เอกซเรย์ : คู่มือเตรียมตัวก่อนไปตรวจร่างกาย
เอกซเรย์คืออะไร
เอกซเรย์ (X-rays) เป็นคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับใช้ในการสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ภายในร่างกาย รังสีเอกซ์ มีความยาวคลื่นสั้นมาก ขณะที่เริ่มทำการเอกซเรย์ รังสีจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่ในร่างกายในปริมาณที่แตกต่างกัน ตามโครงสร้างของเนื้อเยื่อร่างกาย
เช่น กระดูกมีความหนาแน่นสูงจะสามารถดูดซับรังสีเอกซ์ได้ดี แต่ในขณะเดียวกันเนื้อเยื่ออ่อน (ผิวหนัง, ไขมัน, กล้ามเนื้อ) รังสีเอกซ์สามารถผ่านได้ง่ายดาย ผลที่ได้คือเงาของการเอกซเรย์ ( X-ray) กระดูกบนฟิล์ม หรือหน้าจอภาพจะปรากฏเป็นสีขาว ในขณะที่เงาของเนื้อเยื่ออ่อนจะปรากฏเป็นสีเทาหลายเฉด
นอกจากนี้แล้วยังมีการฉายรังสีในรูปแบบอื่นอีกด้วย กล่าวคือ ก่อนทำการเอกซเรย์ผู้ป่วยจะได้รับสารเคมีที่เรียกว่า “คอนทราสต์” เพื่อช่วยให้ส่วนต่างๆของร่างกายปรากฏเด่นชัดบนฟิล์มเอกซ์เรย์หรือจอภาพมากขึ้น โดยผู้ป่วยต้องกิน กลืน สวน หรือฉีดสารเคมีเข้าสู่หลอดเลือดดำ เพื่อทำให้เกิดภาพที่มีความคมชัดมากขึ้น ขณะทำการเอกซเรย์ ซึ่งจะปรากฏเป็นสีขาวบนฟิล์มเอกซเรย์ X-ray เช่น ทางเดินอาหาร และหลอดเลือด
อย่างไรก็ตามการเอกซเรย์นั้นรังสีเอกซ์ ไม่ได้ทำให้เกิดความเจ็บปวด มีเพียงเเต่อาการไม่สบายเล็กน้อยบ้าง แล้วเเต่บุคคล ยกเว้นอาจจำเป็นต้องฉีด หรือสวนสารเคมีก่อนทำการเอกซเรย์ อาจมีอาการเจ็บแผลที่ฉีดบ้าง
ระยะวลาการเอกซเรย์แต่ละครั้งใช้เวลาน้อยมาก ประมาณ 1 นาที หรือหากมีกระบวนการเพิ่มเติมต้องฉีดหรือกินสารเคมีก่อน อาจใช้เวลามากถึง 1 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
ทำไมต้อง เอกซเรย์ ตรวจร่างกาย
รังสีเอกซ์ ถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายอย่าง รวมไปถึงการใช้ตรวจสอบว่ากระดูกหักหรือไม่ ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในมีการติดเชื้อหรือไม่ ใช้ค้นหามะเร็งบางชนิด ซึ่งในปัจจุบันมีรังสีเอกซ์หลายชนิดที่ใช้ในการตรวจหามะเร็งได้
ยกตัวอย่างเช่น ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือ การตรวจแมมโมเเกรม (Mammogram) ในโรคมะเร็งเต้านม และ การตรวจแบเรียมอีนีมา (Barium enema) ในโรคมะเร็งลำไส้
นอกจากนี้ยังมีการตรวจเนื้องอก หรือมะเร็งที่มีความแม่นยำมากขึ้น เช่นการสแกนเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นการใช้ประโยชน์จากรังสีเอกซ์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เเต่อย่างไรก็ตามเบื้องต้นการเอกซเรย์ โดยไม่จ้องใช้เทคนิคที่ซับซ้อน ก็สามารถตรวจพบเนื้องอก และมะเร็งได้ ซึ่งจะปรากฎเป็นเงาให้เห็น
การเตรียมตัวก่อนไปเอกซเรย์
การเอกซเรย์ ในเเต่ละประเภทต้องมีการเตรียมตัวที่เเตกต่างกันไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องมีการเอกซเรย์แบบพิเศษ เช่น ก่อนที่จะทำการเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหาร ต้องมีการงดอาหาร หรืออาจต้องกินยาระบายก่อน เพื่อเป็นการเคลียร์ระบบทางเดินอาหาร
ก่อนจะทำการตรวจแมมโมแกรม (ตรวจเต้านม) ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาดับกลิ่น โรออน ผงโรย น้ำหอม และครีมบำรุงผิวทุกชนิด เพราะสามารถสร้างเงาที่ผิดปกติในภาพแมมโมแกรมได้
อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันในการทำการเอกซเรย์ ผู้ป่วยต้องมีการถอดเครื่องประดับออกจากร่างกายก่อนทำการเอ็กซเรย์ทั้งหมด
และจำไว้เสมอว่า รังสีเอกซ์สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ฉะนั้น หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงและมีโอกาสที่คุณจะตั้งครรภ์ควรบอกแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ก่อนที่คุณจะทำการเอกซเรย์ทุกครั้ง
วิธีปฏิบัติตัวขณะทำการเอกซเรย์
ในบางครั้งผู้ป่วยอาจถูกขอให้ถอดเสื้อผ้าออก โดยการเปลี่ยนมาเป็นชุดของโรงพยาบาล ในขั้นตอนการเอกซเรย์บางอย่าง ผู้ป่วยอาจจะได้รับผ้ากันเปื้อนตะกั่ว เพื่อป้องกันส่วนอื่นของร่างกายที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับรังสีเอกซ์
หลังจากนั้นผู้ป่วยจะต้องยืนบนพื้น นอน หรือนั่งบนโต๊ะในห้องเอกซเรย์ แล้วเจ้าหน้าที่จะวางตำแหน่งร่างกายในตำแหน่งที่สามารถแสดงผลเอกซเรย์ได้ที่ดีที่สุด
เจ้าหน้าที่เอกซเรย์ จะวางตำแหน่งเครื่อง X-ray ไว้ใกล้กับร่างกาย เพื่อให้หลอดรังสีเอกซ์ของเครื่อง ปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาตรงบริเวรตำแหน่งร่างกายที่ต้องการ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะไปหลบหลังแผงป้องกันรังสี แล้วจึงกดปุ่มเพื่อถ่ายภาพเอกซเรย์ ตามลำดับ
สำหรับการเอกซเรย์ เช่น การตรวจเต้านม หรือซีทีสแกน (CT Scan ) ขั้นตอนจะมีความซับซ้อนกว่าเล็กน้อย
การฟังผล เอกซเรย์
ผลเอกซเรย์ของผู้ป่วยจะถูกอ่าน และแปลผลโดยแพทย์รังสี และนักรังสีวิทยา ซึ่งจะรายงานผลให้แพทย์ทราบ เเล้วจะมีเจ้าหน้าที่นัดฟังผล และชี้เเจงให้ทราบ
ความเสี่ยงจากการเอกซเรย์
ถึงแม้ว่าการรับหรือสัมผัสรังสีเอกซ์ในปริมาณมากจะเป็นอันตราย แต่ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่ากระบวนเอกซเรย์ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และกระบวนการที่ทันสมัย มีการใช้เทคนิคและอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซ์น้อยที่สุด
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผ้ากันเปื้อนตะกั่ว หรือโล่ตะกั่ว เพื่อป้องกันได้ในนระหว่างกระบวนการเอกซ์เรย์
จากที่เคยแนะนำไปข้างต้น หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงรังสีเอกซ์ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อลูกในครรภ์
กรณีเด็กกำลังเจริญเติบโตผู้ปกครองควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเอกซเรย์ในแต่ละครั้งมีความจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ เพราะอาจเปลี่ยนมาใช้การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) หรือการอัลตร้าซาวด์แทนก็ได้เหมือนกัน (แล้วเเต่กรณีไป)
อย่าลืมว่าตลอดชีวิตของเราสามารถลดการได้รับรังสีเอกซ์ได้ ในบางกรณีควรหลีกเลี่ยงรังสีเอกซ์ที่มีการเอกซเรย์ซ้ำซ้อนกัน
อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยด้รับการฉีดสาร ก่อนทำการเอกซเรย์ มีเลือดออก ปวดบวม หรือแดงบริเวณที่ฉีด ควรเเจ้งแพทย์ทุกครั้ง
บทความน่าสนใจ
“เจ็บป่วยฉุกเฉิน” และการบริการสุขภาพโรงพยาบาล HA
เคลียร์ดราม่า คนท้องนวดได้หรือไม่? ปวดเมื่อย ปวดเท้า
Q&A รู้ครบขั้นตอนการตรวจ รักษาโรคหัวใจ
ที่มา : drugs.com และ Harvard Health Publication