รู้จักยอมรับ “ ความโง่ ” ของตัวเราเอง
โสกราตีส (Socrates) นักปรัชญาสมัยกรีกโบราณ กล่าวถึง “การตระหนักถึง ความไม่รู้” เอาไว้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย สิ่งเดียวที่ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย” เพราะการยอมรับ หรือตระหนักว่าตัวเรา “ไม่รู้” หรือ ตัวเรามี “ ความโง่ ” อยู่ เป็นการกระทำที่กล้าหาญ และมีผลดีต่อตัวเราเอง
ความไม่รู้ไม่ใช่สิ่งที่น่าอาย
เหตุแรกแรก เพราะทุกคนต่างเริ่มต้นจาก “ความไม่รู้” ด้วยกันทั้งนั้น เหตุผลที่สอง คือ ไม่ว่าเราจะเรียนรู้มากแค่ไหน ก็ไม่มีทางหลุดพ้นจากกรอบของ “ความไม่รู้” ได้ ต่อให้เป็นคนแก่งระดับดอกเตอร์ เขาก็รู้เพียงศาสตร์แขนงที่ตัวเองวิจัย แต่ไม่อาจเข้าใจในเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากแขนงที่ตัวเองวิจัยได้ ดังนั้นสิ่งที่เราไม่รู้บนโลกนี้จึงมีมากมาย ไม่มีที่สิ้นสุด ต่อให้เราจะคิดว่า เรารู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีแล้ว วันหนึ่ง ความรู้นั้นก็อาจจะล้าสมัย หรือ เปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะฉะนั้น การไม่รู้จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หรือ เรื่องที่น่าอายเลย
อย่ากลัวที่จะยอมรับว่าตัวเรา “ไม่รู้”
ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน การแกล้งทำเป้นรู้ ทั้งๆ ที่ตัวเราไม่รู้นั้น ไม่ส่งผลดีต่อใครเลย ดังนั้น หากเรายังมีสิ่งที่ไม่รู้อยู่ เราก็ควรที่จะเรียนรู้ให้มากขึ้น เพื่อที่ความไม่รู้ หรือ ความโง่ของเรานั้น จะแปรเปลี่ยนเป็นความรุ้ และ ความฉลาดในสักวันหนึ่ง
ทำไมเราจึงควรตระหนักถึงสิ่งที่เรา “ไม่รู้”
เรามักหลอกตัวเอง ว่าเรารู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ และมั่นใจเสมอว่าสิ่งที่เราแสร้งว่ารู้ คือ “สิ่งที่รู้”
โอกาสในการเรียนรู้ของเราจะหายไปทันที เมื่อเราคิดว่าเรารู้แล้ว เพราะเมื่อเราคิดว่าตัวเราฉลาด เราก็จะไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้อะไรอีกต่อไป
เราควรตระหนักว่า มีสิ่งที่เราไม่รู้อยู่ เพื่อที่เราจะสามารถเรียนรู้เพิ่มเติม อุดช่องโหว่ แก้ไขความไม่รู้นั้น
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากหนังสือ “เป็นคนเก่ง ไม่ต้องรู้มาก แต่ต้องรู้จริง” – Amarin How-to
Goodlife Update
บทความเพิ่มเติมที่น่าสนใจ
- 4 วิธีใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ได้ง่ายๆ แค่ปรับ Mindset
- 30 ไอเดีย เป้าหมายสุขภาพ ที่อยากทำให้ได้ในปี 2020 นี้
- 6 ไอเดีย ใช้แทนพลาสติก รักโลก แถมยังรักตัวเองด้วย!
- 5 Application นับแคลอรี่ กินไปเท่าไหร่ก็คำนวณได้ง่ายๆ เอาใจคนรักสุขภาพ
- รวม 15 ไอเดีย แต่งตัว แฟชั่นผ้าTWEED ตามสาวเจนนี่ BLACKPINK
- 9 ไอเท็ม แต่งโต๊ะทำงาน สร้างบรรยากาศดีๆ ให้น่าอยู่