แคลเซียมในอาหารไทย, แคลเซียม, วิธีเลือกแคลเซียม, กินแคลเซียม, บำรุงกระดูก

วิธีเลือกแคลเซียม เพื่อฟิตกระดูกเฟิร์ม

วิธีเลือกแคลเซียม เพื่อฟิตกระดูกเฟิร์ม กินเป็น…ลืมป่วย

วิธีเลือกแคลเซียม ป้องกันโรคกระดูดอ่อน กระดูกพรุน ต้องทำอย่างไร และเราควรกินแคลเซียมแค่ไหนถึงเพียงพอ คําตอบมีอยู่ในนี้หมดแล้ว

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสําคัญต่อร่างกาย เนื่องจากมีปริมาณมากที่สุด โดยร้อยละ 99 ของแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ที่เหลือคือร้อยละ 1 พบในเนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกาย มีบทบาทสําคัญต่อการทํางานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท โดยทําให้เกิดการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อทั่วไป

แคลเซียมยังมีส่วนช่วยในการแข็งตัวของเลือด มีหน้าที่ในการดูดซึม เก็บรักษา และช่วยในการ เผาผลาญวิตามินเอ ซี ดี อี ฟอสฟอรัส และ แมกนีเซียม รวมถึงยังช่วยกระตุ้นการทํางานของโปรตีนชนิดต่างๆในร่างกายและควบคุมความสมดุลของกรด-ด่างอีกด้วย

ถ้าเด็กขาดแคลเซียมจะทําให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ส่วนผู้ใหญ่จะเกิดภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ทําให้ความแข็งแรง ของกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกแตกหรือหักง่ายมักเกิดเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทอง หรือวัยหมดประจําเดือนที่ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง

หากไม่อยากมีภาวะกระดูกพรุน ควรกินแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถึงบรรทัดนี้แล้วผู้อ่านคงสงสัยว่า เราควรกินแคลเซียมแค่ไหนถึงเพียงพอ คําตอบ คือ ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ

วัยเด็กควรได้รับแคลเซียมวันละ 600 มิลลิกรัม วัยรุ่น ช่วงอายุ 9-18 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการแคลเซียมมาก ที่สุด เนื่องจากกระดูกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ควรได้รับ แคลเซียมวันละประมาณ 1,000-1,500 มิลลิกรัม

วัยผู้ใหญ่ต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 800-1,000 มิลลิกรัม วัยสูงอายุที่มีภาวะวัยทองต้องการแคลเซียมเฉลี่ย วันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ต้องการ แคลเซียมปริมาณสูงถึงวันละ 1,500 มิลลิกรัม

จากพฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยทั่วไปพบว่า เราได้รับแคลเซียมเฉลี่ยวันละ 250 มิลลิกรัมเท่านั้น จึงควรกิน แคลเซียมเสริมหากไม่สามารถกินแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติได้อย่างเพียงพอ

ส่วนมากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมที่หาได้ทั่วไปจะอยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต(CalciumCarbonate)ซึ่งมี ปริมาณแคลเซียมอยู่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่างเช่น แคลเซียมคาร์บอเนต 1,000 มิลลิกรัม จะมีปริมาณแคลเซียม จริงๆอยู่ 400 มิลลิกรัม

แคลเซียมคาร์บอเนต มีอัตราการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายค่อนข้างต่ํา และกระเพาะอาหารต้องอยู่ในสภาพเป็นกรดจึงมีการ แตกตัวและดูดซึมได้ดี จึงต้องกินแคลเซียมคาร์บอเนตพร้อมอาหารทันที

แคลเซียมคาร์บอเนตอาจทําให้มีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง บางรายจะมีอาการท้องผูกมาก แคลเซียมชนิดที่ดูดซึม ง่ายและกระเพาะอาหารไม่ต้องอยู่ในสภาพเป็นกรดในการแตกตัวเพื่อดูดซึม คือ แคลเซียมซิเตรต(CalciumCitrate) จึง สามารถกินขณะท้องว่างได้

อ่านต่อหน้า 2

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.