พระพุทธเจ้าทรงบอกความกระจ่างแก่สิงคาลมาณพว่า “การที่บิดาให้เธอไหว้ทิศทั้ง 4 ไหว้ท้องฟ้า และพื้นดิน มีนัยว่า การไหว้ทิศตะวันออก หมายถึงต้องแสดงความเคารพต่อบุพการี ได้แก่ บิดามารดา เป็นต้น ทิศใต้ หมายถึงต้องแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ ผู้ให้วิชาความรู้ ทิศตะวันตก หมายถึงต้องถะนุถนอมเลี้ยงดูบุตรและภรรยาหรือสามี ทิศเหนือ หมายถึงต้องแสดงความเคารพต่อญาติและมิตรสหาย ทิศเบื้องบน หรือท้องฟ้า หมายถึงต้องแสดงความเคารพต่อบุคคลผู้ประเสริฐ ได้แก่ นักบวช สมณชีพราหมณ์ทั้งหลาย ส่วนทิศเบื้องล่าง หรือผืนดิน หมายถึงเมตตาต่อสรรพสัตว์หรือคนผู้อยู่ต่ำกว่าเรา นี่คือความหมายที่แท้จริงที่บิดาต้องการบอกให้เธอปฏิบัติ”

ไม่เท่านั้นพระพุทธองค์ทรงเมตตาอธิบายหลักการปฏิบัติต่อบุคคลในทิศทั้ง 6 และเรื่องการดำรงชีวิตต่าง ๆ แก่ชายหนุ่มผู้นี้ เช่น ศีล 5 ความมีฉันทะในการทำงาน หลักการสะสมและรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ่เช่น ใช้ทรัพย์เพียง 1 แล้วรักษาทรัพย์เพียง 4 ส่วน สำหรับการเลี้ยงดูบุพการี ครอบครัว การค้าขาย ช่วยเหลือผู้อื่น และสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน
สิงคาลมาณพได้ทราบว่าผู้ที่ตนกำลังสนทนาตอนนี้คือพระพุทธเจ้า จึงขอขมาที่อาจล่วงเกินพระองค์ไป และน้อมรับคำสอนเรื่องทิศ 6 และการดำรงชีวิตในเส้นทางที่ถูกต้องนำมาปฏิบัติจนกว่าชีวิตจะหาไม่
ทิศ 6 เป็นคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ เป็นพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่ทรงขจัดความงมงายในพิธีกรรมออกไป ให้กลายเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดผลได้จริง คติการไหว้ทิศของสิงคาลมาณพสะท้อนความเชื่อในการอาศัยพิธีกรรมเพื่อให้ตนปลอดภัยจากอันตรายที่อาจมาจากทิศต่าง ๆ แต่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะว่าการทำตนด้วยกุศลโดยอยู่บนศีลธรรมกับคนรอบข้าง เช่น บุพการี ครูบาอาจารย์ คนในครอบครัว ญาติมิตรสหาย นักบวช และผู้ที่ต่ำด้อยกว่า เป็นเกราะป้องกันภัยที่ดีที่สุด
ที่มา
พุทธประวัติสำหรับนักศึกษา แปลโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
สามารถศึกษาเรื่องสิงคาลมาณพอย่างละเอียดลึกซึ้งได้ที่ สิงคาโลวาทสูตร
ภาพ
บทความน่าสนใจ
Dhamma Daily : ปาฏิหาริย์ในพุทธประวัติมีจริงหรือ
จัดสวนสวยด้วย 8 พรรณไม้ในพุทธประวัติ
พุทธศาสนาคือศาสนาแห่งความสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
หญิงที่คิดมุ่งร้ายต่อพระพุทธเจ้าไม่ได้มีเพียงแต่นาง จิญจมาณวิกา เท่านั้น
เหตุผลที่พระเทวทัตเกลียดพระพุทธเจ้าตั้งแต่แรกพบ
พระพุทธเจ้าในภาษาคนภาษาธรรม ถอดอัตตาให้ไปสู่วิมุตติ
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แห่งสวนโมกข์ ความงดงามที่ทำให้เจริญในธรรม