ปวดท้อง ปวดท้องน้อย อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง

สังเกต อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง สัญญาณเตือนสุขภาพคุณผู้หญิง

สังเกต อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง กันเถอะ

อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง นั้นพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาวๆ หลายคนจึงปล่อยไว้เพราะมองข้ามว่านี่เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ นำไปสู่โรคร้ายแรงต่าง ๆ ตามมา ดังนั้นควรศึกษาสัญญาณบอกโรคให้ชัดเจนค่ะ

ว่าด้วยอาการปวดที่พบบ่อย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังที่มักพบบ่อย 6 ข้อ ซึ่งควรไปพบแพทย์

-อาการปวดบริเวณเชิงกราน ท้องน้อย หรือบริเวณใกล้เคียง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

-เกิดอาการปวดจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันและส่งผลต่อการเรียนหรือการทำงาน

-มีอาการปวดและไม่สามารถลดปวดได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป

-อาจมีความผิดปกติทางด้านจิตใจตามมา เช่น ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล

-กรณีที่เกี่ยวข้องกับการถ่าย – การอ้นปัสสาวะ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยมากและปวดมาก บางรายถ่ายปัสสาวะวันละ 40 – 50 ครั้งก็มี

-กรณีที่เกี่ยวกับอวัยวะด้านระบบสืบพันธุ์สตรี เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จะมีอาการปวดเหมือนการปวดประจำเดือน แต่อาการปวดจะรุนแรงกว่า

รักษาอย่างไรได้บ้าง

ปวดท้อง ปวดท้องน้อย อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง

จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการ “ปวดท้องน้อย” ที่เป็นมาจากสาเหตุใด?

สาเหตุของการปวดท้องน้อยมีหลายอย่าง หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาต่อไป ปัจจุบันการค้นหาโรคจากความผิดปกติทำได้ไม่ยุ่งยาก และเสียเวลา เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของมดลูก และปีกมดลูกได้ การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

รักษาอย่างไรได้บ้าง

เมื่อทราบสาเหตุแล้ว ทางเลือกการรักษาเริ่มจากการใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดการอักเสบ หรือฮอร์โมน การผ่าตัด เช่น ขึ้นอยู่กับอาการ ความเหมาะสม และวิจารญาณของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม การปวดท้องน้อยมีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง เมื่อเกิดแล้วไม่ควรมองข้าม ควรตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง

สุภาพสตรีท่านใดมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

(ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลเปาโล)


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หมอสูติแนะนำ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันโรคมะเร็งผู้หญิง

ไขข้อข้องใจ เกี่ยวกับ สูติ-นรีเวช ที่ผู้หญิงมักเข้าใจผิด

ผู้หญิงยุคใหม่ กับโรคภัยใกล้ตัว

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.