ล้มเหลว บ่อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
ล้มเหลว บ่อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งค้นพบ “ความถนัด” ของตัวเองมากขึ้นเท่านั้น ใครที่ได้ฟังคำพูดประโยคนี้ อาจจะรู้สึกสงสัยว่า จริงเหรอ? ความล้มเหลวบ่อยๆ นี่มีแต่จะสร้างความรู้สึกทุกข์ใจ ไม่สบายใจเท่านั้นหรือเปล่า การล้มเหลวบ่อยๆ นั้นมีข้อดีแฝงอยู่ด้วยเหรอ หากคุณกำลังลังเลสงสัยถึงข้อดีของ “ความล้มเหลว” นี่คือบทความที่คุณไม่ควรพลาดค่ะ!
::: ต้องล้มเหลวให้ครบ 40 ครั้ง จึงจะเข้าใจตัวเอง :::
หากคุณคือคนหนึ่งที่ ล้มเหลว จนรู้สึกเหนื่อยล้า ผิดหวัง ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง อยากให้คุณได้ลองพูดคุยกับคุณชิระ แอน นักจิตวิทยาการให้บริการปรึกษา (Counseling Psychologist) แห่งญี่ปุ่นที่กล่าวว่า คนเราต้องล้มเหลวให้ถึง 40 ครั้งเสียก่อน หรือ ที่เรียกว่า “Magic40” เราจึงจะค้นพบความถนัดของตัวเอง
คุณชิระ กล่าวว่า ถ้าล้มเหลวถึง 40 ครั้ง แล้วยังไม่สำเร็จอีก ถึงจะทราบว่า มันไม่ใช่เส้นทางของเรา เราควรเปลี่ยนไปเดินเส้นทางสายใหม่
เพราะหนทางสู่ความสำเร็จไม่ใช่เส้นตรงอันราบเรียบ แต่ขึ้นๆ ลงๆ สั่งสมด้วยความล้มเหลวมากมาย
::: หนทางแห่งความสำเร็จ ไม่ได้ราบเรียบ แต่ขรุขระ และเต็มไปด้วยอุปสรรค :::
ความพยายามไม่สิ้นสุด และความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ทางจิตวิทยา เราเรียกมันว่า “เส้นโค้งแห่งความสำเร็จ” (success curve) ซึ่งก็ไม่ใช่เส้นตรงที่ราบเรียบ สวยงาม แต่มันเป็นเส้นหัก (broken line) ที่ขรุขระ ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้เรารู้สึกเหนื่อยกับการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ สิ่งที่เราต้องทำก็คือ การจัดสินใจให้แน่วแน่ แล้วออกเดินทางสู่เส้นทางที่เป็นของเรา
::: ยิ่งล้ม ยิ่งเยอะประสบการณ์ :::
ความล้มเหลวที่สั่งสมมาตลอด จะแปรเปลี่ยนเป็นความสามารถ นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้นักเรียนที่สอบตกในครั้งแรก เร่งพัฒนาตัวเองจนสามารถสอบผ่านได้ในการสอบซ่อมได้ในที่สุด
สิ่งที่เราควร “ทำทันที” เมื่อพบกับอุสรรค และความล้มเหลว คือ
- วิเคราะห์ว่าเราทำอะไรไป ถึงทำให้ล้มเหลว
- หยุดอารมณ์ไม่พอใจเอาไว้
- แก้ไข ปรับปรุงในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดไป
เมื่อทำเช่นนี้ เราก็จะเกิดความมั่นใจเต็มเปี่ยม ยิ่งล้มเหลวบ่อย ความสามารถที่มีก็จะยิ่งเพิ่มพูนโดยที่เราเองไม่รู้สึกตัว แม้จะยากและลำบาก แต่หากเราสามารถผ่านกระบวนการนี้ไปได้ จุดจุดหนึ่งของเส้นโค้งแห่งความสำเร็จก็จะพุ่งพรวด ดังคำกล่าวที่ว่า “ความล้มเหลวคือมารดาแห่งความสำเร็จ” จึงไม่ใช่คำพูดที่เกินจริงไปนัก
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากหนังสือ “สมองหายล้า ชีวิตก็หายเหนื่อย” – Short Cut
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- 5 สิ่งที่เราควรทิ้งไว้กับปีเก่า แล้วเริ่มต้นใหม่อย่างมีความสุข
- วิธีเลิกเครียด เค้าทำกันยังไง ? เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยปลดปล่อยตัวเอง
- 8 ข้อควรใช้ บอกตัวเอง เมื่อเริ่มรู้สึกว่าไม่โอเค
- 6 วิธีช่วย ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างบาลานซ์ให้กับตัวเอง
- 8 กิจวัตรประจำวัน ช่วยปรับปรุง ดูแลสุขภาพจิต ไม่ให้จิตตกก่อนหมดปี
- 5 นิสัยที่ควรมี และต้องทำให้เคยชิน ตั้งแต่เริ่มต้นวันใหม่