ฝนหลวง

ฝนหลวง หยาดน้ำพระราชหฤทัยจากฟ้าสู่ผืนดิน

ฝนหลวง หยาดน้ำพระราชหฤทัยจากฟ้าสู่ผืนดิน

ฝนหลวง ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ

“ทำด้วยความสุจริตใจ พยายามทำความดีเพื่อส่วนรวม รักษาตัวเองไว้เป็นกลาง ไม่กลัวคำวิจารณ์ ในไม่ช้าความดีจะมาถึงตัว”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จากบันทึกส่วนตัวของหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล

 

พลังแห่งความเชื่อมั่นศรัทธาเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะนำพาให้ทุกสิ่งสำเร็จสมประสงค์ได้ ด้วยพลังแห่งความเชื่อมั่นนี้เองที่เปลี่ยนผืนดินแห้งแตกระแหงคล้ายทะเลทรายในภาคอีสาน ให้กลับชุ่มชื้นและมีชีวิตเป็นพลังที่กอบรวมเมฆบนท้องฟ้าให้กลั่นตัวลงมาเป็นหยาดฝนหล่อเลี้ยงชีวิตคนไทย และเป็นพลังที่หลอมรวมบุคคลที่มีความสามารถจากทุกภาคส่วนให้เข้ามาอุทิศตนทำงาน โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยหรือแม้กระทั่งชีวิตของตน

จึงก่อเกิดเป็น โครงการพระราชดำริฝนหลวง ที่มีเรื่องราวสืบเนื่องยาวนานนับครึ่งศตวรรษ

 

ฝนหลวง

 

นาวาอากาศเอก มนูญ รู้กิจนา ผู้อำนวยการกองปฏิบัติกิจพิเศษ กรมยุทธการทหารอากาศ กล่าวว่า

“โครงการพระราชดำริฝนหลวงเกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชนอันเกิดจากความแห้งแล้ง โดยมีพระราชดำริภายหลังจากที่เสด็จฯเยี่ยมเยียนราษฎรภาคอีสานในปี พ.ศ. 2498 ว่า

“ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคเป็นที่รู้กันว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้าและเห็นว่ามีเมฆจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นถูกลมพัดผ่านไป

“วิธีแก้จึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำฝนเทียม”

ทั้งยังทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศไทยจะทำให้เกิดฝนได้แน่ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริดังกล่าวแก่ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ด้านการเกษตรที่มีชื่อเสียง เพื่อดำเนินการศึกษาและหาแนวทางปฏิบัติ

พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงใช้เวลาถึง 14 ปี ศึกษาความเป็นไปได้ในการทำฝนเทียมจากเอกสารและตำราวิชาการต่าง ๆ ประกอบกับข้อมูลที่ทรงบันทึกไว้ขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรทั้งยังทรงศึกษาทดลองด้วยพระองค์เอง ร่วมกับคณะทำงานทำให้ได้สูตรสารเคมีในการทำฝนที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทยและกระบวนการทำฝนเทียม ซึ่งหลักสำคัญอยู่ที่ความชื้น อุณหภูมิ รวมทั้งความเร็วและทิศทางลม ก่อนจะทำฝนจึงต้องศึกษาปัจจัยเหล่านี้ให้ดี

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.