มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ที่พบบ่อยจึงต้องระวัง
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2023 เผยว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colorectal Cancer) เป็นมะเร็งที่พบติดอันดับ 1 ใน 3 ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายทั่วโลก หรือมี สัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10 ของมะเร็งทุกชนิดที่พบ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอันดับที่ 2 ของโลกด้วย
ส่วนในประเทศไทย ข้อมูลปี 2566 จาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข เผยว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ ประมาณวันละ 44 คน หรือราว 15,939 คนต่อปี แม้มะเร็งชนิดนี้จะพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดได้ในคนวัยอื่น ๆ เช่นกัน
สำหรับ มะเร็งลำไส้เล็กพบได้บ้างเช่นกัน แต่พบน้อยกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมาก
สาเหตุการเกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
นอกจากจะเกี่ยวพันกับอายุ ประวัติการเกิดมะเร็งลำไส้ใน เคยเป็น ครอบครัว โดยมีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่ และพี่น้อง มะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ยังสันนิษฐานว่ามีสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้
- พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณมาก ๆ เป็นประจำ เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก หมูยอ แหนม การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก การ รับประทานอาหารปิ้งย่างเป็นประจำ การรับประทานผักและผลไม้น้อย
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก ๆ เป็นประจำ การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆ การ ไม่ออกกำลังกาย
- ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDร) เช่น โรคอ้วน โรค เบาหวาน
- ป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) และโรคโครห์น (Crohn’s Disease) จากการศึกษาพบว่า การอักเสบของลำไส้ทั้งสองโรคนั้ เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ได้มากขึ้นราว 4 – 20 เท่า
การรักษา มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
เช่น เดียวกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่เมื่อป่วยใน ระยะแรกๆ มักไม่มีอาการแสดง กว่าจะตรวจพบก็เมื่อผู้ป่วยมีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อุจจาระมีเลือดสีแดงสดปนออกมา อุจจาระมีมูกเลือด อุจจาระลำเล็กลง เบื่ออาหาร อ่อนแรง หากไปตรวจอาจคลำได้ก้อนในท้อง เหล่านี้เป็นสัญญาณว่ามะเร็งอาจเข้าสู่ระยะท้าย ๆ แล้ว
ด้วยความที่มะเร็งระยะท้าย ๆ ยากจะควบคุม และเหลือวิธีการรักษาเพียงไม่กี่วิธี เช่น การผ่าตัด การฉายแสง การให้เคมีบำบัด การให้ยามุ่งเป้า อีกทั้งยังต้องพิจารณาชนิดของมะเร็ง สภาพร่างกายของผู้ป่วยในขณะนั้นประกอบด้วย นั่นจึงทำให้ผู้ปวยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มักเสียชีวิตนั่นเอง
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันและการตรวจคัดกรองตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะหากตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะดีที่สุด เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเริ่มก่อตัวจากติ่งเนื้อเล็ก ๆ หากตรวจพบเร็ว แพทย์จะทำการผ่าตัดติ่งเนื้อนั้นออกไปเพื่อสกัดกั้น ไม่ให้เป็นเนื้อร้าย หรือลดโอกาสการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ได้
การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
- ผู้ชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ถึงแม้ไม่มีอาการ ผิดปกติ ก็ควรไปตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยิ่งหากมีความ เสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วยดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ยิ่งควรไปตรวจคัดกรอง
- หากไปตรวจอุจจาระแล้วพบว่ามีเลือดปน แนะนำให้ไปคัดกรองเช่นกัน โดยสามารถใช้สิทธิ์บัตรทองและประกันสังคมได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
- การรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 6 วิตามินดี แคลเซียม แมกนีเซียม เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ไข่ เนื้อไก่ แซลมอน ทูน่า ปลาต่าง ๆ ถั่วและธัญพืช เมล็ดเจีย ผักใบเขียว มันฝรั่ง อะโวคาโด กล้วย นมและผลิตภัณฑ์จากนม ดาร์กช็อกโกแลต ในปริมาณที่เหมาะสม ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยเฉพาะในผู้หญิง
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงยิ่งตรวจพบเร็วยิ่งรักษาได้ไว ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้เป็นผลสำเร็จและลดโอกาสการเสียชีวิตได้
ท่องให้ขึ้นใจ ถ้าเราดูแลตัวเองให้ดีและหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ จะทำให้เราห่างไกลจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงได้นะคะ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ข้อควรระวัง ในการใช้ ขี้เหล็ก แทนยานอนหลับ
3 Step จัดการ ไขมันสูง ให้อยู่หมัด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
บ.ก.ขอตอบ : 11 วิธีกินให้อร่อย แก้ปัญหา โรคกรดไหลย้อน
ติดตามชีวจิตได้ที่