แชร์ให้รู้กันทั่ว! ถ้าไม่อยากหูดับ หรือพิการ อย่ากินหมูสุกๆ ดิบๆ!!

ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดของไทย มีการจัดกิจกรรมงานบุญมากมาย อย่างงานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ทำให้ประชาชนมักจะทำการปรุงอาหาร รับประทานกันเอง ซึ่งสิ่งที่ต้องระมัดระวังให้มากนั่นคือ เรื่องความสะอาดและปลอดภัยของอาหารที่ต้องปรุงให้สุก เพราะกระทรวงสาธารณสุขเค้าได้ออกมาเตือนแล้วว่า อย่ากินอาหารสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงเป็นโรคไข้หูดับ อันตรายถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้เลย

“ช่วงนี้ตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีการจัดงานบุญกฐิน งานประเพณี งานรื่นเริงต่างๆ มากมาย จึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังเรื่องการประกอบอาหารและรับประทานอาหาร โดยขอให้เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใหม่ และสะอาด โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ชำแหละกันเองในหมู่บ้าน และนำมารับประทานดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ ก้อย หลู้หมูดิบ เป็นต้น ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้หูดับได้”นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 23 ตุลาคม 2562 พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ จำนวน 337 ราย เสียชีวิต 28 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ อายุมากกว่า 65 ปี รองลงมา 55-64 ปี และ 45-54 ปี ตามลำดับ ส่วนภาคที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือ ภาคเหนือ พบผู้ป่วย 230 ราย คิดเป็นร้อยละ 68 ของผู้ป่วยทั้งหมด และเสียชีวิต 19 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ แพร่ กำแพงเพชร และน่าน ตามลำดับ

ทำความรู้จักโรคไข้หูดับ

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)  โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย ซึ่งโรคนี้ติดต่อได้ 2 ทาง คือ  1.การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อนี้ รวมทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค โดยติดต่อสู่คนผ่านทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา  2.การบริโภคเนื้อหมู หรือเลือดหมูที่ปรุงดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ หลังรับประทาน 3-5 วัน

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะ จนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการกินหมูดิบให้ทราบ เพราะหากมาพบแพทย์และวินิจฉัยได้เร็ว จะช่วยลดอัตราการเกิดหูหนวกและการเสียชีวิตได้

หากท่านมีอาการดังกล่าว หลังจากที่สัมผัสหมู หรือมีประวัติรับประทานเนื้อหมูสุก ๆ ดิบ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัย และการให้การรักษาโดยเร็ว ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็มักตอบสนองได้ดีและรักษาให้หายขาดได้ โดยระยะเวลาในการให้ยาปฏิชีวนะ ควรให้นานอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าหากรักษาล่าช้า ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน

สำหรับวิธีการป้องกันโรค คือ

1.รับประทานหมูสุกเท่านั้น โดยปรุงเนื้อหมูให้สุกทั่วถึงจนเนื้อไม่มีสีแดง ไม่เติมหรือใส่เลือดดิบในอาหาร และควรเลือกซื้อเนื้อหมูที่ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.