แม้แต่ บาดแผลทางใจ ก็เปลี่ยนให้เป็นอาวุธได้
ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ควรเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรม และต้องทำทันที่แม้จะเป็นเพียงแค่เรื่องเดียวก็ตาม ฟังดูเหมือนง่าย แต่บางคนยังทำไม่ได้
“ถึงจะพูดแบบนี้ แต่ฉันก็ยุ่งจนไม่มีเวลาเริ่มทำอะไรใหม่แล้ว”
“คนรอบข้างไม่เข้าใจหรอก ฉันคงทำไม่ได้แน่”
“ฉันเป็นพวกขี้ขลาด”
บางคนมักหาข้ออ้างที่จะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
แต่นั่นเป็นวิธีคิดที่ผิด ไม่ใช่เพราะมีข้ออ้างจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เพราะไม่อยากเปลี่ยนจึงเปลี่ยนไม่ได้ต่างหาก ความเปลี่ยนแปลงทำให้รู้สึกกังวลและยังต้องใช้ความพยายามมาก ทำให้อยากหลีกหนีจากความรู้สึกเหล่านั้น แต่ถ้าคิดว่า “ฉันเป็นได้แค่นี้” ก็เป็นความรู้สึกที่กระทบกับศักดิ์ศรีในใจ คนเราจึงหา “ข้ออ้างที่อยากเปลี่ยน แต่เปลี่ยนไม่ได้” เรื่องนี้อธิบายได้ด้วยหลักจิตวิทยาของอัลเฟรด แอดเลอร์ ในหนังสือขายดีอย่าง “กล้าที่จะถูกเกลียด”
ลักษณะเด่นของหลักจิตวิทยาของอัลเฟรด ผู้ได้รับการยกย่องเทียบเท่ากับนักจิตวิทยาชื่อดังอย่างซิกมุนต์ ฟรอยด์ และคร์ล จุง คือทฤษฎีเป้าหมาย จิตวิทยาของฟรอยด์และจุงคือ ทฤษฎีจิตวิทยาเชิงเหตุและผลที่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตซึ่งเป็นตันเหตุขออารมณ์ในปัจจุบัน เรียกได้อีกอย่างว่า “จิตวิทยาเรื่องอดีต” ส่วนทฤษฎีเป้าหมายของแอดเลอร์ เป็น “จิตวิทยาการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน” ไม่สนใจอดีต คิดแค่เรื่องในปัจจุบันกับอนาคต
การจะหลุดมาจากตรงนั้นได้คือวิธีคิดถึง “จิตวิทยาการใช้” แนวคิดหนึ่งของจิตวิทยาแบบแอดเลอร์มองว่า อารมณ์เป็นเครื่องมือ ไม่ว่าจะดีใจ โกรธ หรือเศร้าใจ อารมณ์ล้วนเป็นความรู้สึกที่แสดงออกไปตามแต่ละสถานการณ์ เช่น เวลาโกรธจนต่อยคนอื่น ฟรอยด์กับจุงจะมองว่าอารมณ์โกรธเป็นตัวการสำคัญที่ผลักดันให้คุณทำร้ายคนอื่น แต่แอดเลอร์จะมองว่า เราสร้างอารมณ์โกรธขึ้นมาเพื่อต่อยฝ่ายตรงข้ามต่างหาก
จิตวิทยาการใช้ตีความเรื่องอารมณ์ว่า จริง ๆ แล้วก็มีวิธีโน้มน้าว หรือพูดคุยกับฝ่ายตรงข้ามเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ยุ่งยาก จัดการด้วยกำลังง่ายกว่า จึงสร้างอารมณ์โกรธขึ้นมาเป็นเครื่องมือ แนวคิดนี้แสดงให้เห็นว่า คนที่ “ไม่เริ่มลงมือทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองเพราะรู้สึกกลัวและกังวล” นั้น ตัวเขาเองไม่อยากเปลี่ยนแปลง จึงใช้อารมณ์ “กลัว” หรือ “กังวล” เป็นข้ออ้าง เช่นเดียวกัน ความคิดว่า “เคยมีบาดแผลทางใจเรื่องปฏิสัมพันธ์ในอดีตจึงกลัวการติดต่อกับผู้อื่น” จิตวิทยาของแอดเลอร์จะตีความว่า คนคนนั้นไม่อยากถูกคนอื่นปฏิเสธ หรือตัดสัมพันธ์ จึงใช้ปมทางใจมาเป็นข้ออ้างในการหลีกเลี่ยงที่จะสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น นั่นคือ ไม่ได้มองว่าอารมณ์ในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากบาดแผลทางใจในอดีต แต่มองว่าเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในอนาคต
เช่น ผมมีบาดแผลทางใจเกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในอดีตมาก จนมักถูกรังแกและถูกคนอื่นตั้งแง่รังเกียจมาโดยตลอด แต่ผมก็ไม่ได้พยายามหลบเลี่ยงความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผมมีบาดแผลทางใจจากคนอื่นจนกลายเป็นปมด้อยก็จริง แต่นี่ก็เป็นเหตุผลที่ผมอยากเข้าใจจิตใจ พยายามเรียนรู้ และกระตือรือร้นที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผลลัพธ์นั้นทำให้ผมป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจในปัจจุบัน
คนที่แสดงออกในแง่ลบว่าตัวเองถูกแกล้งจึงกลายเป็นโรคกลัวคน ตัวเองยากจนจึงเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ คือคนที่ยึดติดกับทฤษฎีเชิงเหตุและผล ในขณะที่อีกคนโดนกลั่นแกล้งอย่างหนัก จึงพยายามหาวิธีมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดีกว่านี้ หรือมีชีวิตลำบากเพราะความยากจน จึงพยายามกัดฟันเพื่อเป็นเศรษฐีให้ได้ แม้จะมีบาดแผลหรือต้องผชิญกับความลำบากในอดีต เราก็ใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องมือในการปลี่ยนแปลงตัวเองได้ นี่คือการแผ้วถางเส้นทางสู่อนาคตด้วยทฤษฎีเป้าหมาย
ที่มา : แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต โดย Mentalist DaiGo สำนักพิมพ์อมรินทร์ฮาวทู
ภาพ : www.pexels.com
บทความน่าสนใจ
คนแพ็กหนังสือ อาชีพที่มอบโอกาสให้กับอดีตนักโทษหญิง
หนูน้อยอดีตผู้ป่วยมะเร็งขอรับบริจาคของเล่นในวันเกิดเพื่อนำไปให้เด็กป่วย
ยางลบชีวิต : ความสะบักสะบอมของชีวิตกับเรื่องในอดีตที่อยากลืม