โรคซึมเศร้า

รู้ไว้ไม่เสียหาย! 7 วิธีที่ทำให้คนวัยทำงานห่างไกลจาก “โรคซึมเศร้า”

รู้ไว้ไม่เสียหาย! 7 วิธีที่ทำให้คนวัยทำงานห่างไกลจาก “โรคซึมเศร้า”

จากผลสำรวจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่าคนไทยกว่า 1.5 ล้านคน ป่วยด้วย “โรคซึมเศร้า” และส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน โดยผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชายถึง 1.7 เท่า แต่ที่น่ากังวลที่สุดก็คือผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งต่างไม่ทราบว่าตนเองกำลังป่วย และอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจและการชีวิตตามมา

โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจาก ด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ เช่น สารเคมีในสมองไม่สมดุล การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายบางอย่าง รวมไปถึงการใช้สารเสพติดหรือยาบางประเภท ก็ทำให้มีอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ส่วนด้านจิตใจ เช่น ทักษะการปรับตัวต่อปัญหา การจัดการความเครียด และบุคลิกภาพ นอกจากนี้ คือ ปัจจัยด้านสังคม เช่น มีการสูญเสีย คนใกล้ตัวมีความเครียด หรือมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง แล้วเราจะมีวิธีดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดให้ห่างไกลจากโรคเศร้าได้อย่างไร? วันนี้เรามี 5 วิธีดี ๆ มาฝากกัน

โรคซึมเศร้า

1.เลือกทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิ

เลือกทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิผ่อนคลายจิตใจ และสร้างความรู้สึกให้ดีขึ้น อาทิ การฝึกโยคะ การเลือกชมภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิง หรือเลือกทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมร่วมกับผู้อื่น

2.ปรับเปลี่ยนความคิดแบบเดิม ๆ

ปรับเปลี่ยนความคิดแบบเดิม ๆ เพิ่มพลังบวกให้กับตนเอง และฝึกให้เป็นคนมองโลกในแง่ดี

3.พยายามแยกแยะปัญหา

พยายามแยกแยะปัญหาใหญ่ ๆ ให้กลายเป็นส่วนย่อย ๆ พร้อมทั้งจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อน-หลัง และเริ่มลงมือทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป

4.อย่าบังคับตนเอง

อย่าบังคับตนเองหรือตั้งเป้าหมายในชีวิตจนเกินขีดความสามารถ เพราะอาจนำไปสู่ความล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ และรู้สึกสิ้นหวังได้ในอนาคต

5.เลือกรับประทานอาหารที่มีสารซึ่งช่วยผ่อนคลายความเครียด

เลือกรับประทานอาหารที่มีสารซึ่งช่วยผ่อนคลายความเครียด อาทิ ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) และไทโรซีน (Tyrosine) ที่เราสามารถพบได้ในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อไก่, นม, โยเกิร์ต, ชีส และธัญพืช

6.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายช่วยต้านโรคซึมเศร้า ได้ เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับสารเคมีเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมอง รวมถึงเพิ่มการหลั่งสารเอนดอร์ฟีนที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้น แถมยังช่วยให้สุขภาพด้านอื่น ๆ ดีขึ้นด้วย

7.ระบายความรู้สึก

หาวิธีปลดปล่อยความรู้สึกเศร้า โกรธ ผิดหวัง หรือเสียใจออกมา เพราะอาการซึมเศร้ามักเกิดจากการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้ เราทำได้โดยการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ ตะโกน หรือร้องไห้ออกมาดัง ๆ หรือเขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก

โรคซึมเศร้า

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.