ไขมันในเลือดสูง ตัวการสู่สารพัดโรค
เมื่อพูดถึงเรื่อง ไขมันในเลือดสูง ที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองได้นะคะ วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกียวกับเรื่องของ คอเลสเตอรอล หรือระดับไขมันในเลือดสูงว่าส่งผลต่อระบบหัวใจอย่างไรบ้างมาฝากค่ะ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นไขมันในเลือดสูง
มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สูบบุหรี่ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นคอเลสเตอรอลสูง มีโรคเบาหวาน โรคไต
ภาวะแทรกซ้อนของไขมันในเลือดสูง
หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาคอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่สะสมในหลอดเลือดแดงและ เมื่อเวลาผ่านไปอาจจะทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง ภาวะนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อหลอดเลือดแข็ง
หลอดเลือดแข็งเป็นภาวะที่ร้ายแรง มันสามารถ จำกัด การไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือดแดงของคุณ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตราย
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ที่มีช่วงอายุวัยกลางคนขึ้นไป และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจคือคอเลสเตอรอล ที่ส่วนมากจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกินอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง ไม่ค่อยออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด
สาเหตุ ภาวะไขมันในเลือดสูง
- กรรมพันธุ์
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
- โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไตบางชนิด
- โรคตับ โรคไตบางชนิด
- ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ (ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น
- การตั้งครรภ์
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะขาดการออกกำลังกาย
ผลข้างเคียงของไขมันในเลือดสูง
ภาวะที่มีระดับกลุ่มไขมัน LDL สูง ถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง จากการที่ไขมันในเลือดสูงไปทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว ซึ่งเรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
ผู้ที่ควรตรวจระดับไขมันในเลือด
ควรตรวจเมื่ออายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ถ้าปกติ และไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และอายุยังไม่เกิน 45 ปี (ผู้ชาย) หรือ 55 ปี (สำหรับผู้หญิง) ไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย (ผู้ชายไม่เกิน 55 ปี และผู้หญิงไม่เกิน 65 ปี) และยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ควรตรวจซ้ำในอีก 5 ปีข้างหน้า หากมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วและตรวจพบไขมันในเลือดปกติก็ตรวจซ้ำในอีก 1-3 ปี
ข้อควรปฏิบัติ เมื่อไขมันในเลือดสูง
- ควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่ มะพร้าว อาหารที่มีกะทิ หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงด้วย ควรระวังอาหารพวกแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด
- รับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์สะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ
ดังนั้น มาปรับไลฟ์สไตล์กันตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดี และยังยื่นกันเถอะ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการดูแลตนเองเมื่อมีไขมันในเลือดสูง คือการควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูระดับไขมันในเลือด เป็นการป้องกันการเกิดโรคร้ายแรง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ชวนเลือกกินอาหาร ให้ไม่ลงเอยด้วย โรคไขมันในเลือดสูง
หุ่นผอมหรืออ้วนก็หนีไม่พ้น ไขมันในเลือดสูง ช่วยได้ด้วยข้าวยีสต์แดง
4 สมุนไพรจีนรักษา ไขมันในเลือดสูง