GUIDELINE OF PAIN
ปวด แบบไหน ต้องรักษาด้วยแผนไทย
ปวด ในบรรดาโรคที่คนไข้เป็นบ่อยและมาพบแพทย์แผนไทยมากที่สุด คือ อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่างๆ อาการนำที่ทำให้คนไข้มาพบ คือ อาการปวด ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบขึ้นอยู่กับตำแหน่งและอาการของแต่ละโรค
ในครั้งนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะอาการปวดที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อเท่านั้น
ปวดไหล่
โดยเฉพาะตำแหน่งที่มีอาการปวดนี้มีความสำคัญมาก เช่น คนไข้มาด้วยอาการปวดไหล่ด้านซ้าย และมีอาการปวดร้าวลงไปถึงแขน ถ้ามองผิวเผินอาจเป็นแค่อาการปวดไหล่ที่เกิดจากกล้ามเนื้อแข็งเกร็งบริเวณหลังส่วนบน ไหล่ และแขน
แต่ความจริงแล้วอาการนำของคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดไหล่ด้านซ้ายนี้อาจเป็นอาการเริ่มต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจได้เช่นกัน เพราะบริเวณหน้าอกด้านซ้ายของเราเป็นตำแหน่งของหัวใจ หากมีความผิดปกติอาจจะมีอาการปวดร้าวไปตั้งหน้าอก ไหล่ และแขน ด้านซ้ายได้ หรือที่เรียกว่าอาการ Refer Pain
อันนี้ต้องระวังเป็นอย่างมาก หมอต้องมีการซักประวัติที่ละเอียดขึ้น และคนไข้ต้องบอกอาการให้ละเอียด มีประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า เดินขึ้นบันไดแล้วเหนื่อยง่ายไหม หรือต้องตื่นมาตอนกลางดึกบ่อยๆ ฯลฯ และจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มอื่นๆด้วย
แต่ถ้าใครมาพบแพทย์แผนไทย ก็จะมีการคัดกรองคนไข้ก่อนแล้วส่งต่อให้แพทย์แผนปัจจุบันรักษาต่อไป
หายใจไม่อิ่ม
ในทางกลับกันบางคนมีอาการปวดไหล่ด้านซ้ายเหมือนกัน และรู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจได้ไม่เต็มปอด คิดว่าตัวเองต้องเป็นโรคหัวใจแน่ๆ หรือไม่ก็ต้องเป็นโรคที่ร้ายแรง แต่เอาเข้าจริงๆแล้วเป็นแค่อาการปวดกล้ามเนื้อธรรมดา
อาการนี้แพทย์แผนไทยสามารถรักษาได้นะครับ
เพราะเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบนแข็งแกร็ง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก ประสิทธิภาพการนำอาหารหรือออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ลดลง หรือแพทย์แผนไทยเรียกว่า โรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง (ตำแหน่งกระดูกคอ T1-C7)
ถ้าไปพบแพทย์แผนไทยต้องนวดกลายกล้ามเนื้อ และกดจุดบริเวณจุดสัญญาณตำแหน่งระหว่างกระดูกคอ T1- C7 โดยการเน้นเป็นพิเศษ และกดจุดเสริมตำแหน่งอื่นๆตามหลักการรักษา
อ่านต่อ>> ปวดไมเกรน
ข้อมูลน่าสนใจ
ปวดหัวตรงขมับ คือสัญญาณของโรคอะไร และควรแก้อย่างไร เรามีคำตอบ