โรคข้อสะโพกเสื่อม

เพราะ “ข้อสะโพก” เป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นอย่าปล่อยให้ “เสื่อม”

เพราะข้อสะโพกเป็นส่วนสำคัญดังนั้นอย่าปล่อยให้ “เสื่อม”

เพราะข้อสะโพกเป็นข้อที่สำคัญใน การเคลื่อนไหวของขา จึงเป็นส่วนที่รับบทหนักในร่างกายที่ทำให้หลายคนเกิดโรค ข้อสะโพกเสื่อม ได้ง่าย และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาข้อสะโพก เช่น ข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิดไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ข้อสะโพกขาดเลือดไปเลี้ยงที่กระดูกหัวของข้อสะโพก

โรคข้อสะโพกจากรูมาตอยด์ ซึ่งเกิดจากการใช้สารสเตอรอยด์เป็นเวลานาน รวมไปถึงการประสบอุบัติเหตุ หกล้ม กระดูกสะโพกหัก ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ก็ล้วนเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในข้อสะโพกทั้งสิ้น

ทั้งนี้เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกบริเวณสะโพกจะบางลง โดยเฉพาะคอกระดูก จึงมักพบกระดูกหักบริเวณนี้ได้บ่อยเมื่อผู้สูงอายุล้ม ส่วนของเบ้าสะโพกจะมีเอ็นมายึดเกาะมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรงทำให้เส้นเอ็นที่ยึดอยู่ฉีกขาด อาจทำให้ข้อสะโพกหลุดได้ จากการที่เกิดกระดูกสะโพกหักหรือข้อสะโพกหลุดนั้น ส่งผลให้เส้นเลือดที่เลี้ยงหัวกระดูกต้นขาฉีกขาดทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงส่งผลให้หัวกระดูกสะโพกตาย และอาจให้เกิดข้อเสื่อมตามมาได้

อาการผิดปกติของผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อม

ในระยะแรกจะมีอาการปวดและอาจมีการขัดที่ข้อ โดยจะมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อในขณะเหยียด- งอสะโพก จะมีเสียงลั่นในข้อร่วมกับอาการปวดหรือขัดในข้อมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อสะโพกจนสุด อาจทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัดและตามด้วยการเคลื่อนไหวไม่เต็มที่ของข้อสะโพกเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นหรือข้อที่เสื่อมนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีอาการผิดปกติเหล่านี้ขึ้นมาได้

โรคข้อสะโพกเสื่อม

ข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวัน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ เพื่อให้อาการเหล่านี้ทุเลาหรือหายไปได้เป็นครั้งงคราว เช่น การปรับตัวในเรื่องการงอข้อสะโพก โดยการหลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาธิ การนั่งคุกเข่า และการขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ หรือหลายชั้น รวมถึงการปรับกิจกรรมประจำวัน เช่น ลดระยะทางการเดิน ไม่นั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดียวนานๆ รวมถึงการใช้ไม้เท้า อุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อลดภาระของข้อในการเดิน

ผู้ที่มีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อมและผู้ที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกต้องระวังอะไรบ้าง

จากอาการผิดปกติของผู้ป่วยโรคข้อสะโพก ทำให้ผู้ป่วยต้องดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและดูแลข้อสะโพกไม่ให้มีอาการมากยิ่งขึ้น มาดูว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การก้ม โน้มตัว และยกขา เช่น ท่าที่ต้องงอเข่าเข้าหาตัว ก้มลงหยิบของ ใส่กางเกง ใส่ถุงเท้ารองเท้า นั่งเก้าอี้เตี้ยเกินไป นั่งยองๆ หรือนั่งกับพื้น ท่าบริหารที่ต้องงอข้อสะโพกมาก

โรคข้อสะโพกเสื่อม

การหุบ- กางขาที่ไม่เหมาะสม

นั่งไขว่ห้าง นั่งพับเพียบ ยืนไขว้ขา นั่งกางขากว้าง เช่น นั่งขัดสมาธิ ท่าบริหารที่หุบ-กางขามากเกินไป

การเอี้ยวตัวไม่เหมาะสม การหมุนตัว กลับมาปิดประตู การเอี้ยวตัวเพื่อหยิบของ ท่าบริหารที่เอี้ยวตัวมากเกินไป

ข้อมูลจาก: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ออกกำลังกายด้วยลีลาศช่วยทรงตัวผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม

10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ลูกหลานควรดูแลอย่างใกล้ชิด

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีข้อควรระวังมากกว่าวัยอื่น!

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.