ทำอย่างไรถึงจะเป็นคนคิดบวก

ทำอย่างไรถึงจะเป็นคนคิดบวก เผยเคล็ดลับการตั้งเป้าหมายให้เป็นคนคิดบวก

ทำอย่างไรถึงจะเป็นคนคิดบวก เผยเคล็ดลับการตั้งเป้าหมายให้เป็นคนคิดบวก

ทำอย่างไรถึงจะเป็นคนคิดบวก หากเราคิดบวกได้ตั้งแต่แรก แม้จะตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก เราอาจรู้สึกเครียดน้อยกว่าคนอื่น และไม่ต้องรับมือกับความเครียดที่รุนแรงนัก ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่ส่วนมากเป็นคนคิดบวก ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้นเขาก็ไม่กล้าที่จะลงทุนทำธุรกิจอะไรเลย  ส่วนคนที่เครียดกับเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ จะกำหนดกรอบของงานที่ควรทำไว้ระดับหนึ่ง และต้องเลือกงานที่มากกว่าครึ่งเป็นงานจำเจ เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็จะทุกข์กับความเครียดต่อไปเรื่อยๆ มีแต่เรื่องไม่สบายใจและกังวลใจ

 

 

อาจมีข้อโต้แย้งว่า “แล้วทำอย่างไรจึงจะเคยชินกับการคิดบวกล่ะ”

 

แน่นอนว่า คนคิดบวกส่วนมากเป็นคนมองโลกแง่ดี เป็นคณสมบัติดีที่ติดตัวมา ไม่ใช่ความสามารถที่สร้างขึ้นมาโดยใช้สติบังคับ คงไม่มีคนที่มองโลกแง่ดีมาตั้งแต่เกิด แต่ลักษณะนิสัยมองโลกแง่ดีเป็นสิ่งที่ใช้เวลาบ่มเพาะภายใต้สภาพแวดล้อมที่เติบโตขึ้นมา

 

แล้วไม่มีวิธีที่จะเปลี่ยนพวกเราให้คิดบวกเลยหรือ 

 

เป็นปัญหาที่ยากมาก แต่คิดว่่าการฝึกมองสิ่งต่างๆ ด้วย “มุมมองแห่งการเรียนรู้” จนติดเป็นนิสัยคือวิธีหนึ่ง มีเกร็ดเล็กน้อยที่ไม่ค่อยมีคนรู้ สมมติเหตุการณ์ว่าถ้าถามคนที่กำลังนำสินค้าออกจากกล่องกระดาษมาเรียงไว้บนชั้นที่ร้านสะดวกซื้อว่า “ตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่” คุณเอตอบว่า “เอาสินค้าออกจากกล่องเหมือนอย่างที่เห็นนั่นแหละ” เมื่อถามคุณบีด้วยคำถามเดียวกัน คุณบีตอบว่า “กำลังลองนำสินค้าใหม่ตัวนี้จัดเรียงดูและพยายามทดลองว่าจะขายได้เท่าไร” คุณบีคิดบวก เพียงแค่มองโลกในแง่ดีก็จะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ แตกต่างกัน คุณบีกำลังพยายามเรียนรู้อะไรบางอย่างจากการทำงานพิเศษในร้านสะดวกซื้ออยู่ จะทำงานโดยใช้ปัญญาขึ้นอยูกับความคิด แม้ว่ากำลังทำงานเดียวกันอยู่ แต่สิ่งที่คุณบีและคุณเอได้รับจากการทำงานพิเศษนี้อาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ถ้าเราคิดได้ว่าเวลาประสบการณ์ และสิ่งที่พบเจอทั้งหมด เป็นเวลาแห่งการเรียนรู้ เป็นวัตถุดิบในการเรียนรู้สำหรับตัวเอง มันก็กลายเป็นวิธีที่ใช้ต่อสู้กับวัตถุดิบในการเรียนรู้สำหรับตัวเอง มันก็กลายเป็นวิธีที่ใช้ต่อสู้กับความเครียดเชิงรุก เพราะปัญหาคือเรื่องแรงจูงใจ ไม่ใช่ลักษณะของนิสัย

 

 

คนขี้กังวลก็คว้าทัศนคติเชิงบวกมาไว้ในมือได้ด้วยการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ มีบางคนที่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตามพอถึงเวลาเอาจริงก็ทำได้ไม่ดี เช่น หากต้องพูดสุนทรพจน์ครั้งสำคัญก็กังวลว่าพูดได้ลื่นไหลหรือไม่ ขอให้เตรียมตัวอย่างเต็มที่ เขียนต้นฉบับสุนทรพจน์ขึ้นมา เกลาแล้วเกลาอีกหลายครั้ง คำนวณเวลาที่จะใช้จริงและฝึกพูด ถ้าเป็นไปได้ก็พูดให้ใครสักคนฟัง จนมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำว่าเตรียมพร้อมจนถึงจุดที่ยอมรับได้แล้ว ถ้าความสำเร็จตรงนั้นมาได้ก็จะมีความมั่นใจยิ่งขึ้นอีก ในระหว่างที่ซ้อมไปเรื่อยๆ ให้คิดภาพของความสำเร็จไปด้วย นี่เรียกได้ว่าการบริหารความเสี่ยงประเภทหนึ่ง คิดถึงความเสี่ยงหนึ่งในหมื่นที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมพร้อมเผื่อไว้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต้องระวังว่าความพยายามเช่นนั้นจะทำให้เกิดความเครียดที่ชื่อว่า ความกดดันสะท้อนกลับมาอีก

 

ที่มา : ทิ้งคนเก่าที่ไม่เก่งมาเป็นคนใหม่ที่เจ๋งกว่า เขียนโดย ยูคิโอะ โอคุโบะ แปลโดย ณิชากร อุปพงศ์

 

ภาพ : Photo by Hudson Hintze on Unsplash


บทความน่าสนใจ

วิธีคิดบวกแบบชาวพุทธ เพื่อสุขภาพใจที่ดี

คิดบวกเป็นสุข! ตุ๊กกี้-ชิงร้อย กับ 3 คำตอบที่ทำให้รู้ว่าเธอคิดยังไงกับคำ ตลกหน้าปลวก

พลังแห่งการคิดบวก นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์

ลี คุน-ฮี แห่งซัมซุง: ไม่มีคำว่า “เป็นไปไม่ได้” สำหรับซีอีโอคิดบวก

เช็ก 7 สัญญาณ คุณเป็น คนคิดบวก รึเปล่า

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.