เคล็ดลับใช้ ยาหยอดตา ให้ถูกวิธี

ยาหยอดตา ใช้ผิดวิธี เสี่ยงมองไม่เห็น

โดยทั่วไปเมื่อมีอาการผิดปกติทางตา ทางที่ดีแนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง แต่ในกรณีไม่สะดวกที่จะไปตรวจได้ และจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาก็ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบจักษุแพทย์พร้อมนำขวดยาที่ใช้ไปให้แพทย์ด้วย

ก่อนเราจะหยิบ ยาหยอดตา ทุกครั้ง ควรตรวจสอบชนิดยาให้ถูกต้องว่า หยิบมาถูกขวด และอย่าลืมเช็กวันหมดอายุ ซึ่งปกติยาหยอดตาที่เป็นแบบขวดหลังจากเปิดใช้งานแล้ว จะอยู่ได้ไม่เกิน 1 เดือน หากเกินกว่านี้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเชื้อโรคมากขึ้น 

ยาหยอดตา ใช้อย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย

ก่อนหยอดตา ควรตรวจสอบชนิดยาที่นำมาหยอดก่อนว่าเป็นยาหยอดตาชนิดที่ถูกต้องหรือไม่ และควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนใช้ยา โดยยาหยอดตาทั่วไปเมื่อเปิดใช้แล้วจะใช้ได้ไม่เกิน 1 เดือน เนื่องจากหากเปิด ไว้นาน จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะมีเชื้อโรคปนเปื้อนในขวดยา แต่หากเป็นยาที่ไม่ใส่สารกันบูดหากเปิดแล้ว  แนะนำให้ใช้ได้ไม่เกิน 12-24 ชั่วโมง

หากจำเป็นต้องหยอดตาหลายชนิดในเวลาใกล้เคียงกัน ควรให้หยอดยาลักษณะเป็นน้ำใสก่อน แล้วตามด้วยการหยอดยาที่เป็นสารแขวนลอย โดยยาที่เป็นสารแขวนลอยสังเกตได้จากเมื่อหยอดตาแล้วยาจะมีลักษณะเหมือนน้ำนมขาวขุ่น ซึ่งยาชนิดนี้จะต้องเขย่าขวดก่อนใช้เสมอ

สำหรับใครที่มียาหยอดตาหลายชนิด และไม่รู้ว่าจะต้องหยอดตัวไหนก่อนหลัง แนะนำว่า

– เริ่มต้นจาก หยอดยาตาที่มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ก่อน

– จากนั้นค่อยไล่ลำดับไปยาหยอดตาที่มีสารแขวนลอย (สังเกตจาก เมื่อหยอดลงไปในตาแล้ว รู้สึกเหมือนมีสีน้ำนมขาวขุ่น และแนะนำว่าก่อนหยอดควรเขย่าขวดทุกครั้ง)

– ปิดท้ายด้วยยาหยอดตาที่เป็นลักษณะเจล หรือขี้ผึ้ง

ใช้ยาหยอดตา

เมื่อใดควรใช้ยาหยอดตา และผลข้างเคียงจากยา

ควรใช้ยาเมื่อมีข้อบ่งชี้และควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ตัวอย่างผลข้างเคียงของยาหยอดตา ได้แก่ ตาแดง แสบตา เคืองตา เปลือกตาคล้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจแพ้ยาหยอดตา หากใช้ยาหยอดตาแล้วมีอาการตาแดง คันตา เปลือกตาบวม ให้กลับมาปรึกษาจักษุแพทย์ทันที

ทั้งหมดนี้ควรจะใช้ระยะเวลาการหยอดที่ห่างกันอย่างน้อย 5 – 10 นาที

ซึ่งการหยอดยาที่ถูกต้อง ก่อนเริ่มจะหยอดเราต้องล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้ง หากเป็นการนั่งหยอดตา ให้แหงนหน้าประมาณ 45 องศา จะช่วยให้หยอดตาได้ง่ายขึ้น แต่หากเป็นลักษณะการนอน ให้นอนหงายราบหน้าตรง และใช้มือข้างที่ไม่ถนัดดึงเปลือกตาลง เหลือตามองบน จากนั้นใช้มือข้างที่ถนัด ถือขวดยาลอยอยู่เหนือดวงตา (ระวังอย่าให้สัมผัสกับดวงตาหรือขนตา) หยดเพียงแค่ 1 หยด จากนั้นหลับตาประมาณ 1 นาที ให้มันซึมเข้าสู่ดวงตา 

นอกจากนี้การดูแลขวดน้ำยาหยอดตาก็สำคัญ หรือการหยอดตาที่ไม่ถูกต้อง ที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อาจนำมาสู่ปัญหาในอนาคตได้ ข้อควรห้ามที่ควรรู้คือ 

  • อย่าใช้ของมีดคม หรือการลนไฟเพื่อเปิดขวดยาหยอดตา
  • อย่าเอาเข็ม หรือกรรไกรมาเจาะปลายขวดยา
  • พยายามอย่าให้นิ้วมือ โดนปลายขวดยา
  • ไม่ควรใช้ยาหยอดตา เกิน 1 เดือน
  • อย่าซื้อยาหยอดตาที่ไม่ได้มาตรฐานมาหยอดตาโดยเด็ดขาด
  • หากยาหยอดตามีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
  • ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกับคนอื่น

ใช้ยาหยอดตา

ยาหยอดตา กับข้อควรปฏิบัติในการใช้อย่างถูกต้อง

หลังจากทราบถึงข้อบ่งชี้และข้อควรระวังของยาหยอดตาชนิดต่าง ๆ แล้ว ต่อไปควรทราบถึงข้อควรปฏิบัติและวิธีการหยอดยาอย่างถูกต้องกัน

1.เก็บรักษายาหยอดตา ยาแต่ละชนิดมีวิธีเก็บรักษาที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้ บางชนิดต้องเก็บในตู้เย็น ที่สำคัญอย่าลืมยาทิ้งไว้ในรถที่ตากแดด เพราะความร้อนจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ

2.อ่านฉลากวันหมดอายุก่อนใช้ยาหยอดตา และควรพร้อมเขียนวันเปิดใช้ไว้ที่ฉลากข้างขวด เมื่อเปิดใช้ครบหนึ่งเดือน หรือตัวยามีการเปลี่ยนสีให้ทิ้งทันที เนื่องจากอาจเริ่มมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค

3.ควรล้างมือให้สะอาด ถ้ารอบๆ ดวงตามีสิ่งสกปรกหรือคราบเครื่องสำอาง ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำอุ่นเช็ดอย่างเบามือเช็ดออก

4.หาที่นั่งที่มีพนักพิง หรือที่นอนที่สามารถแหงนหน้าขึ้นได้โดยไม่เสียการทรงตัว ใช้นิ้วดึงเปลือกตาล่างลงพร้อมกับหยอดยาลงในกระพุ้งตาล่าง 1-2 หยด ถ้าเป็นขี้ผึ้งป้ายตา บีบยายาวประมาณ 1 เซนติเมตร ให้ป้ายจากหัวตาไปหางตา โดยระวังไม่ให้ปลายหลอดยาสัมผัสกับตาหรือมือ เนื่องจากจะทำให้เชื้อสามารถเล็ดลอดเข้าไปปนเปื้อนยาหยอดตาได้

5.หลับตาไว้ 3 นาทีหลังหยอดตา ยาจะค่อยๆ ถูกดูดซึมเข้าไป หากมียาหลายชนิดที่ต้องหยอดในเวลาเดียวกัน ควรรอให้ระยะเวลาหยอดตาห่างกันอย่างน้อย 10 นาที เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของยาทั้งสองชนิด เนื่องจากการหยอดยา 2 ชนิดในเวลาใกล้กันเกินไป ยาหยดที่ 2 จะไปทำให้ความเข้มข้นของยาหยดแรกลดลง จนอาจทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่

5.1 หลังหยอดตาต้องทำอย่างไร เรื่องนี้ ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก ให้คำแนะนำไว้ว่าควรกระพริบตาถี่ๆ กรอกตาไปมา บีบตา หรือลืมตาไว้ อย่างไหนดีกว่ากัน ว่า วิธีหยอดยา ให้ยาสัมผัสกับดวงตาได้มากและนานที่สุด ควรเริ่มจากเวลาจะหยอด ควรดึงหนังตาล่างลง ทำให้มีแอ่งสำหรับบรรจุยาได้มากกว่าที่หยอดลงไปบนตาดำตรงๆ เมื่อหยอดยาแล้วปล่อยนิ้วที่ดึงเปลือกตาลง ให้หลับตาเบาๆ ไว้สักครู่ เป็นการช่วยกักยาในตาให้อยู่นานขึ้น โดยไม่กระพริบตาหรือบีบตา การกระพริบตาถี่ๆ จะเพิ่มการไหลออกจองยาเร็วกว่าปกติถึง 4 เท่า การบีบตาทันที (มักพบได้ในเด็ก) จะยิ่งขับยาออกจากตามากขึ้น

นอกจากนี้การใช้นิ้วกดบริเวณท่อระบายน้ำตา (บริเวณมุมตาด้านในที่เปลือกตาล่าง) จะช่วยลดปริมาณของยาที่จะไหลลงท่อน้ำตา และถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตลง ลดโอกาสเกิดผลจ้างเคียงทางร่างกายจากนาได้ ทำให้ยาสัมผัสผิวตาได้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของยา

6.ยาบางชนิดหยอดแล้วอาจมีอาการขมคอ สามารถแก้ไขได้โดยการเอานิ้วกดบริเวณหัวตา การเอานิ้วกดตรงหัวตา นอกจากจะช่วยลดปริมาณยาไหลลงคอได้แล้วยังช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์ที่ตาได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังลดอาการข้างเคียงต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

7.  ยาหยอดส่วนที่เกินล้นออกมานอกตา ให้ใช้สำลีค่อย ๆ ซับออก อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะจะทำให้ผิวหนังรอบดวงตาเกิดการอักเสบได้

อย่างไรก็ตามหากใครใช้ยาหยอดตาบางชนิดแล้วรู้สึก เคืองตา แสบตา มีอาการตาแดง เปลือกตาคล้ำ ตาบวม ให้หยุดยา และนำยาไปปรึกษาจักษุแพทย์ทันที


ที่มา

  • si.mahidol.ac.th
  • รพ. ตา หู คอ จมูก

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาการดูไม่หนัก แต่ซ่อนปัญหาสุขภาพใหญ่ให้เราต้องตกใจ

เบาหวานขึ้นตา อาการแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวังให้ดี

ตากระตุก เสียงเตือนจากร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.