ช็อกโกแลตซีสต์ ปวดท้อง ปวดท้องประจำเดือน

เช็ก 7 อาการปวดเสี่ยง ช็อกโกแลตซีสต์

2. เรื้อรัง รายละเอียดของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มีดังนี้

โรคนี้พบได้ในผู้หญิงทั่วไปร้อยละ 1.2 – 1.5

แต่ในผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังหรือปวดประจำเดือน พบโรคนี้ได้ถึงร้อยละ 70 ส่วนผู้หญิงที่มีลูกยากพบร้อยละ 50

พบมากในผู้หญิงอายุ 25 – 35 ปี

แต่ในวัยรุ่นหรือวัยหมดประจำเดือนก็สามารถพบได้

เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

โดยมียีนกลายพันธุ์หลายตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้

เกิดมากในคนที่ได้รับฮอร์โมนเพศหญิงจากภายในหรือภายนอกร่างกาย

ดังนั้นคนที่มีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อยกว่า 11 – 13 ปี หมดประจำเดือนช้ากว่า 51 ปี ชอบกินฮอร์โมนเพศหญิงจากยาหรือสมุนไพร มีโอกาสเกิดโรคสูง

บุคลิกของคนเป็นโรคนี้คือ

ผู้หญิงผอมสูง ชอบกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น ฟาสต์ฟู้ด

โรคนี้เกิดน้อยในคนที่มีลูกหลายคน

ให้นมลูกนานมากกว่า 6 เดือน มีประจำเดือนช้ากว่า 14 ปี หมดประจำเดือนก่อน 51 ปี

การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดลดโอกาสเกิดโรค

การกินน้ำมันปลา (โอเมก้า – 3) ลดการเกิดโรคนี้ได้

ที่ว่าเป็นโรคเรื้อรัง คือ รักษาแล้วไม่ค่อยหายขาด จะหายเมื่อมีลูกแต่ผู้ป่วยโรคนี้มักมีลูกยาก จึงไม่ค่อยมีลูก เมื่อมีประจำเดือนก็มักจะกลับมาเป็นใหม่ โดยโอกาสที่โรคจะกลับมาเป็นซ้ำหลังผ่าตัดภายใน 2 ปี ร้อยละ 20 ภายใน 5 ปี ร้อยละ 40 – 50

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
กินน้ำมันปลา ลดการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้

 

3. มีลูกยาก โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบจากเลือดที่เข้าไปสร้างความระคายเคือง สร้างพังผืด ทำให้เซลล์อักเสบ สร้างสารเคมีจากการอักเสบทำให้ไข่ไม่ตกหรือไข่ตกแต่ไม่สามารถเข้าไปในท่อนำไข่ ไม่มีการปฏิสนธิท่อนำไข่และโพรงมดลูกบิดเบี้ยวจากพังผืด เป็นอุปสรรคต่อการฝังตัวของตัวอ่อน แม้ผ่าตัดรักษาแล้ว โอกาสท้องก็ยังมีต่ำ คำแนะนำของผู้ที่มีบุตรยากและเป็นโรคนี้คือ หลังผ่าตัดส่องกล้องควรใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทำเด็กหลอดแก้ว จะมีโอกาสท้องสูงกว่าปล่อยตามธรรมชาติ

คำแนะนำวิธีป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นี้มีดังนี้ค่ะ

1. ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ทั้งัสองข้าง โรคที่กลับเป้นซ้ำหลังผ่าตัดรักษาเกิดจากเหตุผล 2 ประการ หนึ่ง ผ่าไม่หมด สอง โรคกลับเป็นซ้ำจากปัจจัยกระตุ้น เช่น มีฮอร์โมนสูง ดังนั้นหากมีลูกแล้วและเป็นชนิดรุนแรง การผ่าตัดรักษาที่หายขาดคือตัดมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้างออก

2. หลังผ่าตัด ควรรักษาต่อด้วยการรับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนนาน 1 – 5 ปี หรือจนกว่าจะหมดประจำเดือน หากมีอาการปวดท้องหลังผ่าตัดควรพบแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าโรคกลับเป็นซ้ำหรือไม่

3. ระมัดระวังการรับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโทรเจน ไม่ว่าจะจากยาสมุนไพรหรืออาหารที่มีไฟโตเอสโทรเจน

ดังนั้นคนที่เคยเป็นโรคนี้ไม่ควรกินกาวเครือ ตังกุย ยาสตรี น้ำมะพร้าว น้ำเต้าหู้ ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้โรคกลับเป็นซ้ำได้

 

จาก คอลัมน์เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 468


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ช็อกโกแลตซีสต์โรคที่ทำให้มีลูกยาก

ไม่มี รังไข่ ทำแก่ง่าย โรคร้ายรุม จริงหรือ

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.