กินอาหารแข็ง เหนียว กรอบ ทำฟันสึก
คุณหมอกฤษณะอธิบายเพิ่มเติมถึงไลฟ์สไตล์เสี่ยงโรคฟันของคนวัยนี้ว่า
“เราพบพฤติกรรมของคนวัยนี้ว่าชอบกินอาหารที่มีความแข็งและเหนียว เช่น น้ำแข็ง ขนมกวนแบบไทยๆ เช่น ถั่วตัด กระยาสารท ซึ่งเป็นอาหารที่เขาชื่นชอบมาตั้งแต่เด็กและกินจนติดเป็นนิสัย ซึ่งเมื่ออายุมากขึ้น เนื้อฟันบางลง การกินอาหารเหล่านี้อาจทำให้ฟันสึกได้”
หนังสือ โรคของช่องปากและฟัน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฟันสึกว่า
“ฟันสึกคือการที่เคลือบฟันสึกจากการถูกกด บด หรือถูกเสียดสีอาจเกิดกับฟันทั้งซี่ ด้านนอก ด้านใน และด้านตัดของฟัน เกิดเฉพาะจุดที่ถูกกด บด หรือบางซี่ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยโรคฟันสึกเป็นโรค
ที่ค่อยๆ เกิดอย่างช้าๆ และต่อเนื่องหากไม่ได้รับการแก้ไข
“เมื่อฟันสึกไม่มากอาจยังไม่มีอาการ แต่เมื่อฟันสึกมากขึ้นหรือมีภาวะเหงือกร่น จะพบอาการเสียวฟันตามมาเนื่องจากเนื้อฟันบางลงเนื้อฟันสัมผัสอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ จึงส่งผลถึงประสาทฟัน”
หนังสือโรคของช่องปากและฟัน แนะนำวิธีป้องกันอาการเสียวฟัน ดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งมาก เพราะทำให้ช่องปากซึ่งรวมทั้งเหงือก ลิ้น และฟันได้รับบาดเจ็บ
- ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงไม่แข็งเกินไป และแปรงฟันเบาๆ อย่ารุนแรง
- อาจต้องแปรงฟันทุกครั้งเมื่อมีเศษอาหารเหนียวเกาะติดฟันหรือเหงือก ซึ่งไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการบ้วนปากเพื่อป้องกันการเกิดคราบพลัค
- รักษาอาการเสียวฟันที่สาเหตุ เช่น การเคลือบฟลูออไรด์

กรดไหลย้อนและบูลิเมีย ทำเคลือบฟันบาง ฟันกร่อน
อีกสองปัญหาที่พบในวัยทำงานคืออาการกรดไหลย้อนและบูลิเมียที่ส่งผลต่อสุขภาพฟันอย่างเห็นได้ชัด คุณหมอศุภชัยอธิบายเพิ่มเติมว่า
“อาการกรดไหลย้อนและบูลิเมียที่พบในคนวัยทำงานมักเชื่อมโยงกับความเครียด แต่ลักษณะของสองอาการนี้คือ จะทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารไหลท้นมาที่ช่องปาก ซึ่งกรดดังกล่าวจะทำลายเคลือบฟันด้านในทำให้เนื้อฟันบางลง”
คุณหมอศุภชัย แนะนำว่าปัญหาเนื้อฟันบาง ฟันกร่อนจากภาวะกรดไหลย้อน หรือบูลิเมียนั้น อย่างไรเสียต้องแก้ที่ต้นเหตุของโรคโดยการผ่อนคลายความเครียดทำจิตใจให้สบาย ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อย
เช็กไลฟ์สไตล์ “คนสูงวัย” ทำอายุฟันสั้นลง
สำหรับไลฟ์สไตล์ที่เป็นสาเหตุทำให้อายุฟันแก่ชราของผู้สูงอายุคือ มีอายุตั้ง 60 ปีขึ้นไปนั้น มีดังนี้