งานล้นมือ

งานล้นมืออย่างไร ก็แบ่งเวลาได้ ไม่ไช่เรื่องยาก

งานล้นมือ อย่างไร ก็แบ่งเวลาได้ ไม่ไช่เรื่องยาก

การที่เราคิดตั้งต้นไว้แต่แรกว่า ” งานล้นมือ ” ก็ไม่ต่างจากการก่อกำแพงปิดกั้นศักยภาพการพัฒนาของตนเอง เราจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องทลายกำแพงนี้ออก เพื่อให้ความพยายามที่ดีได้เกิดขึ้น ดังนั้นการที่จะเอาตัวเองออกจากกองงานที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแบ่งเวลาให้เป็น เพื่อไม่ให้งานเหล่านั้นเข้ามาแทรกอยู่ในลมหายใจของเราตลอดเวลา

หลายคนอาจสงสัยว่า หากจะบอกว่า สิ่งที่จัดการกับงานที่ล้นมือได้คือ “การหยุดพัก” อย่าได้ตีตนไปก่อนไข้ว่า ถ้าหยุดพักแล้วงานจะไม่เสร็จ งานที่ค้างไว้จะไม่เดิน ขอให้ฟังก่อนแล้วค่อยพิจารณาว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้หรือไม่

คุณฮิโรคาซึ ยามานาชิ เจ้าของหนังสือเรื่อง “ทำมากเหนื่อยฟรี ทำถูกวิธีไม่เหนื่อยเลย” ได้บอกวิธีการแบ่งเวลาสำหรับคนที่งานล้นมือว่า ตอนเขาทำงานอยู่ที่แมคคินซีย์ รุ่นพี่จะสอนพนักงานรุ่นน้องว่า การหยุดพักนั้นช่วยได้ ซึ่งเขาเรียกว่า “กำหนดเวลาวางมือ

 

งานล้นมือ
ภาพจาก www.pexels.com

 

กำหนดเวลาว่างมือสำหรับพนักงานที่แมคคินซีย์คือ การที่เราทำงานไปแล้วเริ่มมองหาว่า เราจะทำงานชิ้นนี้เสร็จตอนไหน หลังจากเสร็จแล้วก็จะพักหลังจากนั้น เช่น เขียนแผนการประชุม ใช้เวลา 1 ชม. เริ่มทำตอน 13.00 น่าจะเสร็จตอน 14.00 เราจะพักนิดนึงแล้วเริ่มทำงานอื่นต่อตอน 14.30 หรืออาจจะพักสั้นกว่านั้นก็ได้ หากคิดว่าถ้ามากไปอาจกระทบต่องานอื่นที่กำลังจ่อคิวเข้ามา

หากเปรียบเทียบการทำงานที่มีงานกองสุมเป็นภูเขาเหล่ากา จนต้องเลยเวลางานกับการเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด แต่เราต้องติดอยู่บนท้องถนนที่รถทุกคันมุ่งไปเที่ยวในที่เดียวกันกับเรา (คุณพระช่วย) หากเปรียบเทียบแบบนี้หลายคนอาจคิดว่าเป็นสถานการณ์เดียวกับเราเลย เพราะการทำงานทั้งหมดให้เสร็จตามกำหนดนั้น กว่าจะไปถึงงานชิ้นสุดท้าย (น้ำตาแทบจะไหล) คงเป็นอารมณ์เดียวกัน มีหลายคนที่ต้องทำงานจนเลยเวลา ถึงเวลาเลิกงานแล้วก็ยังต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แทนที่จะได้กลับบ้านแล้วนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์เพื่อชมละครเรื่องโปรด (น่าเศร้าจัง)

ดังนั้นการแก้ปัญหางานล้นมือ หรือกองงานยักษ์ที่ดีที่สุดคือการหาวิธีการทำงานให้เร็วขึ้น และหาทางลัดเพื่อให้ตัวเองสามารถออกไปจากกองงานนี้ให้ไวที่สุด ไม่ต่างจากการที่เรามีเครื่องนำทาง (GPS) ช่วยให้เราพบเส้นทางใหม่ที่อาจจะอ้อมไปหน่อย แต่ก็ช่วยให้เราหนีปัญหารถติดไปได้ และไปถึงจุดหมายปลายทาง เพื่อให้เราได้มีเวลามีความสุขกับการท่องเที่ยวได้มากขึ้น

เคล็ดลับของคุณฮิโรคาซึ ยามานาชิแชร์มานี้ทำให้เราสามารถหาเวลาพักได้คือ อย่างน้อยหลังเสร็จงานหนึ่งชิ้นควรที่จะพักนิดนึง แต่ควรเป็นระยะเวลาที่สั้น เพื่อไม่ให้ไปกระทบงานชิ้นอื่น กับการทำงานให้เร็วขึ้น เพื่อให้เราเลิกงานกลับไปพักผ่อนและมีช่วงเวลาที่มีชีวิตเป็นของเราเอง

ที่มา : ทำมากเหนื่อยฟรี ทำถูกวิธีไม่เหนื่อยเลย โดย ฮิโรคาซึ ยามานาชิ

 ภาพ :  www.pexels.com


บทความน่าสนใจ

กำจัดความเหนื่อยล้ากับชีวิตที่บัดซบด้วยการพูดเชิงบวกกันเถอะ

วางแผนหลังเกษียณ ออมเงินอย่างไรให้มีเงินใช้ไม่ลำบากในบั้นปลาย 

ทำงานได้อย่างมด และมีความสุขได้อย่างตั๊กแตน นิทานอีสปสะท้อนความสุขกับปัจจุบัน

ทำไมคนที่รู้จักปรับตัวจึงเป็นคนที่มีความสุข

มาจัดการกระเป๋าเงิน ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นกันเถอะ

โต๊ะทำงานวัดประสิทธิภาพของการทำงานได้อย่างไร

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.