เอกซเรย์, รังสีเอกซ์, X-ray

คู่มือเตรียมตัวก่อนไป เอกซเรย์ (X-rays)

เอกซเรย์ : คู่มือเตรียมตัวก่อนไปตรวจร่างกาย

เอกซเรย์คืออะไร

เอกซเรย์ (X-rays)  เป็นคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับใช้ในการสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ภายในร่างกาย  รังสีเอกซ์ มีความยาวคลื่นสั้นมาก ขณะที่เริ่มทำการเอกซเรย์ รังสีจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่ในร่างกายในปริมาณที่แตกต่างกัน ตามโครงสร้างของเนื้อเยื่อร่างกาย

เช่น กระดูกมีความหนาแน่นสูงจะสามารถดูดซับรังสีเอกซ์ได้ดี แต่ในขณะเดียวกันเนื้อเยื่ออ่อน (ผิวหนัง, ไขมัน, กล้ามเนื้อ) รังสีเอกซ์สามารถผ่านได้ง่ายดาย ผลที่ได้คือเงาของการเอกซเรย์ ( X-ray) กระดูกบนฟิล์ม หรือหน้าจอภาพจะปรากฏเป็นสีขาว ในขณะที่เงาของเนื้อเยื่ออ่อนจะปรากฏเป็นสีเทาหลายเฉด

นอกจากนี้แล้วยังมีการฉายรังสีในรูปแบบอื่นอีกด้วย กล่าวคือ ก่อนทำการเอกซเรย์ผู้ป่วยจะได้รับสารเคมีที่เรียกว่า “คอนทราสต์” เพื่อช่วยให้ส่วนต่างๆของร่างกายปรากฏเด่นชัดบนฟิล์มเอกซ์เรย์หรือจอภาพมากขึ้น  โดยผู้ป่วยต้องกิน กลืน สวน หรือฉีดสารเคมีเข้าสู่หลอดเลือดดำ เพื่อทำให้เกิดภาพที่มีความคมชัดมากขึ้น ขณะทำการเอกซเรย์ ซึ่งจะปรากฏเป็นสีขาวบนฟิล์มเอกซเรย์ X-ray เช่น ทางเดินอาหาร และหลอดเลือด

อย่างไรก็ตามการเอกซเรย์นั้นรังสีเอกซ์ ไม่ได้ทำให้เกิดความเจ็บปวด มีเพียงเเต่อาการไม่สบายเล็กน้อยบ้าง แล้วเเต่บุคคล ยกเว้นอาจจำเป็นต้องฉีด หรือสวนสารเคมีก่อนทำการเอกซเรย์ อาจมีอาการเจ็บแผลที่ฉีดบ้าง

ระยะวลาการเอกซเรย์แต่ละครั้งใช้เวลาน้อยมาก ประมาณ  1 นาที  หรือหากมีกระบวนการเพิ่มเติมต้องฉีดหรือกินสารเคมีก่อน อาจใช้เวลามากถึง 1 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น

ทำไมต้อง เอกซเรย์ ตรวจร่างกาย

รังสีเอกซ์ ถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายอย่าง รวมไปถึงการใช้ตรวจสอบว่ากระดูกหักหรือไม่  ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในมีการติดเชื้อหรือไม่  ใช้ค้นหามะเร็งบางชนิด ซึ่งในปัจจุบันมีรังสีเอกซ์หลายชนิดที่ใช้ในการตรวจหามะเร็งได้

ยกตัวอย่างเช่น ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือ การตรวจแมมโมเเกรม (Mammogram) ในโรคมะเร็งเต้านม  และ การตรวจแบเรียมอีนีมา (Barium enema)  ในโรคมะเร็งลำไส้

นอกจากนี้ยังมีการตรวจเนื้องอก หรือมะเร็งที่มีความแม่นยำมากขึ้น เช่นการสแกนเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)  เป็นการใช้ประโยชน์จากรังสีเอกซ์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เเต่อย่างไรก็ตามเบื้องต้นการเอกซเรย์ โดยไม่จ้องใช้เทคนิคที่ซับซ้อน ก็สามารถตรวจพบเนื้องอก และมะเร็งได้  ซึ่งจะปรากฎเป็นเงาให้เห็น

เอกซเรย์, รังสีเอกซ์, X-ray
Doctor check up x-ray film of the brain by ct scan brain at patient room hospital.

การเตรียมตัวก่อนไปเอกซเรย์

การเอกซเรย์ ในเเต่ละประเภทต้องมีการเตรียมตัวที่เเตกต่างกันไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องมีการเอกซเรย์แบบพิเศษ เช่น ก่อนที่จะทำการเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหาร ต้องมีการงดอาหาร หรืออาจต้องกินยาระบายก่อน เพื่อเป็นการเคลียร์ระบบทางเดินอาหาร

ก่อนจะทำการตรวจแมมโมแกรม (ตรวจเต้านม) ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาดับกลิ่น โรออน ผงโรย น้ำหอม และครีมบำรุงผิวทุกชนิด เพราะสามารถสร้างเงาที่ผิดปกติในภาพแมมโมแกรมได้

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันในการทำการเอกซเรย์ ผู้ป่วยต้องมีการถอดเครื่องประดับออกจากร่างกายก่อนทำการเอ็กซเรย์ทั้งหมด

และจำไว้เสมอว่า รังสีเอกซ์สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ ฉะนั้น หากผู้ป่วยเป็นผู้หญิงและมีโอกาสที่คุณจะตั้งครรภ์ควรบอกแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ก่อนที่คุณจะทำการเอกซเรย์ทุกครั้ง

วิธีปฏิบัติตัวขณะทำการเอกซเรย์

ในบางครั้งผู้ป่วยอาจถูกขอให้ถอดเสื้อผ้าออก โดยการเปลี่ยนมาเป็นชุดของโรงพยาบาล ในขั้นตอนการเอกซเรย์บางอย่าง ผู้ป่วยอาจจะได้รับผ้ากันเปื้อนตะกั่ว เพื่อป้องกันส่วนอื่นของร่างกายที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับรังสีเอกซ์

หลังจากนั้นผู้ป่วยจะต้องยืนบนพื้น นอน หรือนั่งบนโต๊ะในห้องเอกซเรย์ แล้วเจ้าหน้าที่จะวางตำแหน่งร่างกายในตำแหน่งที่สามารถแสดงผลเอกซเรย์ได้ที่ดีที่สุด

เจ้าหน้าที่เอกซเรย์ จะวางตำแหน่งเครื่อง X-ray ไว้ใกล้กับร่างกาย เพื่อให้หลอดรังสีเอกซ์ของเครื่อง ปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาตรงบริเวรตำแหน่งร่างกายที่ต้องการ  หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะไปหลบหลังแผงป้องกันรังสี แล้วจึงกดปุ่มเพื่อถ่ายภาพเอกซเรย์ ตามลำดับ

สำหรับการเอกซเรย์ เช่น การตรวจเต้านม หรือซีทีสแกน (CT  Scan ) ขั้นตอนจะมีความซับซ้อนกว่าเล็กน้อย

เอกซเรย์, รังสีเอกซ์, X-ray
Handsome male dentist checking x-ray image or scan while beautiful senior woman receiving a dental treatment.

การฟังผล เอกซเรย์

ผลเอกซเรย์ของผู้ป่วยจะถูกอ่าน และแปลผลโดยแพทย์รังสี และนักรังสีวิทยา ซึ่งจะรายงานผลให้แพทย์ทราบ เเล้วจะมีเจ้าหน้าที่นัดฟังผล และชี้เเจงให้ทราบ

ความเสี่ยงจากการเอกซเรย์

ถึงแม้ว่าการรับหรือสัมผัสรังสีเอกซ์ในปริมาณมากจะเป็นอันตราย แต่ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่ากระบวนเอกซเรย์ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และกระบวนการที่ทันสมัย มีการใช้เทคนิคและอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซ์น้อยที่สุด

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผ้ากันเปื้อนตะกั่ว หรือโล่ตะกั่ว เพื่อป้องกันได้ในนระหว่างกระบวนการเอกซ์เรย์

จากที่เคยแนะนำไปข้างต้น หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงรังสีเอกซ์ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อลูกในครรภ์

กรณีเด็กกำลังเจริญเติบโตผู้ปกครองควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเอกซเรย์ในแต่ละครั้งมีความจำเป็นจริง ๆ หรือไม่  เพราะอาจเปลี่ยนมาใช้การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) หรือการอัลตร้าซาวด์แทนก็ได้เหมือนกัน (แล้วเเต่กรณีไป)

อย่าลืมว่าตลอดชีวิตของเราสามารถลดการได้รับรังสีเอกซ์ได้ ในบางกรณีควรหลีกเลี่ยงรังสีเอกซ์ที่มีการเอกซเรย์ซ้ำซ้อนกัน

อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยด้รับการฉีดสาร ก่อนทำการเอกซเรย์ มีเลือดออก ปวดบวม หรือแดงบริเวณที่ฉีด ควรเเจ้งแพทย์ทุกครั้ง


บทความน่าสนใจ

“เจ็บป่วยฉุกเฉิน” และการบริการสุขภาพโรงพยาบาล HA

เคลียร์ดราม่า คนท้องนวดได้หรือไม่? ปวดเมื่อย ปวดเท้า

Q&A รู้ครบขั้นตอนการตรวจ รักษาโรคหัวใจ

 

ที่มา : drugs.com และ Harvard Health Publication 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.