เด็ก ลืมลูกในรถ เด็กเล็ก เด็กทารก

รู้จัก “โรคลืมลูก” คำอธิบายทางวิทยาศาสต์ว่าทำไมพ่อแม่ชอบ ” ลืมลูกในรถ “

รู้จัก “โรคลืมลูก” คำอธิบายทางวิทยาศาสต์ว่าทำไมพ่อแม่ชอบ ” ลืมลูกในรถ “

สงสัยไหมว่า ทำไม ชอบมีข่าวพ่อแม่ ” ลืมลูกในรถ ” ถ้าช่วยทันก็ดีไป ถ้าไม่ทัน เด็กมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก และเหตุการณ์นี้เกิดซ้ำๆ ทุกๆที่ ทั่วโลก เราจึงจะพามาทำความรู้จักกับ “โรคลืมลูก” กันค่ะ

วิทยาศาสตร์อธิบายได้

ความจริงจะใช้คำว่าโรคก็อาจไม่ถูกนัก เพราะทางวิทยาศาสตร์ใช้คำว่า “Forgotten Baby Syndrome” จัดเป็นกลุ่มอาการมากกว่า โดย เดวิด ไดมอนด์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา จาก University of South Florida ได้อธิบายเกี่ยวกับกลุ่มอาการนี้ ทำให้แม้แต่ในพ่อแม่ที่ใส่ใจลูกมากๆ ก็ยังมีโอกาสลืมลูกในรถได้ ดังนี้ จากการวิจัย สามารถสรุปได้ว่า สาเหตุเกิดจาก ความล้มเหลวของระบบความจำ โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง 2 ระบบ ได้แก่

Habit Memory (ความจำกิจวัตร) คือ การที่เราทำอะไรเป็นกิจวัตร เราจะทำสิ่งนั้นโดยอัตโนมัติ เช่น ปิดไฟ ล็อกประตูบ้านทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน สิ่งนี้อาจเรียกได้อีกชื่อว่า ออโต้ไพลอต

Prospective Memory (ความจำคาดการณ์) คือ การวางแผนที่จะทำอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่กิจวัตรที่ต้องทำทุกวัน เช่น แวะร้านขายยาเพื่อซื้อยาให้แม่ หรือแวะร้านสะดวกซื้อเพื่อจ่ายบิลค่าไฟฟ้า

เด็ก ลืมลูกในรถ เด็กเล็ก เด็กทารก

อธิบายง่ายๆ

บางครั้งความจำแบบคาดการณ์อาจถูกครอบงำโดยความจำกิจวัตร จนลืมสิ่งที่วางแผนไว้ไปชั่วขณะแล้วทำในสิ่งที่เคยชินแทน เช่นเดียวกับพ่อแม่ ที่ถ้าในชีวิตประจำปกติไม่ได้พาลูกขึ้นรถไปไหนมาไหน แล้ววันไหนเกิดพาลูกติดไปที่ทำงานด้วย ก็มีสิทธิ์จะลืมลูกไว้ในรถได้ เพราะสมองสั่งให้ลงจากรถ หยิบกระเป๋า ปิดประตูขึ้นตึกตามความเคยชิน ซึ่งตรงนี้คือสาเหตุเดียวกันกับเวลาเราลืมแก้วกาแฟไว้บนหลังคารถ คือเราถือแก้วกาแฟมา แต่วางไว้บนหลังคารถ พอเก็บของอย่างอื่นเสร็จก็เผลอขึ้นรถ ปิดประตูแล้วขับออกไปเลย เพราะเหตุนี้เอง เหตุการณ์พ่อแม่ลืมลูกไว้ในรถ จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แม้แต่กับพ่อแม่ที่เอาใจใส่สุดๆ จนเกิดเป็นอุบัติเหตุ ความสูญเสีย และอุทาหรณ์กับพ่อแม่ทั้งหลาย ทางที่ดีแนะนำให้ตรวจเช็กสิ่งของบนรถทั้งเบาะหน้าเบาะหลังให้เป็นนิสัย อาจช่วยป้องกันเหตุไม่คาดคิดได้

(ที่มา : USA TODAY)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ระวัง ฮีทสโตรก หน้าร้อน ใครบ้างเสี่ยง?

ทำงานออฟฟิศ ก็เสี่ยง ฮีทสโตรก ได้

โรคหน้าร้อน ยอดฮิต ของผู้สูงวัย

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.