2.ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อหมู สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรสวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือ รวมถึงสวมเสื้อที่รัดกุมระหว่างทำงาน หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง
ใครผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้
ผู้ที่ป่วยมักเป็นกลุ่มชายวัยกลางคน และผู้สูงอายุ กว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ มักพบว่ามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง มักจะมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ เฉลี่ย 3 วันก่อนป่วย และส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดเป็นพิษ และเยื่อบุหัวใจอักเสบผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ, ผู้ที่เคยตัดม้ามออก, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน , ผู้ป่วยติดสุราเรื้อรัง, ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยโรคหัวใจ
ทั้งนี้ ผู้ที่เสี่ยงต่อกาเกิดโรคไข้หูดับ คือ ผู้รับประทานหมูดิบหรือมีเลือดหมูดิบในอาหาร ผู้ที่สัมผัสกับสุกรที่ ติดโรคโดยตรง เช่น ผู้เลี้ยงสุกร ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ชำแหละเนื้อสุกร เป็นต้น กลุ่มที่เสี่ยงมีอาการป่วยรุนแรงถ้าติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไตวาย มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก เป็นต้น เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคลดลง โรคนี้รักษาหายขาดได้ ดังนั้น หากมีอาการข้างต้นภายหลังจากรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมู เลือดดิบๆ หรือปรุงสุกๆ ดิบๆ ขอให้รีบพบแพทย์ทันที
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคหูดับถือเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ขาดสุขอนามัยในการกิน และแม้จะรักษาอาการหูดับจนหายแล้ว แต่อาการหูดับมักจะยังคงอยู่ทำให้เกิดหูหนวกถาวรได้เมื่อรู้ถึงอันตรายจากการรับประทานเนื้อหมูดิบแล้ว เราจึงควรปรุงอาหารให้สุกอยู่เสมอ ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ที่ปรุงอาหารและนำอาหารเข้าปากร่วมกัน แม้กระทั่งง่าย ๆ อย่างการใช้ตะเกียบคีบอาหาร เราก็ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงหมู หรือแล่เนื้อหมูก็ควรสวมถุงมือ สวมรองเท้า และใส่เสื้อผ้าที่รัดกุมก่อนสัมผัสเนื้อหมู หรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ รวมถึงการสำรวจบาดแผลตามร่างกายก่อนสัมผัสทุกครั้งค่ะ
สำหรับประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ