โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ต้องยอมแพ้ หากเริ่มออกกำลังกายแบบนี้
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือข้ออักเสบ อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง กูรูต้นตํารับชีวจิต เคยเขียนอธิบายไว้ในนิตยสารชีวจิตฉบับแรกๆ ว่า โรคนี้เป็นโรคประจําตัวของสัตว์และมนุษย์มาแต่โบราณกาล แพทย์และนักวิทยาศาสตร์นํากระดูกไดโนเสาร์เมื่อ 60 ล้านปี มาสํารวจตรวจตรา พบว่า สัตว์โบราณเหล่านี้ล้วนมีอาการของข้ออักเสบมาก่อน
แถมยังสํารวจมนุษย์ถ้ำหรือชนเผ่าเก่าแก่หลายล้านปีก็พบว่า มนุษย์มีโรคประจําตัวคือข้ออักเสบมาตั้งแต่ยุคแรกแล้วเช่นกัน มิหนําซ้ำ การเจ็บป่วยจากโรครูมาตอยด์หรือข้ออักเสบของคนเราสมัยนี้กลับไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป เพราะความเจ็บปวดนั้นเริ่มทวีความรุนแรงและไม่ต้องรอให้แก่เฒ่า มันก็มาเคาะประตูบ้านเสียแล้ว
Did you know?
30-40 % ของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์จะมีอาการดีขึ้นเมื่องดอาหารที่สงสัยว่าทําให้ปวด โดยการเริ่มกินอาหารที่ต้องสงสัยทีละน้อย และสังเกตว่ามีอาการปวดข้อ หรือไม่ วิธีนี้จะช่วยให้พบอาหารที่กระตุ้นอาการปวดไขข้อได้ และเมื่องดอาหารเหล่านี้อาการปวดไขข้อก็จะดีขึ้น ข้อมูลจากโรงพยาบาลราชวิถี
ออกกําลังกายสลายรูมาตอยด์
อาการปวดข้อจากโรครูมาตอยด์แก้ได้ด้วยการออกกําลังกายค่ะ วันนี้มีข้อควรรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย สําหรับคนที่ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์จากวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา มาแนะนํากัน 4 ข้อ
- ควรออกกําลังแบบแอโรบิก
เพราะช่วยให้หัวใจแข็งแรง ปอดทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดความเสี่ยง
การเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ได้เป็นอย่างดี แต่ควรเน้นการออกกําลังแบบแอโรบิกที่ไม่มีแรงกระแทก เช่น ว่ายน้ํา ปั่นจักรยาน เดิน
- ห้ามละเลยการยืด
เหยียดร่างกาย ยิ่งป่วยเป็นโรคข้อยิ่งต้องให้ความสําคัญกับการยืดเหยียด เพราะช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณข้อที่จะทําให้อาการ ของโรครูมาตอยด์แย่ลงได้
ทั้งก่อนและหลัง ออกกําลังกายจึงต้องอบอุ่นร่างกายและยืดเหยียดแขนขาทันทีอย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อป้องการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ สักพักผู้ฝึกจะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น ทําให้เคลื่อนไหวได้น้อยลง ดังนั้นการยืดเหยียดก่อนการฝึกจะทําให้ผู้ฝึกรักษาความยืดหยุ่นของร่างกายไว้ได้ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ในกรณีที่ใช้ชีวิตในห้องปรับอากาศเป็นประจํา ควรเพิ่มเวลาในการอบอุ่นร่างกายเป็น 20 นาที เพราะการที่ร่างกายอยู่ท่ามกลางอุณหภูมิต่ำนานๆ กล้ามเนื้อจะหดเกร็งได้ง่าย ถ้ายืดเหยียดก่อนและหลังออกกําลังกายไม่เพียงพอ ย่อมเกิดการบาดเจ็บและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
- ฝึกการทรงตัวเป็นประจํา
เพราะคนป่วยโรคนี้จะขาดสมดุลในการทรงตัว ทําให้ล้มและบาดเจ็บได้ง่าย เช่น การยืนขาเดียว การเดินบนเส้นตรง จึงควรฝึกการรักษาสมดุลของร่างกาย แต่ต้องทําอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- ออกกําลังกายสม่ำเสมอ
เพราะกล้ามเนื้อจะแข็งแรงได้ก็ต่อเมื่อได้รับการฝึกซ้ำๆ นั่นเอง
ว่าแล้วลองเริ่มออกกำลังกายแบบง่ายๆ ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อกันก่อนเลย
#ชีวจิตกูรู มีท่าง่ายๆ มาฝาก ให้ยืดๆ เหยียดๆ เพื่อเลี่ยงอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแขน ค้างท่า 10 วินาที ขณะดันปลายนิ้วเข้าหาลำตัว ทำข้างละ 10 ครั้งปล. ท่านี้ช่วยคลายความปวดเมื่อยบริเวณไหล่ได้อีกด้วย #ชีวจิต #ออกกำลังกาย #30วิชีวิตดี
โพสต์โดย นิตยสารชีวจิต บน 7 มีนาคม 2018
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ตะคริว ขณะออกกำลังกาย ไม่มีวันซะล่ะ หากทำตามวิธีนี้
เบาหวาน คุมอยู่! ด้วยเทคนิคออกกำลังกายคุมน้ำตาลในเลือด