10 พื้นฐานความรู้ก่อน กินสมุนไพร
กินสมุนไพร ตัวไหนดี ? ก่อนจะเริ่มต้นใช้สมุนไพร เพื่อบำบัด รักษา หรือบรรเทาอาการต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจอะไรบ้าง เรามาเริ่มรู้จักสมุนไพร กันอีกสักครั้งเถอะครับ กับ 10 ข้อ ต้องรู้ก่อน กินสมุนไพร
Q1: สมุนไพรคืออะไร
ANS. สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของพืชหรือพืชที่ใช้เพื่อการรักษาโรค นอกจากนี้ในบางตำรับสมุนไพรยังรวมไปถึงแร่ธาตุและสัตว์เป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน
Q2: ยาสมุนไพรคืออะไร
ANS. ยาสมุนไพร คือ ศาสตร์และศิลปะ การเลือกใช้สมุนไพรในการส่งเสริม ป้องกันสุขภาพ และบำบัด รักษาความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นวิธีการใช้รักษามาอย่างยาวนาน ทั้งการรักษาแบบดั้งเดิมและการรักษาด้วยยาสมุนไพรสมัยใหม่
อ่านเพิ่มเติม : วิธีกินยาต้มที่ดีที่สุด (ฉบับมือโปร)
Q3: ข้อแตกต่างของยาสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน
ANS. ยาที่ใช้ในแผนปัจจุบันส่วนใหญ่สกัดมาจากสมุนไพร ก่อนที่จะถูกพัฒนามาเป็นสารเคมีสังเคราะห์ แต่ปัจจุบันมียาแผนปัจจุบันจำนวนน้อยมากที่มาจากพืชเท่านั้น
แต่ในทางตรงกันข้ามยาสมุนไพรทั่วโลก ทั้งแบบชนิดสดและแห้งมีมากหมายหลายพันชนิด ที่ผ่านกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ระบุได้ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาและปลอดภัยในการใช้ และที่สำคัญยาสมุนไพรมักใช้กันในรูปแบบยาตำรับ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษา ช่วยเสริมและฆ่าฤทธิ์กันและกัน
Q4: การรักษาด้วยยาสมุนไพร กับการรักษาด้วยยาทั่วไป
ANS. จุดเด่นของการรักษาด้วยยาสมุนไพร คือเป็นการใช้ตำรับยาสมุนไพรรักษาเฉพาะราย โดยคำนึงถึงโรคและสภาพร่างกายที่มีความแปรปรวน เพื่อให้ร่างกายสามารถเยียวยาตัวเอง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โดยเน้นการดูแลแบบองค์รวม
ในทางตรงข้ามการรักษาด้วยด้วยยาหรือแพทย์ทั่วไป เน้นการรักษาโจมตีโรคโดยตรง โดยใช้สารเคมีหรือยาเข้าไปทำลาย หรือฆ่าเชื้อโรค ซึ่งอาจเข้าไปทำลายอวัยวะหรือร่างกายได้ โดยแสดงออกผ่านผลข้างเคียงของการใช้ในแบบต่างๆ
อ่านเพิ่มเติม : หนานเฉาเหว่ย สมุนไพรจีน รักษาความดัน เบาหวาน มะเร็ง ได้จริงหรอ
Q5: ผู้เชียวชาญยาสมุนไพรคือใคร
ANS. ในสมัยก่อนเรามักเรียกคนที่มีความรู้และการใช้สมุนไพรว่า หมอยาสมุนไพร รวมไปถึงหมอพื้นบ้านที่มีความเชียวชาญในการใช้สมุนไพร ปัจจุบันเรียกว่า แพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่เป็นบุคคลที่เชียวชาญการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรค
นอกจากนี้ยังมีเภสัชกร แพทย์ธรรมชาติบำบัด นักวิจัย ผู้ผลิตยาสมุนไพร และปราญชาวบ้านบางคนก็มีความรู้ในการใช้สมุนไพรด้วยเช่นกัน

Q6: ประโยชน์ของสมุนไพรและยาสมุนไพร
ANS. สมุนไพรมีประโยชน์ที่หลากหลาย มีทั้งคุณและโทษ ถ้าเลือกใช้ได้ถูกต้องก็มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ แต่ถ้าใช้ไม่ถูกกับโรคก็จะกลายเป็นสิ่งไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพได้เช่นกัน
แต่ 3 อย่างทีเป็นจุดเด่นของยาสมุนไพร คือ ใช้เพื่อป้องกันโรค บำบัดรักษาโรค และช่วยส่งเสริมสุขภาพของตนเองได้ นอกจากนี้สมุนไพรยังใช้สำหรับบรรเทาอาการของโรคเบื้องต้นได้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม : 13 ข้อ ต้องรู้ก่อนกินขมิ้นชันเป็นยา
Q7: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสมุนไพรออกฤทธิ์
ANS. การรักษาเป็นทั้งศาตร์และศิลปะ ไม่ใช่แค่เพียงวิทยาศาสตร์เท่านั้น อาจจะไม่ได้ตวงวัดแม่นยำและชัดเจนว่าการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุดของแต่ละคนเป็นอย่างไร แต่เราสามารถประมาณคาดเดาได้จากการศึกษา วิจัย และมีประสบการณ์การใช้ได้จากการวิจัยยาสมุนไพรทางคลินิก และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
Q8: ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ และประสิทธิภาพยาสมุนไพร
ANS. ประสิทธิภาพการออกฤทธ์ของยาสมุนไพรขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลา ความรุนเเรงของโรค ปริมาณ วิธีการใช้ พฤติกรรม และปฏิบัติตัวขณะทำการกินหรือรักษาอย่าง แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาไม่ควรเกินไปมากกว่านี้ เช่น
ใน 1 นาทีหลังจากกินยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้ออาการควรจะดีขึ้น ระยะเวลา 20 นาที เมื่อแช่เท้าในอ่างสมุนไพร แก้อาการปวดเมื่อ และอาการชาเท้า ระยะเวลา 1 วัน สำหรับกินเพื่อชูกำลัง ระยะเวลา 1 เดือน สำรับการรักษาโรคทางสตรี และมากกว่า 3 เดือน สำหรับการรักษาโรคเรื้อรัง
อ่านเพิ่มเติม : 4 วิธีกินฟ้าทะลายโจร แบบถูกต้อง ได้ผลไว ไม่ต้องง้อยาแผนปัจจุบัน
Q9: วิธีการใช้สมุนไพรให้ปลอดภัย
ANS. ความปลอดภัยการใช้สมุนไพรขึ้นอยู่กับสมุนไพรแต่ละชนิด ถ้าเราเลือกใช้สมุนไพรได้ถูกส่วนก็จะไม่มีผลข้างเคียง ไม่พบอาการที่ไม่พึ่งประสงค์ โดยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและอ่านฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง
มีข้อมูลรายงานวิจัยเคยระบุว่า อาการไม่พึงประสงค์ และความเป็นพิษพบได้น้อยมาก หากเราใช้อย่างถูกต้อง ถูกส่วน ถูกกับโรค

Q10 วิธีการใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง
ANS. มีวิธีการเลือกใช้สมุนไพร กินสมุนไพร มีมากมายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและบริบทความเชื่อของแต่ละสังคม แต่วิธีการที่ดีที่สุดก่อนใช้หรือ กินสมุนไพร ต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยโรคจากผู้เชียวชาญเสียก่อน เช่น
หมอพื้นบ้าน แพทย์ธรรมชาติบำบัดในฝั่งตะวันตก แพทย์อายุรเวทของอินเดีย ยาจีนโดยแพทย์แผนจีน และยาไทยโดยแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ และที่สำคัญทุกคนต้องมีใบอนุญาติประกอบโรคศิลปะด้วย
อ่านเพิ่มเติม : กัญชา ยาเสพติด หรือ ยาสมุนไพร