อัตตา

อัตตาคือของหวาน ทว่าไส้ตรงกลางคือยาพิษ

อัตตา คือของหวาน ทว่าไส้ตรงกลางคือยาพิษ

นี่คือฉันนี่คือของของฉันความคิดเหล่านี้ คือ อัตตา ตัวตนซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนมีแต่อาจมีปริมาณมากหรือน้อยต่างกันไป หลายท่านพึงพอใจในอัตตาของตน ในขณะที่อีกหลายๆท่านพยายามลดละซึ่งอัตตาตัวตนให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้ หากอัตตาเป็นสิ่งที่หลายท่านต้องการในขณะที่อีกหลายท่านพยายามสลัดทิ้งเช่นนี้ พระพุทธศาสนาจะมีคําตอบของทางออกแห่งอัตตาอย่างไร

 

มนุษย์ที่มีอัตตามักจะไม่ยอมแพ้ใคร และทะเยอทะยานกระทั่งประสบความสําเร็จในชีวิต หากอัตตาก่อให้เกิดสิ่งที่ดีขนาดนั้น เพราะเหตุใดพุทธศาสนาจึงสอนให้คนไม่ควรมีอัตตาล่ะคะ

มนุษย์ที่อยู่ในโลกียะยังคงมีอัตตาได้ เพื่อจะไปสู่จุดมุ่งหมาย ในชีวิตโดยการใช้กิเลส ใช้อัตตาให้เป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้ประสบความสําเร็จ แต่ทุกสิ่งล้วนเป็น อนิจจัง ไม่มีสิ่งใดอยู่คงทนถาวร คลื่นลูกใหม่ย่อมเร็ว และแรงกว่าคลื่นลูกเก่าเสมอ ถ้าคนที่มีอัตตาสูงแล้วรับ ไม่ได้ที่ถูกคลื่นลูกใหม่เบียดเข้ามาแทนที่ เขาจะทุกข์ทรมาน มาก บางรายอาจถึงขั้นฆ่าตัวตายก็เป็นได้ ในท้ายที่สุดแล้ว อัตตาคือตัวปัญหาที่ทําให้มนุษย์เกิดความทุกข์ ยิ่งขนาดของอัตตาใหญ่ขึ้นเท่าไร ความ ทุกข์ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เขาจะรู้สึกใจหนักๆเหมือนมี มวลมาถ่วง เกิดความหวาดระแวง ดิ้นรน ร้อนรุ่ม ไม่มีความสงบภายในจิตใจ แม้จะประสบความสําเร็จหรือมี เงินทองมากมายเพียงใดก็ไม่เพียงพอ เพราะยังมีความต้องการให้เป็นดังเดิมตลอดไป

 

มนุษย์จะมีวิธีหรือขั้นตอนในการลดละอัตตาได้อย่างไรคะ

ขั้นแรก เราควรใช้อัตตาให้เป็นเสียก่อน ซึ่งวิธีใช้อัตตา ให้เป็นคือ การใช้ความมีตัวมีตนนี่แหละมาเป็นแรงผลักดัน ให้เรามีความพยายาม มุมานะ จวบจนประสบความสําเร็จในชีวิตในโลก ขั้นต่อมาคือ เสริมการปฏิบัติภาวนาตามหลักพุทธ- ศาสนาเข้าไปในชีวิตด้วย เพื่อจะได้มีความเข้าใจในหลักธรรมคําสอนทางพุทธศาสนาทั้งหมด รวมถึงเข้าใจในหลักอนิจจัง การเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน และเข้าใจในหลักอนัตตาคือ ความไม่มีในตัวจริง ตัวแท้ถาวรด้วย จวบจนเมื่อ ปฏิบัติธรรมได้อย่างถ่องแท้แล้ว จะสามารถเข้าใจวาระของ อัตตาได้ และอยู่อย่างใช้อัตตาเป็น

 

ในเมื่อยังเห็นร่างกายเป็นตัวเป็นตนอยู่เช่นนี้ เหตุใดพุทธศาสนาจึงบอกว่าเราไม่มีตัวไม่มีตนคะ

ลองสังเกตง่ายๆว่า แม้แต่อวัยวะต่างๆของร่างกายก็ไม่มีอวัยวะส่วนใดมีชื่อว่าตัวเรา เช่น จมูกก็มีชื่อว่าจมูก แขน ก็มีชื่อว่าแขน อวัยวะทุกส่วนล้วนถูกสมมุติชื่อให้ หากได้ปฏิบัติธรรมภาวนาแล้ว จะสามารถเอกซเรย์ภายในตัวเรา ได้ด้วยสติ สมาธิ และปัญญา แล้วจะพบว่า ตัวเรานั้น เป็นองค์ประกอบของกายส่วนหนึ่ง ใจส่วนหนึ่ง และตัวเรา อีกส่วนหนึ่ง เมื่อพิจารณาต่อไปเรื่อยๆจะพบว่าตัวเราเป็น องค์ประกอบของขันธ์5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เมื่อแยกพิจารณาต่อไปอีกจะพบว่า ในแต่ละ รายละเอียดของขันธ์ทั้งห้านั้นสามารถแตกย่อยลงไปได้เรื่อยๆ จนในท้ายที่สุดคือ อนัตตา ได้แก่ ความว่างเปล่า

คําว่าตัวตน ตัวจริง ตัวแท้ที่เคยเข้าใจนั้นไม่มีสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้นมาประชุมกันเพียงชั่วคราว เพื่อทํากิจทําหน้าที่ แล้วสุดท้ายก็จะสลายไป เหลือเพียง จิตที่ตื่น จนก่อให้เกิดปัญญา

สําหรับคนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรม ต่อให้อธิบายสักกี่ครั้งว่า อัตตาเป็นสิ่งที่ไม่มีแต่แรก หรืออธิบายต่อเนื่องยาวนาน สักเท่าไร เขาก็จะไม่เข้าใจ ต่างจากคนที่ปฏิบัติธรรมที่จะ สามารถเข้าได้โดยง่าย หรืออาจเข้าใจได้เอง

 

หากได้ศึกษาธรรมะจนเข้าใจเรื่องอัตตาอย่างถ่องแท้แล้วแต่เกิดความคิดว่าจะสร้างสรรค์สิ่งใดๆไปเพื่ออะไร ทําไปก็ไร้ประโยชน์ เพราะสุดท้ายก็คือความว่างเปล่า ไม่มีอะไรไม่มีตัวตนอยู่ดี การคิดเช่นนี้ถูกต้องไหมคะ

ความคิดเช่นนี้คือ มิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท นั่นคือ หากสําเร็จประโยชน์ส่วนตน ด้วยการปฏิบัติธรรม โดยไม่ทุกข์ได้แล้ว แต่ไม่บําเพ็ญ ประโยชน์ให้กับมหาชน ถือว่าเสียชาติเกิด ยังประมาทอยู่เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนมีบุญคุณต่อเขา เขายังติดหนี้บุญคุณ ธรรมชาติอยู่ แม้กระทั่งสายลม แสงแดด ธรรมชาติครอบครัว ประเทศชาติ รวมถึงทั้งโลกล้วนมีส่วนช่วย อุปการะสนับสนุนให้เขาอยู่รอดปลอดภัยได้จนถึงทุกวันนี้

อาจะรู้สึกว่า ตนสําเร็จประโยชน์ส่วนตน ด้วย การปฏิบัติธรรม ถึงขั้นเข้าใจอัตตาเรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นหรอก เขาเพียงคิดตู่ขึ้นเอง หากปฏิบัติตามหลักธรรมคําสอนที่แท้จริงแล้ว จะไม่เกิดความรู้สึกเฉยชาเช่นนี้ แต่จะเกิดความรู้สึก ต้องการสร้างประโยชน์ต่อมหาชน เพื่อตอบบุญแทนคุณ ต่อธรรมชาติ ต่อโลก และต่อทุกสรรพสิ่งอีกด้วย

 

ผู้ที่ลดละอัตตาได้โดยสิ้นเชิงมีเพียงพระอรหันต์เท่านั้นหรือคะ

ใช่แล้ว พระอรหันต์เท่านั้นที่จะมีสภาพอนัตตา ไร้ตัวตน ไร้ความสําคัญมั่นหมายได้จริงๆ นอกนั้นเป็นเพียงสามารถ เห็นผิดหรือเห็นถูกได้เท่านั้น แต่จะยังคงมีอัตตาหลงเหลืออยู่

 

ในเมื่อเป็นการยากที่มนุษย์เราจะสามารถลดละอัตตาได้โดยสิ้นเชิง แล้วมนุษย์จะต้องคิดอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้อัตตาเข้ามามีอํานาจในชีวิตมากเกินไปล่ะคะ

ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ของเราหรือของใคร ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้น แค่เพียงชั่วคราว เราควรใช้อัตตาตัวตนในทางที่ถูกที่ควร ใช้ในการรังสรรค์สิ่งที่ดีให้เกิดขึ้น ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น หมั่นทําความดีไปเรื่อยๆ อาจจะติดในความดีบ้าง ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรให้ติดเพราะถ้าไม่ได้ติดอะไร ก็อาจจะไม่ทําอะไรเลยกลายเป็นคนเฉยเมยใช้ชีวิตแบบปล่อยปละละเลยใครจะเป็นอะไรไม่สนใจ จนกลายเป็นพวกเหม่อลอย เช้าชามเย็นชาม

 

หากบริหารจัดการอัตตาได้ สามารถนําอัตตาไปก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยไม่ตกเป็นทาสของอัตตา หรือจ่อจมอยู่ในกองทุกข์ ก็จะได้ชื่อว่าเป็น“ผู้ฉลาดในการบริหารกิเลส”แล้ว

 

ที่มา : นิตยสาร Secret ฉบับที่ 90

เรื่อง : พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เรียบเรียง : บุญหนัก


บทความน่าสนใจ

Dhamma Daily : เหตุใดพุทธศาสนาจึงสอนให้คนไม่ควรมี อัตตา

ตัณหา เวลา อัตตา ฟิสิกส์! โดย ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร

เอส กันตพงศ์ บำรุงรักษ์ จากเด็กเกเรอารมณ์ร้อน ป่วยเป็นไมเกรนและไฮเปอร์เวนติเลชั่นหายได้ด้วยธรรมะ

ยิ่งให้ ยิ่งได้

ครูทั้ง 6 ลัทธินอกศาสนาร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.