โรคหัวใจ, หัวใจวาย, อาการหอบเหนื่อย, หัวใจ

คู่มือ โรคหัวใจ ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย

คู่มือ โรคหัวใจ ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย

นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก แนะนำคู่มือ โรคหัวใจ ป้องกันหัวใจวาย

นิยามหัวใจล้มเหลว

คือภาวะที่มีสาเหตุต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจพิการ ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ การเต้นของหัวใจ ผิดปกติ ทำให้หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้มีอาการซึ่งแสดงว่า ร่างกายขาดออกซิเจน เช่น เปลี้ย หมดแรง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากเลือดไหลเข้าไปในหัวใจได้ช้าจนท้น

กรณีเลือดท้นหัวใจซีกซ้าย เลือดจะไปออกันอยู่ที่ปอด ทำให้ของเหลวในน้ำเลือดส่วนหนึ่ง รั่วผ่านผนังหลอดเลือดออกไปอยู่ในถุงลมปอด เรียกว่าภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary Congestion) เวลานอนราบแรงโน้มถ่วงจะทำให้น้ำรั่วออกไปอยู่ในถุงลมมากขึ้น จึงมีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม จนต้องลุกขึ้นมานั่ง

กรณีเลือดท้นหัวใจซีกขวา เลือดจะออกันอยู่ที่หลอดเลือดดำทั่วร่างกาย ทำให้ของเหลวในน้ำ เลือดรั่วผ่านผนังหลอดเลือดออกไปอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวมกดแล้วบุ๋มที่หน้าแข้ง และหลังเท้า

โรคหัวใจ, หัวใจวาย, อาการหอบเหนื่อย, หัวใจ, ป้องกันโรคหัวใจ, ป้องกันหัวใจวาย
หัวใจเต้นผิดปกติ ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

อาการ

ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจะมีอาการเหนื่อย (Dyspnea) เวลาออกแรง ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการ นอนราบแล้วเหนื่อย ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจหรือต้องใช้หมอนหนุนหลายใบ ถ้าเป็นมากขึ้นไปอีกก็จะมี อาการเหนื่อยแม้ขณะพัก บางครั้งมีอาการเปลี้ย ล้า อ่อนแอ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาโปน หรือ มองเห็นว่าตาเต้นตุบๆ

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.