Q: การที่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์หรือการุณยฆาตเพื่อการศึกษาเป็นบาปไหม ศีลจะขาดหรือไม่

ถาม

การที่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์หรือการุณยฆาตเพื่อการศึกษาเป็นบาปไหม ศีลจะขาดหรือไม่

ตอบ

การฆ่าไม่ว่าจะ ฆ่า แบบไหนถือว่าเป็นการพรากชีวิตของสัตว์อื่น ล้วนเป็นบาปกรรมทั้งสิ้น ศีลจะขาดหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ กล่าวคือ สัตว์นั้นมีชีวิต  รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต มีจิตคิดจะ ฆ่า มีความพยายามฆ่า และสัตว์นั้นตายหาก ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้ ถือว่าศีลข้อที่ 1 ขาดทันที

ส่วนจะบาป มากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือตัวแปรคือ สัตว์นั้นมีคุณหรือมีโทษ ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ มีความพยายามในการ ฆ่า มากน้อยแค่ไหน เจตนาที่มุ่ง สังหารนั้นโหดร้ายทารุณอย่างไร หากสัตว์นั้นมีแต่โทษ เป็นสัตว์ตัวเล็กทำให้ มีความพยายามในการฆ่าน้อย จิตเจตนาในการสะสมการฆ่านั้นก็ไม่มากและรุนแรง  บาปกรรมนั้นก็ไม่มาก แต่หากสัตว์นั้นมีคุณประโยชน์ เป็นสัตว์ตัวใหญ่ ต้องใช้ความพยายามในการ ฆ่า มาก จะทำให้จิตเจตนาสะสมความโหดร้ายทารุณมากตามไปด้วย

อีก มุมหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอคือ ศีลกับธรรม หรือเบญจศีลและเบญจธรรม  บางทีขาดศีลแล้วรักษาธรรม บางทีรักษาศีลแล้วสลัดธรรมโดยจับกันเป็นคู่ ๆ คือ  ฆ่า สัตว์กับมีเมตตากรุณา ลักขโมยของคนอื่นกับสัมมาอาชีวะ นอกใจคู่ครองหรือ ละเมิดเรื่องเพศกับกามสังวร มิจฉาวาจากับสัมมาวาจา ดื่มของมึนเมากับมีสติ สัมปชัญญะ ผู้ปฏิบัติธรรมบางทีก็ต้องเลือกเอาระหว่างข้างใดข้างหนึ่ง หรือ เลือกทั้งสองข้าง แต่ความหนักเบาต่างกัน

 

ดร.พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต : พระอาจารย์ผู้ไขปัญหา


หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทางธรรม สามารถส่งคำถามมาได้ที่

นิตยสาร Secret คอลัมน์ Dhamma Daily หรือ dhammadaily2015@gmail.com

Posted in MIND
BACK
TO TOP
A Cuisine
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.