อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน, อาหารต้านโรค, อาหารสุขภาพ, อาหารต้านหวัด

5 อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยแข็งแรง ต้านโรคภัย

ฝรั่ง ส้ม กีวี ต้านภูมิแพ้ ลดหอบหืด

วิตามินซีปริมาณสูงจากผลไม้ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านภูมิแพ้และโรคในระบบทางเดินหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แพทย์หญิงคาโรลีน ดีน (Carolyn Dean) ผู้อำนวยการแพทย์ จาก The Nutritional Magnesium Association ขยายความว่า วิตามินซีปริมาณสูงในผลไม้ยับยั้งการหลั่งของฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้ยังเข้าทำลายโครงสร้างของสารดังกล่าว ส่งผลให้ปริมาณฮีสตามีนในเลือดลดลง อาการภูมิแพ้จึงลดตามไปด้วย

วารสาร Thorax ศึกษาประสิทธิภาพการบรรเทาอาการของโรคหอบหืดด้วยผลไม้ พบว่า กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 6 – 7 ขวบที่กินผลไม้มีวิตามินซีสูงเป็นประจำ เฉลี่ย 5 – 7 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการโรคหอบหืดลดลงโดยอาการหายใจลำบากซึ่งเกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจลดลงถึงร้อยละ 44 อาการหายใจเร็ว สั้น จนทำให้รู้สึกเหนื่อยลดลงร้อยละ 32 และอาการไอน้ำมูกไหลลดลงถึงร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเด็กที่กินผลไม้น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์

ส้ม, อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน, อาหารสุขภาพ, อาหารต้านโรค, อาหารต้านหวัด
ส้ม ผลไม้วิตามินซีสูง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการของโรคหอบหืด

กินอย่างไร

กินผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม กีวี มะละกอ เชอร์รี่ มะเขือเทศ ตำลึง ดอกแค ผักกระเฉด ผักโขม

ทั้งนี้ควรล้างผลไม้ก่อนปอกและกินผลไม้ทันทีไม่ตั้งทิ้งไว้ สำหรับผัก ควรล้างก่อนหั่นและกินสด หรือปรุงด้วยความร้อนต่ำ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินซีไม่ให้ละลายไปกับน้ำและสูญสลายเนื่องจากอากาศและความร้อน

ยอดมะม่วงหิมพานต์ พริกหวาน หัวหอม เพิ่มพลังภูมิคุ้มกัน

มลพิษจากสิ่งแวดล้อม เชื้อโรคปนเปื้อนในอาหาร ตลอดจนยารักษาโรคบางชนิด เป็นสาเหตุหนึ่งที่เร่งให้เกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ส่งผลให้ภูมิต้านทานอ่อนแอ เชื้อโรคจากภายนอกจึงเข้าโจมตีร่างกายอย่างง่ายดาย

นายแพทย์โคอิชิโร ฟุจิตะ (Koichiro Fujita) ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันการติดเชื้อ ให้ความกระจ่างว่า อนุมูลอิสระมีฤทธิ์ทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน จึงส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ฉะนั้นควรกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเพื่อเพิ่มพลังภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ได้แก่ ผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใส มีสารพฤกษเคมีสูง (Phytochemical) เช่น สารพอลิฟีนอล (Polyphenol) พบมากในยอดมะม่วงหิมพานต์ ใบมันปู ใบส้มแป้น กะหล่ำปลีม่วง ผักกระเฉด

สารแคโรทีนอยด์(Carotenoid) พบมากในพริกหวานสีแดง แครอต ผักชีล้อม ตำลึง ฟักทอง หรือสารประกอบซัลเฟอร์(Sulfur compounds) ซึ่งพบในพืชที่มีกลิ่นแรง เช่น หัวหอม หัวผักกาด

กินอย่างไร

กินผักและผลไม้สดให้หลากหลาย ร่างกายจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระสูง หรือดื่มเป็นน้ำเอนไซม์ ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว

สามารถคั้นน้ำเอนไซม์โดยสับหรือตำผักและผลไม้ครั้งละ 1 ชนิด จากนั้นคั้นด้วยผ้าขาวบางหรือใช้เครื่องปั่นแยกกาก เสร็จแล้วดื่มทันที ไม่ควรตั้งทิ้งไว้นานเกินครึ่งชั่วโมง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิตามินแก้หวัด เพิ่มภูมิคุ้มกันรับหน้าฝน

5 ชาสมุนไพร บู๊ทอิมมูน (ระบบภูมิคุ้มกัน)

หัวเราะบำบัด สร้างภูมิคุ้มกัน ห่างไกลโรค 

เพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยชะลอวัย ด้วยอาหารวิตามินอีสูง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.