โรคหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้ผู้สูงวัยมีหัวใจที่ทำงานผิดปกติ

การรักษา

เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำวางแผนให้ผู้ป่วยรักษา ซึ่งมี 3 ประการดังนี้

1.การรักษาด้วยยา

2.การรักษาโดยการขยายหลอดเลือด เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น

3.การรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อทำทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ หรือที่เรียกว่าการบายพาส

ส่วนมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้ทานยาไปก่อน เมื่อผู้ป่วยทานยามาได้ผลแล้วค่อยตรวจดูหลอดเลือดหัวใจด้วยการฉีดสี จะได้ทราบว่ามีปัญหาที่จุดใดบ้างเพื่อจะได้เลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมในแต่ละราย

ส่วนใหญ่คนไข้จะได้รับยามาทานที่บ้านก่อน แต่จะให้เป็นไปตามการรักษาของแพทย์ ผู้ป่วยควรให้ความร่วมมือกับแพทย์ด้วย ดังนี้

  • สำหรับผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุ ควรให้ท่านมีความเข้าใจในคำแนะนำของแพทย์เสียก่อน หากท่านสงสัยอะไรต้องให้ท่านปรึกษาแพทย์
  • เราควรศึกษาถึงอาการดังกล่าว และพาผู้สูงอายุที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจมาศีกษา ถึงอาการของโรค รวมไปถึงประโยชน์จากการใช้ยา
  • เราไม่ควรให้ท่านเปลี่ยนยาหรือหยุดทานยาก่อนที่จะปรึกษาแพทย์ แต่ถ้าผู้ป่วยทานยาแล้วไม่ได้ผล ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

วิธีการที่หลีกเลี่ยงการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

1.สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจขาดเลือดอันดับแรก ต้องระวังในเรื่องการรับประทานอาหารเสียก่อน

  • เราต้องให้ท่านทานอาหารให้มากๆ ทุกครั้ง ควรแช่ผักด้วยด่างทับทิมทุกครั้ง เพื่อล้างสารพิษในผักออก
  • การทำอาหารให้ท่านทานควรให้ท่านทานอาหารประเภท นึ่ง ตุ๋น ต้ม อบ ย่างแทนการทอดและผัด
  • ให้ท่านทานข้าวในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรให้น้อยหรือมากจนเกินไป
  • เราต้องให้ท่านทานอาหารประเภท เนื้อปลา หรือทำเนื้อให้ละเอียดเสียก่อนเพื่อง่ายต่อการย่อยของอาหาร
  • ส่วนอาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงเป็นพิเศษ คงเป็นอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลมาก
  • งดดื่มสุรา หรือมีแอลกอฮอล์ผสม

2.กิจกรรมออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุแล้ว ควรออกกำลังกายที่พอเหมาะ หรือไม่ก็ออกกำลังกายในท่าที่ง่ายๆ เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ชะลอการเสื่อมของร่างกายได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท กล้ามเนื้อกระดูก และทำให้ระบบการทำงานของหลอดเลือดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ถ้าจะให้ดีต้องไปตรวจร่างกายก่อนออกกำลังเพื่อให้แน่ใจก่อนว่าท่านไม่ได้เป็นโรคหัวใจ

3.อีกกิจกรรมที่ทำให้ท่านลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้อย่างมากคือ ลดความอ้วน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน อย่าลดความอ้วนเองอาจเกิดอันตรายได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไป

หากแต่ท่านที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สำหรับท่านแล้ว โรคหัวใจสามารถที่จะควบคุมได้ โดยการออกกำลังกาย และควรออกกำลังกาย ดังนี้

  • การที่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดควรออกกำลังกายที่ค่อยเป็นค่อยไป หากมีอาการเหนื่อย ให้ผู้ดูแลควรสังเกตว่า หากท่านออกกำลังกายไป และยังคงสามารถพูดคุยกับเราได้ไม่มีติดขัด แสดงว่าท่านยังคงปกติ
  • สำหรับผู้สูงอายุเองที่เป็นโรคควรรู้ว่า อาการฉุกเฉินที่ควรหยุดออกกำลังกายมีอาการแน่นหน้าอก หน้ามืด
  • ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรง หรือมีการแข่งขันเพราะอาจทำให้ท่านเสียชีวิตฉับพลันในทันที
  • ถ้าผู้สูงอายุรู้สึกว่าไม่สบาย วันนั้นควรหยุดออกกำลังกายเสียก่อน หากยังคงออกกำลังกายจะทำให้เกิดอันตรายได้
  • เราควรพาท่านไปออกกำลังในสถานที่โล่ง โปร่งสบายและมีเพื่อนของท่านออกกำลังกายกันหลายคน เพื่อความเพลิดเพลินและสังคมและยังสามารถช่วยเหลือได้ในกรณีที่เกิดอันตราย
  • ในขณะที่ท่านออกกำลังกายอยู่เราควรสังเกตว่าท่านมีอาการเจ็บหน้าอก หอบ หายใจติดขัด ใจสั่น ควรลดการออกกำลังกายแต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ยังคงวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น เจ็บหน้าอก และตึงที่ขา ควรพบแพทย์ด่วน

อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าการดูแลผู้สูงอายุ หรือการป้องกันไม่ให้พวกท่านเกิดอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เป็นเสมือนยาวิเศษ หล่อเลี้ยงให้มีกำลังใจ สู้กับความทุกข์นั้นก็คือ การดูแลเอาใจใส่ห่วงหาอาทรจากคนที่เรารัก ยิ่งผู้ที่เจ็บป่วยนั้นคือ พ่อ แม่ ผู้มีพระคุณด้วยแล้ว ยิ่งควรต้องใส่ใจดูแลให้ดี ทำทุกอย่างเพื่อให้ท่านมีความสุขที่สุดค่ะ

ข้อมูลประกอบจาก: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เราจะรับมือกับความชราอย่างไร เมื่อวันนั้นใกล้จะมาถึง!

เรียนรู้การอยู่กับโรคชรา อยู่อย่างมีคุณค่าและมีความสุขในบั้นปลายชีวิต!

เมื่อเวลาผ่านไประบบต่างๆ ย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา!

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.