ไลฟ์สไตล์เมดิซีน เป็นคำที่ในช่วงนี้เราได้ยินกันบ่อยมาก เพราะเป็นการใช้ชีวิตให้เป็นยา ป้องกันโรคต่างๆ ได้ และหนึ่งในนั้นก็คือโรคที่เรากังวล และติดอันดับการเสียชีวิตของคนทั้งโลก อย่าง โรคมะเร็ง แต่ไลฟ์สไตล์เมดิซีนคืออะไร แล้วทำอย่างไร แล้วป้องกันมะเร็งได้อย่างไร วันนี้แอดจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
ไลฟ์สไตล์เมดิซีน (Lifestyle Medicine) คืออะไร

ไลฟ์สไตล์เมดิซีน(Lifestyle Medicine) หรือในชื่อภาษาไทยอย่างไพเราะ ว่า “เวชศาสตร์วิถีชีวิต” คือการบูรณาการแนวทางเวชศาสตร์ด้านวิถีชีวิตเข้ากับหลักการของการแพทย์ปัจจุบัน ซึ่งการบูรณาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง และในกรณีที่เป็นโรคอยู่แล้วก็สามารถใช้เป็นแนวทางเสริมในการบำบัดรักษาได้ โดยเป็นการประยุกต์ใช้หลักการด้านสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมศาสตร์ การแพทย์ และแรงจูงใจที่แต่ละคนต้องปฏิบัติในการจัดการปัญหาสุขภาพ
ไลฟ์สไตล์เมดิซีน กับโรคมะเร็ง
นอกเหนือจากการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว การแพทย์บูรณาการยังให้ความสำคัญกับกับเวชศาสตร์
วิถีชีวิตหรือ Lifestyle Medicine ด้วย เพราะช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาได้ดียิ่งขึ้น ลดความเสี่ยง
ต่อการกลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งมากขึ้น เวชศาสตร์วิถีชีวิตในการบำบัดและป้องกันมะเร็งมีหลายวิธี เช่น

- Detoxification ขับสารพิษ ลดอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบระดับเซลล์ด้วยการล้างสารพิษโลหะหนัก และกระตุ้นการทำงานของตับ รวมถึงกระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง
- โภชนาการบำบัด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
และน้ำตาลในปริมาณสูง - การออกกำลังกาย เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด เพิ่มออกซิเจนในเซลล์ ส่งผลดีต่อระบบภูมิต้านทาน
- ดูแลสุขภาพจิต รักษาสมดุลทางอารมณ์ เสริมสร้างพลังใจเพื่อลดความเครียดสะสม ระบบภูมิต้านทานจะแข็งแรงขึ้น ฟื้นฟูร่างกายได้ดีขึ้น
- การแก้ไขจุลชีวะแวดล้อมของมะเร็ง เป็นการสร้างสภาวะใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตของมะเร็ง ลดการอักเสบ และส่งเสริมการทำงานของภูมิต้านทาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และลดโอกาสดื้อยา
ไลฟ์สไตล์เมดิซีน มีอะไรบ้าง
โภชนาการ
อาหารที่ดีเปรียบเสมือนยารักษาโรค การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นการเน้นการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป จำกัดปริมาณน้ำตาล ไขมัน และเกลือ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมทางกาย เป็นประจำสม่ำเสมอ ทั้งการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอด หัวใจ เช่น เดินเร็ว วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ และการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การจัดการความเครียด
เป็นเทคนิดการลดความเครียดและส่งเสริมกลไกการเผชิญปัญหาที่ดี เพื่อจัดการกับความเครียดอย่างมึประสิทธิภาพ เพราะการมีความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนซึ่งส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน รวมถึงโรคมะเร็ง
การนอนหลับที่มีคุณภาพ
การนอนหลับที่ไม่ดีส่งผลต่อการเกิตโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการนอนหลับที่เพียงพอในคนส่วนมากจะอยู่ในช่วงประมาณ 7-9 ชั่วโมง และแนะนำให้จัดการสิ่งแวดล้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เพื่อให้เกิดการนอนหลับที่ดี มีคุณภาพ มีสุขภาวะที่ดีตามมา
การงด ลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพสารเสพติดให้โทษ เป็นปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมที่สำคัญซึ่งสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังหลายประการ
การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกในสังคมและครอบครัว
คือการมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้อื่น ความรู้สึกเป็นที่รัก ความห่วงใย การเห็นคุณค่าและได้รับการชื่นชมจากผู้อื่น รวมทั้งการสนับสนุนทางอารมณ์เมื่อรู้สึกเศร้าการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ออกกำลังกายกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เสริมเม็ดเลือดขาว ลดโอกาสเจ็บป่วย
7 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจเลือก วิธีรักษามะเร็ง ด้วยแพทย์ทางเลือก
How to ลดไขมันในเลือด ฉบับหมอไทย
ติดตามชีวจิตได้ที่