“ไวรัสโคโรน่า” กับผู้สูงวัย ควรป้องกันอย่างไรถึงปลอดภัยขั้นสุด!

เนื่องจากไวรัสโคโรน่า 2012 สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้หลายกลุ่มในวงจำกัด โดยพบในบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ดูแลผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวเดียวกัน และในขณะนี้ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อวงกว้างในชุมชน โคโรน่าไวรัสเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันหรือระบบอื่นๆ ในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร มีอาการรุนแรงคล้ายโรคซาร์ส เชื้อจะลุกลามเข้าปอดอย่างรวดเร็ว ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ที่มีอัตราความเสี่ยงสูงที่จะติดโรคคือผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อใช้มาตรการการป้องกันพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่มีอาการป่วย หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม รักษาสุขอนามัยขั้นพื้นฐานส่วนบุคคล โดยเฉพาะการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย เปลี่ยนชุดป้องกันรวมถึงรองเท้าบูททุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ ไม่นำสัตว์ที่ป่วยไปประกอบอาหาร การบริโภคผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์ เช่น นม และเนื้อสัตว์ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ

ป้องกันและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

อย่างไรก็ตาม กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษแน่นอนว่าก็คือผู้สูงอายุ ซึ่งร่างกายอาจมีภูมิต้านทานน้อยกว่าคนวัยอื่น ส่วนใหญ่เป็นโรคทางเดินหายใจของเด็กผู้ใหญ่ส่วนมากเคยติดเชื้อมาแล้วและมีภูมิต้านทาน และแข็งแรงกว่า ยกเว้นผู้สูงอายุ

องค์การอนามัยโลกยังไม่มีประกาศจำกัดการเดินทาง แต่อย่างไรก็ดี ประชาชนควรป้องกันและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ หากประชาชนมีความจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศจีน สามารถเดินทางไปได้ แต่ในช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงไปยังเมืองอู่ฮั่นตามคำประกาศของทางการจีน

ระหว่างเดินทางในต่างประเทศ ขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจาม หากเลี่ยงไม่ได้ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วยหรือตาย และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรวมถึงเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดี และหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น

ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่น ผ้าเช็ดหน้า, แก้วน้ำ, ผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หลังเดินทางกลับจากต่างประเทศภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

สถานที่และบรรยากาศที่ดี มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ

ประเด็นน่าจับตามอง โรคอุบัติใหม่ 2019 “ไวรัสโคโรน่า”

สถานการณ์ไวรัสโคโรน่าในไทย อย่างไรเสียก็ควบคุมได้อยู่แล้ว!

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.