อาการเจ็บป่วยในผู้สูงวัย

3 สัญญาณอันตราย เตือนผู้สูงวัยรีบพบหมอ

3 สัญญาณอันตราย เตือนผู้สูงวัยรีบพบหมอ

ดูแลผู้สูงอายุ อย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ วันนี้จะพู๔ดถึงเรื่องของโรคภัย หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ง่ายมากๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง รวมถึงการทานอาหาร การใช้ชีวิตในช่วงวัยทั้งหมดที่ผ่านมา และความเสื่อมของการทำงานของระบบร่างกายที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ตามช่วงวัย

เมื่อเจ็บป่วย หรือมีโรคร้ายแฝงตัวอยู่ ก็ย่อมที่จะสร้างความทุกข์ทรมาน หรือมีอาการที่บั่นทอนสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดีไปได้ ดังนั้น เราควรรู้จักอาการที่อาจบ่งบอกว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้าย หรือเจ็บป่วยต่างๆ ได้ ซึ่งอาการที่ควรระวังเหล่านั้น เราได้รวบรวมไว้ให้ผู้สูงวัยและคนในครอบครัวได้คอยสังเกตและระมัดระวังก่อนที่จะสายเกินไป

เหนื่อยง่ายผิดปกติ หรือใจเต้นเร็ว

หากคุณสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุที่รารักมีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ คือ ทำอะไรเบาๆ หรือยังไม่ได้ออกแรงอะไรมากมายก็รู้สึกว่าเหนื่อยจนต้องหยุดพัก หรือหายใจไม่ทัน รวมถึงอาจมีอาการหัวใจเต้นเร็วมาก อาการเหล่านี้อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงควรพาไปพบแพทย์และตรวจดูว่ามีโรคใดหรือไม่

แขน-ขาอ่อนแรง

อาการแขน-ขาอ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อบางส่วนอ่อนแรงจนไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งมักเป็นๆ หายๆ ไม่นานนัก และเป็นถี่ขึ้น อาจบ่งบอกว่าคุณเป็นโรคที่ร้ายแรงบางโรคได้ เช่น อัมพาต พาร์กินสัน เป็นต้น ซึ่งโรคพาร์กินสันมักมีอาการสั่นร่วมด้วย และสั่นรุนแรงมากขึ้น

แขน-ขาอ่อนแรง

ชาครึ่งซีก

อาการชาครึ่งซีกเป็นอาการที่อันตรายมาก เพราะอาจทำให้เป็นอัมพาตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ดังนั้น หากเริ่มรู้สึกว่ามีอาการชาตามส่วนต่างๆ ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์แล้ว ไม่ควรปล่อยไว้ และคิดว่าจะดีขึ้น เพราะอาจรักษาไม่ทันจนเป็นโรคที่อันตรายได้

3 อาการอันตรายเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่นำไปสู่โรคที่น่ากลัว และทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และอาจต้องพึ่งพาผู้อื่นไปตลอดชีวิต ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้สูงอายุเรื่องของกำลังใจและความรักในครอบครัวมีความสำคัญต่อผู้สูงอายุอย่างมาก หากอยู่บ้านเดียวกันควรมีกิจกรรมร่วมกัน ไม่แยกให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตแบบ “คนแก่” อย่างโดดเดี่ยว หาโอกาสพาลูกหลานไปเยี่ยมผู้สูงวัยที่อยู่เพียงลำพังอย่างสม่ำเสมอ พาท่านไปทำกิจกรรมที่คนหลายๆ วัยสามารถทำร่วมกันได้

ที่สำคัญควรใส่ใจในการ “รับฟัง” ท่านอย่างให้เกียรติ เพราะท่านก็ยังต้องการรู้สึกเป็นที่ยอมรับ และรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่าในสายตาของคนในครอบครัว

รวมถึงการจัดเตรียมบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ภายในบ้านไม่ควรมีพื้นต่างระดับเพื่อป้องกันสะดุดล้ม พื้นห้องน้ำไม่ลื่น และควรแยกส่วนเปียกส่วนแห้งออกจากกัน ติดตั้งราวจับในห้องน้ำและในบริเวณที่ผู้สูงอายุใช้บ่อยๆ นอกจากนี้ยังควรดูแลให้แสงสว่างพอเพียง ปลั๊กและสวิตช์ควรไฟอยู่ในระดับที่ผู้สูงวัยเอื้อมถึงง่ายๆ โดยเฉพาะในห้องนอน

อาการชาครึ่งซีก

ความเครียด กังวล คิดลบ เป็นสารพิษที่รบกวนการทำงานของเซลล์สมอง ผู้สูงอายุและผู้ดูแลควรพยายามหาวิธีผ่อนคลายจิตใจ เลือกการพักผ่อนในแบบที่ชอบ เช่น เดินทาง ท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ฟังเพลง เต้นรำ หรือทำงานอดิเรก จัดสภาพแวดล้อมให้สงบ สะอาด มีอากาศถ่ายเท ไม่มีเสียงดังเกินไป และควรออกมารับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ผู้ดูแลและครอบครัวควรคอยสังเกตอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุเสมอ เมื่อมีอาการมากจนกระทบต่อการกิน การนอน การคิดหรือจดจำ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพามาปรึกษาแพทย์

แม้ผู้สูงอายุจะเคยเป็นคนแข็งแรง แต่เมื่อร่างกายเสื่อมถอยลงจึงเป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลอย่างเอาใจใส่และถูกสุขลักษณะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยไม่มองข้ามการพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการป่วยไข้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ดังนั้นการป้องกันจึงย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ

ข้อมูลประกอบจาก: รพ.สมิติเวช

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

4 โรคที่วัยสูงอายุควรระวัง

เทคนิค “ออกกำลังกายสมอง” ของผู้สูงวัย วิธีง่ายๆ ทำได้ทุกวัน

การรักษา โรคภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้ และ แพ้ภูมิ ในผู้สูงอายุ

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.