รู้จักวัคซีนสักนิด ก่อนต้องฉีด เพื่อรับมือโควิด-19

รู้จักวัคซีนสักนิด ก่อนต้องฉีดวัคซีน เพื่อรับมือโควิด-19

รู้จักวัคซีนสักนิด น่าจะดี เพราะอีกไม่นาน หลายคนคงจะได้ ฉีดวัคซีน กันแล้ว ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับวัคซีนกันสักหน่อยจะดีกว่า

มนุษยชาติมีความพยายามที่จะป้องกันตัวเองจากการเจ็บป่วยต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว มีการสังเกตเห็นว่าเมื่อมีการระบาดของโรคใดๆ ผู้ที่เคยเป็นโรคนั้นแล้วหาย มักจะไม่ป่วยเป็นโรคเดิมซ้ำอีก!!

นั้นคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองด้วยหลากหลาย ในอดีตเคยพิศดารไปถึงขั้น กินงูพิษ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันจากพิษงู การดื่มเลือดเป็ดที่เคยกินยาพิษมาก่อน เพราะเชื่อว่าจะป้องกันพิษได้หากถูกวางยาพิษ…โอ้โน!!

ราวศตวรรษที่ 10 พบบันทึกว่า ประเทศจีนเริ่มมีการพยายามหาวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไข้ทรพิษ ด้วยวิธีหลากหลาย เช่น นำเอาสะเก็ดแผลจากผื่นที่เกิดจากผื่นของโรคไปบดแล้วเอาไปใส่ในจมูกของผู้ไม่เคยเป็นไข้ทรพิษดังกล่าวมาก่อน นอกจากนี้ ยังมีวิธีเอาเข็มสะกิดตุ่มหนองของผู้ป่วยแล้วนำไปสะกิดที่ผิวหนังของผู้ยังไม่เคยติดโรค ซึ่งภายหลังเรียกวิธีการนี้ว่า การปลูกฝี วิธีการดังกล่าวถูกเผยแพร่และนำไปปฏิบัติในหลายๆ ประเทศ ทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

ศตวรรษที่ 17 ดร.เอดเวิร์ด เจนเนอร์ สกัดนำเชื้อไข้ทรพิษหรือ cowpox จากหญิงเลี้ยงวัวที่ติดเชื้อดังกล่าวจากวัวที่เธอเลี้ยง ไปให้เด็กชายวัย 8 ปี ซึ่งหลังจากให้เชื้อฝีดาษดังกล่าวแก่เด็กชายผู้นั้น 6 สัปดาห์ พบว่า เด็กชายไม่ป่วยหรือมีอาการสำแดงถึงโรคฝีดาษ ดร.เจนเนอร์ จึงเรียกหนองฝีวัวนั้นว่า “VACCINE” มาจากภาษาละตินคำว่า “vacca” ที่แปลว่าวัว และเรียกวิธีการป้องกันโรคดังกล่าวว่า vaccination ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนปัจจุบัน

ปี 1840 ดร.หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้นำแนวความคิดของเจนเนอร์ไปประยุกต์กับวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคจากสัตว์ปีกจำพวกเป็ดและไก่ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานต่อการผลิตวัคซีนในระยะหลัง

ต่อมา ดร.โจเซฟ ลิสเตอร์ เป็นผู้ที่นำแอนติเซปติก (Antiseptic) หรือ สารซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค(น้ำยาฆ่าเชื้อ) มาใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายในระยะเวลาต่อมา

ว่ากันง่ายๆ วัคซีน ก็คือเชื้อโรคที่ถูกทำให้ตายหรืออ่อนแอลงโดยวิธีต่างๆ แล้วนำเข้าสู่ร่างกายทางใดทางหนึ่ง เช่น ฉีด หรือหยอด เพื่อให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ที่เรียกรวมว่า แอนติเจน (Antigen) เข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย การฉีดวัคซีนจึงเป็นเหมือนการเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายรู้จักเชื้อโรคและสร้างแอนติบอดี (Antibody) ที่สามารถรับมือกับเชื้อโรคนั้นๆ ได้ทันท่วงที

กรณีของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของไทยให้ใช้ได้มีสองบริษัท คือ AstraZeneca และ Sinovac

ด้าน ‘ความปลอดภัย’

วัคซีน Sinovac เป็นวัคซีนเชื้อตาย คือผลิตจากไวรัสที่ไม่มีชีวิตแล้ว จึงถือว่ามีความปลอดภัยสูง ซึ่งผลการทดลองก็พบว่าวัคซีน Sinovac มีผลข้างเคียงน้อยกว่า และไม่มีอาการรุนแรง
ในขณะที่วัคซีน AstraZeneca เป็นการใช้ไวรัสอะดิโน ที่ก่อโรคในลิงชิมแปนซีเป็นตัวพา (Adenoviral Vector) ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่า แต่ไม่รุนแรง เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ผู้สูงอายุจะพบน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่

ด้าน ‘ประสิทธิภาพ’

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการทดลองวัคซีนสามารถวัดผลการป้องกันโรคได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การป้องกันการติดเชื้อ การป้องกันโรคแบบมีอาการ จนถึงการป้องกันอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต
ด้านประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อ ตัวเลข 50.4% ของวัคซีน Sinovac ที่บราซิล เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ “ที่แสดงอาการตั้งแต่น้อยมาก”
ขณะที่ตัวเลข 70.4% (62.1-90.0%) ของวัคซีน AstraZeneca เป็นประสิทธิภาพใน “การป้องกันโรคแบบมีอาการ” จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยตรง!
แต่ตัวเลขหนึ่งที่ควรรู้คือ ประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ซึ่งทั้งคู่ทำได้ 100% เหมือนกัน

ข้อมูลจาก : @Rama Column: Vocab With Rama/ the standard

ฉีดวัคซีนแล้วมีไข้ เป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตื่นตระหนก!

แพทย์อธิบาย ทำไม ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีน ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ

สร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด!

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.