เสริมแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต เสริมมวลกระดูก ตัวช่วยป้องกัน โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกอ่อนเเอ เปราะบาง ปัญหาสุขภาพที่เมื่อมีอายุมากขึ้นยิ่งต้องระวัง เพราะจะทำให้กระดูกแตกหักมากขึ้น กว่าจะรู้ตัวก็มักจะได้รับการวินิจฉัย เมื่อต้องตกหรือกระแทกทำให้กระดูกแตกหัก ดังนั้น ก่อนอุบัติเหตุจะเกิดขึ้น เรามีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีการป้องกัน และเเคลเซียมตัวช่วยเสริมกระดูกให้เเข็งเเรงมาบอกต่อกันค่ะ
ทำความรู้จัก โรคกระดูกพรุน คืออะไร
ว่ากันว่าอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ข้อมือ สะโพก เเละกระดูกกระดูกสันหลังหัก นอกจากบริเวณในข้างต้นเเล้ว กระดูกอาจเเตกหักได้ในบริเวณอื่น ๆ ได้เหมือนกัน เช่น แขน หรือกระดูกเชิงกราน เเละในบางครั้งการไอหรือจาม ก็อาจทำให้ซี่โครงหัก หรือกระดูกสันหลังส่วนใดส่วนหนึ่งยุบลงได้ ฉะนั้นควรหาวิธีป้องกัน เสริมมวลกระดูกให้เเข็งเเรงกันดีกว่านะคะ
รู้หรือไม่ว่า สำหรับอาการของโรคกระดูกพรุน มักไม่เจ็บ ไม่ปวด จนกว่ากระดูกจะหัก ถึงจะรู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติ โดยเฉพาะถ้าบริเวณกระดูกสันหลังหัก จะทำให้มีอาการปวดในระยะยาวได้
โดยเฉพาะในผู้สูงอายุบางคน หากไม่มีการดูเเล เเละเสริมมวลกระดูกให้เเข็งเเรง การล้ม การก้ม การเงย ในลักษณะเฉพาะนี้ อาจทำให้กระดูกสันหลังหักได้ ซึ่งจะทำให้ยากกับการรองรับน้ำหนักของร่างกาย
เเต่ถ้าหากเรารู้จักเตรียมพร้อม มีเเคลเซียม ตัวช่วยเสริมกระดูกที่ดี ก็จะสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ อย่างเเน่นอน
สูญเสียมวลกระดูก ก่อนเป็นโรคกระดูกพรุน
ในระยะก่อนที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน เราเรียกว่า “ภาวะกระดูกบาง” หรือภาวะที่สูญเสียมวลกระดูก เราสามารถตรวจพบเจอได้ เมื่อมีการสแกนความหนาแน่นของกระดูก แสดงให้เห็นว่า เรากำลังมีความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับอายุหรือไม่ เเต่ภาวะกระดูกบางนี้ไม่ได้นำไปสู่โรคกระดูกพรุนเสมอไป อย่างที่ใครหลายคนกลัว เพราะโรคกระดูกพรุนนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
หากมีภาวะกระดูกบาง ยังสามารถทำให้กระดูกแข็งแรง และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ด้วยวิธีการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งเเรงขึ้น
เช็กลิสต์!! ใครเสี่ยงโรคกระดูกพรุน?
ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุนประมาณ 25 ล้านคน โดยพบประมาณร้อยละ 85 เป็นเพศหญิง ซึ่งร้อยละ 90 ในผู้หญิงจะพบในช่วงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป เเละคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น
สำหรับสาเหตุของโรคกระดูกพรุนนั้น ปัจจัยหลักคือการ สูญเสียมวลกระดูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก่ชราตามอายุ แต่ในบางคนอาจจะสูญเสียกระดูกไปเร็วกว่าปกติมาก สามารถนำไปสู่โรคกระดูกพรุน และมีความเสี่ยงกระดูกหักที่เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีปัญหาสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีแรกหลังหมดประจำเดือน จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหากหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี หรือมีการผ่าตัดรังไข่ออก จะทำให้เสี่ยงภาวะกระดูกพรุนได้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นได้อีก ที่สามารถส่งผลให้เราเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น
- กินยาสเตียรอยด์ติดต่อนานกว่า 3 เดือน
- ภาวะอักเสบ ภาวะฮอร์โมน หรือปัญหาการดูดซึมผิดปกติ
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- ใช้ยาบางชนิดในระยะยาวที่อาจส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกหรือระดับฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
- มีอาการผิดปกติในการกินอาหาร เช่น อาการเบื่ออาหาร
- ดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำ
- ไม่ชอบออกกำลังกาย
- ดื่มเเละสูบบุหรี่หนักเป็นประจำ
การป้องกันและรักษา โรคกระดูกพรุน
พื้นฐานการรักษา คือวิธีการป้องกันกระดูกหัก และเสริมตัวช่วยบำรุงกระดูก ดังนั้น หากรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้วิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้กระดูกแข็งแรง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้กระดูกของคุณแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- กินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่อุดมด้วย แคลเซียม และวิตามินดี
- เสริมแร่ธาตุ เเคลเซียม และวิตามินดี เป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสม
- เลิกสูบบุหรี่ และลดแอลกอฮอล์
แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถได้รับแคลเซียมจากอาหาร เช่น นม เนย เต้าหู้ บร็อคโคลี เมล็ดธัญพืชทดเเทนได้ ในกรณีได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจกินแคลเซียมเสริมขนาดวันละ 500 มิลลิกรัม
เลือกเเคลเซียมเสริม ชนิดไหนดี
แคลเซียมเสริมเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการเสริมมวลกระดูกให้เเข็งเเรง แต่ที่ชีวจิตขอแนะนำ คือ “แคลเซียม แอลทรีโอเนต”
สำหรับแคลเซียม แอล-ทรีโอเนต เป็นแคลเซียมที่สกัดจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ มีสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าแคลเซียมรูปแบบอื่น ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ไม่เกินเเค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เเละที่สำคัญหมดปัญหาการกินเเคลเซียมขณะตอนท้องว่างได้ ไม่ก่อให้เกิดนิ่วในไต ไม่สะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย และไม่ทำให้ท้องผูก ทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากการกินได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย และที่สำคัญข้อจำกัดในการกินน้อยกว่าวิตามินรูปแบบอื่นโดยการกินแคลเซียมแอลทรีโอเนตเพียงวันละ 3 หรือ 4 แคปซูลเท่านั้น
อ้างอิง
https://www.nhs.uk/conditions/osteoporosis/prevention/
https://www.nof.org/preventing-fractures/prevention/
https://www.nhs.uk/conditions/osteoporosis/
สนับสนุนข้อมูลโดย