วิธีป้อนอาหาร ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย ป้องกันสำลัก กลืนง่าย อิ่มดีมีสุข
วิธีป้อนอาหาร ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องรู้ เพราะการกินไม่ได้ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขในการใช้ชีวิตด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักใช้ชีวิตอยู่บนเตียง หรือรถเข็นตลอดทั้งวัน การได้นั่งโต๊ะอาหารและร่วมกินอาหารกับคนในครอบครัวช่วยให้ผู้สูงวัยกินอาหารได้ดีขึ้น
-สิ่งที่ต้องระวังขณะป้อนอาหาร
ผู้ดูแลต้องนั่งข้างๆ ตัวผู้สูงอายุแล้วคอยช่วยป้อนอาหารและเรื่องอื่นๆ บนโต๊ะอาหาร ซึ่งผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนบนหรือโรคสมองเสื่อมจะกินอาหารด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ดูแลจึงต้องป้อนอาหารให้ โดยเริ่มจากนั่งข้างๆ ตัวผู้ป่วยและกินอาหารไปด้วยกัน พร้อมกับคอยสังเกตจังหวะการกินของอีกฝ่ายและคอยดูแลจนเสร็จสิ้น
-การนั่งข้างผู้ป่วยทำให้อยู่ระดับเดียวกันและมองเห็นจานข้าวของอีกฝ่ายได้ชัดเจน
-จัดสำรับอาหารเหมือนทำให้รู้ลำดับในการป้อนและกินได้เร็วขึ้น
-ขณะป้อนอาหารให้โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
-สำหรับการป้อนอาหารให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้ดูแลควรนั่งข้างที่ร่างกายเป็นปกติ
ห้ามทำแบบนี้
ยืนป้อนอาหาร
ผู้ดูแลป้อนอาหารได้ลำบาก เพราะช้อนอยู่สูงกว่าปากของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุโน้มตัวไปข้างหน้าไม่ได้ จึงกลืนอาหารลำบาก
นั่งตรงข้าม
ตำแหน่งการนั่งแบบนี้ ดูเหมือนว่าผู้ดูแลจะเห็นลักษณะของผู้สูงอายุได้ชัดเจน แต่ความจริงแล้วการนั่งประจันหน้ากันแบบนี้อาจทำให้อีกฝ่ายอึดอัดจนกินไม่ลงได้
-ยกช้อนจากคางขึ้นมาที่ปาก
ท่าทางที่เหมาะสมกับการกินอาหารคือ การโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้กลืนได้สะดวก หากเงยหน้าเคี้ยวอาหารอาจสำลักหรือกลืนลำบาก ดังนั้น เวลาป้อนอาหารให้ผู้สูงอายุควรถือช้อนให้ต่ำกว่าปากเล็กน้อย
1. ตักอาหารให้พอดีคำ
ถามผู้สูงอายุว่า อยากกินอะไร แล้วตักมาครึ่งช้อน โดยพยายามเลือกช้อนให้ขนาดเหมาะสมกับปากของผู้สูงอายุแต่ละคน
2. ยื่นช้อนเข้าไปให้อยู่ต่ำกว่าปากของผู้สูงอายุ
ถือช้อนให้อยู่ต่ำกว่าปากเล็กน้อยแล้วป้อนใส่ปาก วางอาหารบริเวณกลางลิ้น ซึ่งปริมาณอาหารที่ควรป้อนในแต่ละครั้งประมาณ 1 ช้อนชา
3. ยกข้อมือขึ้นแล้วค่อยๆ ดึงช้อนออกจากปาก
เมื่อป้อนอาหารแล้วให้ลากช้อนผ่านริมฝีปากพร้อมกับยกข้อมือขึ้นด้านบนแล้วดึงช้อนออกมา