ทำไม เวลา ” มีความรัก ” ผู้หญิงจึงสวยขึ้น
หลายคนคงมีข้อสงสัย หรือได้ยินเค้าพูดๆกันว่า ผู้หญิงเวลา มีความรัก จะดูสวยขึ้น รู้ไหมว่าคำกล่าวนี้ไม่ได้มีขึ้นมาลอยๆ แต่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ให้เรียบร้อย ลองมาดูกันเลยว่าความรักจะช่วยให้คุณสาวๆสวยขึ้นได้อย่างไร
ฮอร์โมน คือปัจจัยสำคัญ
นอกจากพฤติกรรมทางกายภาพจะมีผลต่อสมดุลของฮอร์โมนแล้ว การมีความรักหรือตกหลุมรักใครสักคนจะช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะซีโรโทนินและโดพามีนที่เพิ่มปริมาณขึ้นมาก ส่งผลให้ความเครียดต่างๆที่เกิดขึ้นเบาบางลงจึงมีความสุขและอิ่มเอมใจอยู่เสมอ
หากระบบการผลิตและหลั่งซีโรโทนินดำเนินไปอย่างราบรื่นในช่วงกลางวัน จะส่งผลดีต่อกระบวนการสร้างเมลาโทนินในช่วงกลางคืนด้วย จึงช่วยให้หลับสนิท วงจรการนอนหลับมีคุณภาพ โกร๊ธฮอร์โมนก็หลั่งออกมาทำงานร่วมกันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้เต็มที่ จึงตื่นมาพร้อมหน้าตาที่สดใสเปล่งปลั่ง ผิวพรรณมีน้ำมีนวล และดูสวยงามทุกวัน
นอกจากนี้ ปริมาณของซีโรโทนินกับโดพามีนที่เพิ่มมากขึ้น ยังมีผลต่อการทำงานของสมองส่วนไฮโปทาลามัส จึงควบคุมความรู้สึกต่างๆได้ดี อีกทั้งช่วยเชื่อมโยงกับการหลั่งฮอร์โมนเอสโทรเจนให้ง่ายขึ้น ประจำเดือนเป็นปกติ ผิวหนังก็ดูสดใสเปล่งปลั่ง และเส้นผมเงางาม
ฮอร์โมนซีโรโทนิน เอสโทรเจน เมลาโทนิน และโกร๊ธฮอร์โมน คือ กลุ่มพลังฮอร์โมนชะลอวัยสำหรับผู้หญิง ช่วยให้ร่างกายดูอ่อนเยาว์และสดใสได้ดีกว่าเครื่องประทินผิวราคาแพง เงื่อนไขเดียวที่จะคงความสาวไว้ได้นานที่สุดคือ ฮอร์โมนทั้งสี่ชนิดต้องรวมพลังกันเท่านั้น
สำหรับสาวๆ ที่ยังครองชีวิตโสดจนถึงวัยสูงอายุก็ไม่ต้องกังวล เพราะความชื่นชอบดารา นักร้อง นักกีฬา หรือการจินตนาการถึงภาพตัวเองที่สวยขึ้นอย่างมีความสุข ก็ช่วยให้่วงจรฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์นี้ทำงานได้ดีเช่นกัน สิ่งสำคัญคือ ต้องพยายามรู้สึกสนุกตื่นเต้นในทุกจังหวะของชีวิตให้ได้ แม้อายุจะล่วงเลยไปเท่าไรก็ตาม
ใครว่าคอเลสเตอรอลเป็นตัวร้าย
จากผลตรวจสุขภาพและข้อมูลที่ถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ ล้วนระบุว่าคอเลสเตอรอลเป็นตัวร้ายที่คอยทำลายสุขภาพ ทั้งโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว แต่ความจริงแล้ว การมีคอเลสเตอรอลในระดับที่เหมาะสมส่งผลดีต่อการสร้างฮอร์โมน เพราะคอเลสเตอรอลเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตฮอร์โมนดีเอชเอ ทว่ากลับมีน้อยคนนักที่รู้ข้อเท็จจริงนี้
หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลน้อยเกินไป การผลิตฮอร์โมนดีเอชเอและฮอร์โมนเอสโทรเจนก็พลอยลดลงตามไปด้วย
เมื่อกินอาหารเข้าไป พลังงานส่วนเกินจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ตับ แล้วนำมาใช้เมื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องการ ทว่าการดื่มแอลกอฮอล์จัด การมีเพศสัมพันธ์หลายคู่ การนอนหลับไม่เพียงพอ และการกินยาบางประเภทเป็นตัวบั่นทอนให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพลดลง จึงกระทบต่อการสร้างคอเลสเตอรอล รวมถึงการผลิตฮอร์โมนดีเอชเอและเอสโทรเจนด้วย
ความเครียดคือศัตรูตัวฉกาจ คอยขัดขวางการหลั่งฮอร์โมน
ฮอร์โมนเอสโทรเจนของเพศหญิงและฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนของเพศชายมีอยู่ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
หากระดับเทสทอสเทอโรนสูงเกินไปในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จะทำให้ลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น ขนขึ้นตามร่างกาย เห็นกล้ามเนื้อชัดเจน มีเสียงห้าว และแสดงออกถึงความเป็นผู้นำมากขึ้น
ส่วนผู้ชายที่มีเทสเทอโรนน้อยเกินไป เนื่องจากเอสโทรเจนค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นทีละน้อยเกินไป เนื่องจากเอโทรเจนค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นทีละน้อย จะมีร่างกาย นิสัยและกิริยาบอบบาง อ่อนโยนคล้ายผู้หญิง บางคนดูคล้ายคนที่มีทั้งความเป็นชายและหญิงในคนเดียวกัน หรือที่เรียกว่าแอนโดรจีนัส (androgynous) เพราะเอสโทรเจนในผู้ชายผลิตมาจากเทสทอสเทอโรนนั่นเอง
เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนถาวร เทสทอสเทอโรนจะพัฒนาได้เต็มรูปแบบ ผู้หญิงคนนั้นจึงเปลี่ยนไปคล้ายผู้ชายอย่างรวดเร็ว นอกจากกลไกตามธรรมชาติแล้ว ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เทสทอสเทอโรนเพิ่มขึ้น เช่น มีหนวดยาวๆ สิ่งนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าระบบประสาทซิมพาเทติกกำลังทำงานหนักเกินไป จนก่อให้เกิดความเครียดที่กระตุ้นให้ฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนโดดเด่นแทนฮอร์โมนเพศหญิง
อีกสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายเด่นกว่าฮอร์โมนเพศหญิงคือ เอสโทรเจนน้อยลงตามอายุ หากลองปรับพฤติกรรมการกิน และสร้างความรู้สึกปลาบปลื้มหรือหลงรัก ก็จะช่วยชะลอการลดปริมาณของเอสโทรเจนลงได้ ทั้งยังสามารถลดปริมาณของเทสทอสเทอโรนควบคู่กันด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรเน้นกินแต่ถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งมีไอโซฟลาโวนที่คล้ายกับฮอร์โมน เพราะอาจทำให้ขาดสารอาหาร การจำกัดตัวเองมากเกินไปยังทำให้ร่างกายเครียดสะสม ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อฮอร์โมนอยู่ดี
ระวังการกินอาหารเสริมให้มาก
บางคนคิดว่าการที่ฮอร์โมนขาดสมดุล แค่ซื้ออาหารเสริมที่จำหน่ายตามท้องตลาดมากินแล้วจะช่วยให้อาการดีขึ้น แต่นั่นกลับเป็นการรับเอาสารอาหารที่อาจไม่จำเป็นเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้สมดุลฮอร์โมนแย่ลงกว่าเดิม
ตัวอย่างเช่น เมลาโทนินในรูปแบบอาหารเสริมที่จำหน่ายในอินเทอร์เน็ต โดยโฆษณาสรรพคุณว่า ช่วยต้านอนุมูลอิสระและแก้ไขปัญหาการนอนหลับ แม้คุณสมบัติดังกล่าวจะมีประโยชน์กับคนที่นอนหลับยาก แต่การรับเอาฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานานทำให้ร่างกายเข้าใจว่า “มีฮอร์โมนเมลาโทนินจากภายนอกแล้ว ไม่จำเป็นต้องผลิตเองอีก” ส่งผลให้กระบวนการผลิตตามธรรมชาติถดถอย
ความจริงแล้วอาหารเสริมอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อร่างกายเลย เพราะระบบฮอร์โมนแต่ละชนิดไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง แต่เชื่อมโยงกันเป็นระบบ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งจะมีอิทธิพลกับฮอร์โมนอีกชนิดเสมอ ดังนั้นการเสริมฮอร์โมนเพียงชนิดเดียวรังแต่จะทำให้สมดุลของระบบฮอร์โมนปั่นป่วน
อ่านเรื่องราว อิทธิพลของฮอร์โมนต่างๆ ต่อร่างกายได้ในหนังสือ อ่อนวัยแน่ แค่ปรับฮอร์โมน โดยฮิเดะยุกิ เนะโกะโระ สำนักพิมพ์ AMARIN HEALTH สั่งซื้อ คลิ๊ก
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
16 DIY กินป้องกัน ริ้วรอย สาวชีวจิตหน้าใส อ่อนวัยตลอดกาล
ยกน้ำหนัก ให้อ่อนวัย (บอกทุกขั้นตอน)
รวมอาหารที่คนวัยทำงาน นอนดึก นอนไม่หลับ ควรกิน
4 ท่าบริหารใบหน้า เพื่อความอ่อนเยาว์