โรคอะมิลอยด์ผิวหนัง…โรคที่ควรรู้

โรคผิวหนังอะมิลอยด์ คืออะไร

โรคผิวหนังอะมิลอยด์ นี้ไม่มีชื่อในภาษาไทย จึงเรียกทับศัพท์ว่า “โรคอะมิลอยด์ผิวหนัง” (cutaneous amyloidosis) จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดจากโปรตีนบางชนิด มีการพับตัวผิดปรกติ และเกิดการเสื่อมบางอย่าง และฝังตัวในผิวหนัง กลายเป็นตุ่ม ๆ ขึ้นมาและมีหลายขนาด โดยปรกติคนในประเทศแถบเอเชีย เป็นโรคนี้จำนวนไม่น้อย แต่อาจไม่รู้ตัวเองว่ามีผื่นอะมิลอยด์ผิวหนัง

ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์  ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ลักษณะของโรคจะเป็นตุ่มมีลักษณะแข็ง ๆ เล็ก ๆ คลำดูจะรู้สึก สากๆ เรียงเป็นแนวยาว คล้ายระลอกคลื่น ซ้อนๆกัน อาการที่สำคัญของอะมิลอยด์ คือ คันมาก ๆ ผู้ป่วยบางคนถึงต้องกับตื่นตอนกลางคืนเพราะมีอาการคันจนทนไม่ไหว  ผื่นของอะมิลอยด์ มักขึ้นที่หน้าแข้ง และ บริเวณแขน วิธีสังเกตการเป็นโรคอะมิลอยด์นอกจากจะเป็นตุ่ม ๆ แล้ว บางชนิดเป็นชนิดผื่นราบและเรียงกันเป็นแนว ผื่นชนิดราบนี้ชอบขึ้นที่บริเวณแผ่นหลัง โดยเฉพาะบริเวณระหว่างสะบัก 2 ข้างหรือตรงกลางหลัง ถ้าไม่รู้จักก็จะนึกว่าเป็นเหมือนขี้ไคลหรือผิวหนังสกปรก  ผู้ป่วยบางท่านมีลักษณะของอะมิลอยด์ 2 ชนิดร่วมกันเรียกว่าไบเฟสิก (Biphasic amyloidosis) คือมีทั้งตุ่มนูนและตุ่มราบร่วมกัน

โรคผิวหนังอะมิลอยด์โรคผิวหนังอะมิลอยด์

การรักษาโรคอะมิลอยด์ผิวหนัง

ในปัจจุบันนี้ มีหลายวิธีมาก ทั้งการใช้ยาทา ยารับประทาน การลอกด้วยกรด การฉายแสง และ การรักษาด้วยวเลเซอร์ อะมิลอยด์เป็นโรครู้จักกันไม่แพร่หลาย แต่ไม่ได้หายากในคนไทย ดังนั้นจึงควรจะต้องรู้จักโรคนี้ไว้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

4 อันดับ สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง เริม และงูสวัด

กัญชาช่วยบรรเทาอาการทางโรคผิวหนังได้จริงหรือ?

โรคผิวหนัง ต้องระวังเมื่อฤดูเปลี่ยน

โรคผิวหนัง 7 โรคที่ควรระวัง ช่วงผลัดเปลี่ยนฤดู (หนาวสลับร้อน)

4 สมุนไพรตัวท็อป ดูแลเส้นผม หนังศีรษะ และผิวพรรณ สำหรับคนแพ้ง่าย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.