นวดฝ่าเท้า หลอดเลือด ดูแลสุขภาพ

แค่ นวดฝ่าเท้า ก็ทำให้สภาพร่างกายดีขึ้นได้

รู้มั้ยว่าการ นวดฝ่าเท้า ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น

ทำไมแค่ นวดฝ่าเท้า ก็ทำให้สภาพร่างกายดีขึ้นได้ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเราเจ็บป่วยก็คือ “ระบบไหลเวียนเลือด” มีปัญหา ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจาก “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” ในหลอดเลือด

ภาวะลิ่มเลือดอุดต้นในหลอดเลือดเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลัก ๆ ก็คือ “การไหลเวียนของเลือด” ย่ำแย่ลง ตัวอย่างเช่น “โรคชั้นประหยัด (Economy class syndrome)” ซึ่งเกิดจากการที่เราต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมบนเครื่องบินเป็นเวลานาน ๆ จนเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ สาเหตุก็เป็นเพราะเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี หรือเลือดไปคั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งนั่นเอง

สิ่งที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดก็คือระบบประสาทอัตโนมัติ ปกติแล้วเมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมาก หลอดเลือดจะหดตัว แต่ถ้าระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานมาก หลอดเลือดก็จะขยายตัว

หากระบบประสาทอัตโนมัติมีความสมดุล ระบบประสาทซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติกก็จะผลัดกันทำงาน โดยสั่งให้เส้นเลือดหดและขยายตัวอย่างเหมาะสม เมื่อหดและขยายตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เลือดก็จะไหลเวียนได้สะดวก

ตราบใดที่ระบบประสาทอัตโนมัติมีความสมดุล เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากกว่า หลอดเลือดจะหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ทำให้ “เลือดไหลเวียนเร็วขึ้น” ในทางกลับกัน เมื่อระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานมากกว่า หลอดเลือดจะขยายตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง ทำให้ “เลือดไหลเวียนมากขึ้น” ถึงแม้ระบบประสาททั้งสองจะทำงานต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่ก็ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นทั้งคู่

แต่ถ้าระบบประสาทอัโนมัติเสียความสมดุลจนส่งผลให้ระบบใดระบบหนึ่งทำงานมาก “เกินไป” ก็จะทำให้เลือดไหลเวียนแย่ลง

ตัวอย่างเช่น เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป หลอดเลือดก็จะหดตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้น้อยลง ก็เหมือนกับการที่เราเอานิ้วอุดปากสายยางขณะที่ฉีดน้ำออกมา ส่งผลให้ความดันน้ำสูงขึ้นจนน้ำพุ่งออกมาอย่างแรง แต่เนื่องจากปากสายยางแคบลง ปริมาณน้ำที่พุ่งออกมาจึงน้อยลงไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป หลอดเลือดก็จะขยายตัวมากไปจนทำให้เลือดไปคั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง

สรุปก็คือ หากระบบประสาทอัตโนมัติอยู่ใน สภาพเสียความสมดุล ก็จะทำให้เกิดกาวะลิ่มเลือดอุด ตันในหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น

ไม่ว่าระบบประสาทซิมพาเทติกหรือพาราซิมพาเทติก จะทำงานมากเกินไป ก็ส่งผลให้เลือดไหลเวียนแย่ลงได้เช่นกัน แต่ถ้าถามว่ากรณีไหนส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่า ก็คงต้องตอบว่า การที่ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป เนื่องจากทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเกิดบาดแผล

เมื่อระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป หลอดเลือดจะหดตัว ทำให้ช่องว่างในหลอดเลือดแคบลง ส่งผลให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดไหลเวียนแรงขึ้น จึงไปกระแทก “เยื่อบุผนังหลอดเลือด” จนเกิดบาดแผล จากนั้นเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดแดงจะไปเกาะติดบาดแผลดังกล่าวจนกลายเป็นลิ่มเลือดขึ้นมา

อาจกล่าวได้ว่า ภาวะความดันโลหิตสูงบ่งบอกให้รู้ว่าหลอดเลือดอยู่ในสภาพย่ำแย่ ในขณะเดียวกัน ก็ยังบ่งบอกด้วยว่าเกิดบาดแผลขึ้นที่เยื่อบุผนังหลอดเลือด

ร่างกายของคนเราประกอบขึ้นด้วยเซลล์ประมาณ 60 ล้านล้านเซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ ดังนั้น เราจึงต้องกินอาหารเพื่อรับสารอาหาร และหายใจเพื่อรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นลำไส้และปอดจะดูดซึมและลำเลียง พวกมันไปยังเซลล์ต่าง ๆ ผ่านทางกระแสเลือด

ในขณะเดียวกัน กระแสเลือดก็เป็นเส้นทางที่ใช้ไนการขับของเสียของแต่ละเซลล์ออกจากร่างกาย นอกจากนั้น เมื่อสิ่งแปลกปลอมอย่างเช่นเชื้อโรคบุกเข้ามาในร่างกาย หรือเกิดเซลล์มะเร็งขึ้น กระแสเลือดนี่แหละที่จะช่วยลำเลียงเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมาจัดการกับมัน

ดังนั้น หากการไหลเวียนของเลือดแย่ลง เซลล์ก็จะทำงานได้แย่ลงตามไปด้วย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมประสิทธิภาพลง ไม่เพียงเท่านั้น หลอดเลือดก็จะเปราะบางลงจนทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดได้ง่าย การที่เลือดไหลเวียนได้แย่ลงนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่เราคิด

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่เราควรให้ความสำคัญกับกาไหลเวียนของเลือดไม่ใช่เพียงเพราะแค่ “ถ้าเลือดไหลเวียนแย่ลงจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย” แต่เป็นเพราะ “การที่เลือดไหลเวียนดี” จะทำให้เราแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้อย่างเต็มที่

ตัวอย่างเช่น สมองของคนเราจำเป็นต้องใช้กลูโคสกับออกซิเจนปริมาณมหาศาลในการทำงาน และสิ่งที่ช่วยลำเลียงกลูโคสและออกซิเจนไปยังสมองก็คือกระแสเลือด ถ้าความดันโลหิตลดต่ำลงจนทำให้เลือดไหลเวียนได้แย่ลง ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้ เซลล์สมองจึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ศักยภาพ ของสมองลดลง ดังนั้น สมองจะแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อ “เลือดไหลเวียนดี”

นักกีฬาจะทำผลงานได้ดีมากก็ต่อเมื่อ “เลือดไหลเวียนดี” เช่นกัน เพราะจะช่วยลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเนื้อได้อย่างเพียงพอ กล้ามเนื้อจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล้ามเนื้อทั่วร่างกายของคนเราเต็มไปด้วยหลอดเลือดฝอย และมันจะได้รับสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งหลอดเลือดทั้งหมดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ โดยมันจะสั่ง ให้หลอดเลือดหดหรือขยายตัวเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปตามจุดต่าง ๆ เมื่อระบบประสาทอัตโนมัติเสียความสมดุล การ ไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดฝอยจึงแย่ลงไปด้วย ส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งตึงขึ้นมาในทันที นั่นเป็นเพราะหลอดเลือดฝอยมีขนาดเล็ก หากระบบไหลเวียนเลือดแย่ลงก็จะได้รับผลกระทบมากกว่าหลอดเลือดใหญ่

เมื่อกล้ามเนื้อแข็งตึง เรามักบีบหรือนวดเพื่อคลลาย “ความตึง” แต่ความจริงแล้วกล้ามเนื้อไม่ได้หายตึงเพราะมันคลายตัวลง แต่เป็นเพราะการนวดกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลไปยังบริเวณนั้นมากขึ้นต่างหาก กล้มเนื้อจึงหายตึง ดังนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กล้ามเนื้อ แต่อยู่ที่การไหลเวียนของเลือด

อาจกล่าวได้ว่าการ นวดฝ่าเท้า ช่วยให้สภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้นได้ก็เพราะเหตุนี้

ถึงแม้ฝ่าเท้าจะไม่มีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แต่การนวดฝ่าเท้าก็ช่วยให้ขาหายบวมและช่วยให้สภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้นได้ เนื่องจากฝ่าเท้าเป็นอวัยวะที่ไกลจากหัวใจ เลือดบริเวณฝ่าเท้าจึงไหลเวียนแย่ลงได้ง่ายจนเกิด “ภาวะเลือดคั่ง” ในหลอดเลือดฝอย แต่พอนวดฝ่าเท้าแล้วอาการดังกล่าวก็จะหายไป ส่งผลให้การลำเลียงสารอาหารหรือการกำจัดของเสียดำเนินไปได้อย่างราบรื่น อาการบวมที่ขาจึงหายไป และสภาพร่างกายก็ดีขึ้นตาม

ดังนั้น การไหลเวียนของเลือดจึงเปรียบเสมือน “กระบวนการพื้นฐาน” ที่ขาดไม่ได้สำหรับเซลล์ซึ่งเป็นองค์ประกอบของร่างกายเรา หากการไหลเวียนของเลือดดี กลไกทุกอย่างในร่างกายก็จะทำงานได้ดี แต่ถ้าการไหลเวียนของเลือดแย่ลง กลไกทุกอย่างในร่างกายก็จะทำงานได้แย่ลงเช่นกัน

ข้อมูลจาก หนังสือ ทำไม สิ่งนี้ ถึงดีต่อสุขภาพ โดย นพ.โคะบะยะชิ ฮิโระยุกิ

บทความอื่นที่น่าสนใจ

เดินเร็ว ช่วยป้องกันกระดูกเสื่อมได้จริง

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

ท่าบริหาร แก้ออฟฟิศซินโดรม

ลีลาศบำบัด มะเร็งเต้านม

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.