9 วิธี ถนอมสายตา ไม่ให้เสื่อมก่อนวัยอันควร ฉบับคนยุคดิจิตอล
ปัจจุบันเรามักจะพบผู้คนมากมายมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางสายตา ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นยิ่งทำให้ดวงตาเหนื่อยล้าและเสื่อมสภาพได้ง่าย เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่ละเอียดอ่อนเอามาก ๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ
วิธีการถนอมสายตาไม่ให้เสื่อมก่อนวัยอันควร
อาการที่เราจะเจอมาเวลาใช้สายตาเยอะ ได้แก่ ปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า สายตาสั้น รวมทั้งผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดเหมื่อยคอ บ่า ไหล่ ซึ่งล้วนไม่มีใครอยากเจอ ฉะนั้นเราควรหมั่นถนอมสายตาให้ดี เพื่อจะได้ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพตาในระยะยาว
- เพิ่มสารอาหารที่สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า ผักผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และวิตามินเอ เช่น แครอท มันเทศ ผักขม เป็นต้น
- ตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียดปีละครั้ง เพื่อตรวจสอบถึงคุณภาพการทำงานของสายตา
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพราะภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อสุขภาพดวงตาได้
- หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตรายและมลพิษที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของดวงตา
- พักสายตาจากหน้าจอ เพราะการมองจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดอาการตาล้า ตามัว ตาแห้ง ปวดศีรษะ มีปัญหาในการปรับโฟกัสให้มองเห็นได้ชัดเจนไปจนถึงรู้สึกปวดบริเวณคอ ไหล่ หรือหลัง
- ปรับไลฟ์สไตล์การนอนพักผ่อนให้ตรงเวลา และนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง เพื่อเป็นการพักสายตาไม่ให้อ่อนล้าจากการใช้งาน
- เช็กดูว่ามี สมาชิกคนในครอบครัวมีโรคที่เกี่ยวกับดวงตาหรือไม่ เพราะโรคของดวงตาบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- สำหรับผู้ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ต้องรักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ เพื่อไม่ให้ก่อเกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้ง่ายเมื่อไม่มีการรักษาความสะอาดที่เพียงพอ ก่อนการใส่หรือถอดเลนส์จึงควรล้างมือให้สะอาด ทำตามคำแนะนำในการใส่หรือถอดเลนส์อย่างถูกวิธี
- ปกป้องดวงตาจากแสงแดด เนื่องจากแสงแดดสามารถทำร้ายดวงตาได้ และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก โรคจอประสาทตาเสื่อม เมื่อต้องเผชิญกับแสงแดดหรืออยู่กลางแจ้งจึงไม่ควรปล่อยให้สายตาโดนแสงแดดโดยตรง เราควรป้องกันสายตาโดยการสวมแว่นกันแดดชนิดที่มีเลนส์กรองแสงยูวีเอ (UV-A) และยูวีบี (UV-B)
แหล่งสารอาหารที่ดีต่อดวงตา
ผักโขม หรือผักใบเขียวเข้มอื่น ๆ
ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือเนื้อปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง
ธัญพืชต่างๆ และไข่ ถั่ว โปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์
หอยนางรม เนื้อหมู สัตว์ปีก
ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือส้ม ซึ่งมีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันดวงตาได้ เช่น แครอท
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อาหารบำรุงดวงตาและสายตา )
นอกจากนี้ นายแพทย์นพศักดิ์ ผาสุกกิจวัฒนา ภาควิชาจุกษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้แนะนำวิธีการประคบร้อนช่วยลดปวดดวงตา โดยนำข้าวเปลือก 1 ช้อนชามาห่อด้วยผ้าขาวบางใส่ไมโครเวฟให้เกิดความร้อน แล้วประคบดวงตาก่อนนอนทุกคืน จากนั้นนวดเปลือกตาเบา ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดล้าจากการใช้สายตาค่ะ
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
- หนังสือนิตยสารชีวจิต 523 คู่มือหยุดปวดตั้งแต่หัวจรดเท้า
- www.pobpad.com
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
บทความน่าสนใจอื่นๆ
10 สูตรน้ำผักผลไม้ เสริมให้สุขภาพดวงตาดี สวย ชะลอความเสื่อม
ฟื้นฟู สุขภาพดวงตา แบบวิถีธรรมชาติ ด้วยความสนุก
อย่ามัวแต่ WFH! จนลืมใส่ใจสุขภาพดวงตา มาเบรกดวงตาด้วยเทคนิคง่ายๆ
อาการ ตาแห้ง รู้ก่อน ป้องกัน แก้ไขได้
รู้หรือไม่! ติดเชื้อบ่อยอาจทำตาบอดในผู้สูงอายุ
เพราะดวงตาสำคัญ! โรคทางตาจึงควรรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง!
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อผงเข้าตาควรทำอย่างไรดี