่ากันคือหนักอย่างละ 2 บาทหรือ 3 บาท

วิธีทำ นำส่วนผสมทุกอย่างใส่ลงในหม้อเติมน้ำท่วม ตัวยาต้มจนเดือดหรี่ไฟลงเคี่ยวต่อสัก 15 นาที ดื่มก่อนอาหารเช้า – เย็นครั้งละ 1 แก้ว จะช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าช่วยบรรเทาอาการช่องคลอดแห้งในรายที่ขาดประจำเดือนนานๆ ได้อีกด้วย

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.