วอล์คเกอร์ ช่วย สว.เคลื่อนไหวคล่องตัว เดินสะดวก!

วอล์คเกอร์ ช่วย สว.เคลื่อนไหวคล่องตัว เดินสะดวก!

สุขภาพของคนที่คุณรักถือเป็นสิ่งที่คุณอยากจะถนอมรักษาไว้ ยิ่งถ้าเป็นสุขภาพของผู้สูงอายุที่ใกล้ชิดคุณไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ต่างก็เป็นคนที่คุณต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ

เพราะอย่างที่รู้ว่าเมื่อคนเราเข้าสู่วัยชราแล้วย่อมมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตามมามากมาย  ถ้าหากอยากให้ผู้สูงอายุที่คุณรักใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่กับคุณไปนาน ๆ  การเลือกอุปกรณ์ที่จะมาเป็นตัวช่วยในการใช้ชีวิตทุกชนิดจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ

สำหรับผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหาเรื่องกระดูก เสื่อม ข้อเข่าเสื่อมลงตามกาลเวลา ทำให้การเคลื่อนไหวเดินยืนแต่ละทีกลายเป็นเรื่องยากลำบาก แน่นอนว่า ยิ่งไม่ได้ขยับ ไม่ได้ใช้กำลังกล้ามเนื้อก็จะถดถอยลง เป็นที่มาของคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง

ซึ่งทำอย่างไรจะสามารถเดินได้มากขึ้น สะดวกขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าขาจะอ่อนแรงฉับพลัน แล้วพลัดตกหกล้ม

วันนี้ ชีวจิต จึงอยากนำเสนอเกี่ยวกับอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า อุปกรณ์ช่วยเดิน วอล์คเกอร์ (WALKER) ผู้ช่วยที่รู้ใจในการคอยช่วยทำหน้าที่พยุงให้ผู้สูงอายุที่เรารัก ที่ไม่ค่อยมีแรง หรือเดินเหินไม่ค่อยสะดวก ได้เดิน ลุก ยืนนั่ง ได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย ให้ได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ออกไปท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตา ทำให้ผ่อนคลายความเครียด สนุกสนาน เพลิดเพลิน เสมือนการแสวงหาความสุขในช่วงบั้นปลายให้พวกท่านได้มากที่สุด

ปัจจุบันจะเห็นได้ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดิน วอล์คเกอร์ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของผู้สูงอายุมากมาย บางแบรนด์ก็ใส่นวัตกกรมลงไปเพื่อให้การใช้งานง่ายและสะดวกมากที่สุด

ดังนั้น ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ช่วยเดิน รวมถึงข้อบ่งใช้ให้มากกว่านี้กันก่อนดีกว่าค่ะ

ข้อบ่งใช้ของอุปกรณ์ช่วยเดิน วอล์คเกอร์ (WALKER)

อุปกรณ์ช่วยเดิน (WALKER) ส่วนใหญ่ผลิตจากอลูมิเนียม มีลักษณะเป็นท่อกลวง เพื่อทำให้มีน้ำหนักเบา ประกอบด้วยที่จับแบบหุ้มด้วยยางที่มีขาทั้งหมดสี่ขา จึงถือเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีความมั่นคง

อย่างไรก็ตาม การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินประเภทนี้ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานในบางสถานการณ์ เช่น การเดินขึ้นหรือลงบันได หรือในสถานที่แคบ

ซึ่งโดยทั่วไปวอล์คเกอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. วอล์คเกอร์ แบบมาตรฐาน (standard walker) เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่นิยมใช้โดยทั่วไปและสามารถปรับเปลี่ยนความสูงให้เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ โดยความสูงของโครงเหล็กช่วยเดิน พิจารณาจากขณะยืนจับโครงเหล็ก ระดับความสูงที่เหมาะสม ควรจะสูงอยู่ในระดับเดียวกันกับข้อมือหรือกระดูก greater trochanter ของผู้ใช้ หรือประเมินความสูงที่เหมาะสม โดยขณะที่ผู้ใช้จับอุปกรณ์ช่วยเดินในท่ายืนหลังตรง ข้อศอกของผู้ใช้จะต้องอยู่ในท่างอประมาณ 15-30 องศา

  1. วอล์คเกอร์ แบบมีล้อ (walker or roller walker) เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีความมั่นคงที่น้อยกว่าแบบมาตรฐานแต่รูปแบบของการเดินจะใกล้เคียงปกติมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถผลักหรือดันโครงเหล็กไปด้านหน้าแทนการยก ทำให้ผู้ใช้เดินได้เร็วขึ้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาค่อนข้างดีและไม่ต้องการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเพื่อชดเชยการลงน้ำหนักของขาทั้งสองข้าง แต่อาจยังมีความบกพร่องในด้านการทรงตัวและการเดิน เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ หรือผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหาเดินลากเท้าหรือมีการสะดุดบ่อยในขณะเดินซึ่งเกิดจากภาวะแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อขา เป็นต้น

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.