ผู้เชี่ยวชาญแนะ ผักห้ามกินดิบ ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดีแน่นอน
เดี๋ยวนี้ ใครๆก็หันมากินผัก เพราะผักนั้นดูจะเป็นอาหารสุขภาพที่ไม่ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านไหนก็แนะนำให้กิน แต่ใช่ว่าเราจะกินผักสุ่มสี่สุ่มห้า หรือกินแต่ผักอย่างเดียวก็อาจทำให้เจ็บป่วยได้ วันนี้เรามีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยว ผักห้ามกินดิบ อาจทำร้ายสุขภาพได้มาฝาก
ข้อมูล : จากคลิป MU [by Mahidol] ผัก 5 อย่าง ห้ามกินดิบ โดย ผศ.ดร. ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ธรรมชาติไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป
สารในธรรมชาติบางอย่างในผักบางชนิดอาจไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคบางโรค หรือมีเงื่อนไขทางสุขภาพบางอย่าง ดังนั้น ผักที่สุกหรือดิบ ย่อมก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพแตกต่างกัน เรามาดูกันเลยว่าผักอะไร ไม่ควรกินดิบพร่ำเพรื่อ ควรดูข้อจำกัดในแต่ละรายบุคคลด้วย
1.ถั่วงอก
ถั่วงอก ไม่ควรกินดิบ เพราะมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซามัวไนรา หรือ อีคัวไลน์ ซึ่งแม้ในต่างประเทศก็ตรวจพบเชื้อดังกล่าว
ในกระบวนการเพาะถั่วงอกนั้น ต้องอาศัยความชื้นและอุณภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งโดยปกติ เชื้อพวกนี้จำถูกทำลายเมื่อนำผักไปผ่านความร้อน ดังนั้น เวลากินถั่วงอกในก๋วยเตี๋ยว หรือผัดถั่วงอก เราจึงไม่ได้รับอันตรายจากเชื้อดังกล่าว แต่หากเรากินดิบๆ บางครั้งเราล้างแล้วแต่ก็อาจกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ไม่หมด หรือหากซื้อกินข้างนอก บางร้านอาจไม่ได้ล้างหรือล้างไม่สะอาดพอเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้น ถ้าเราเอาถั่วงอกไปผ่านความร้อน เช่น ลวก หรือผัด ความร้อนจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ตาย เราก็จะปลอดภัยมากขึ้น
2.กะหล่ำปลี
ผักจำพวกกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี จะมีสารที่เรียกว่า กอยโทรเจน (Goitrogen) ในผู้ที่เป็นโรคไฮโปไทรอยด์ หรือมีการทำงานของต่อมไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ จะมีอัตราการเผาผลาญต่ำเป็นทุนเดิม หากรับประทานผักที่ไม่ได้ผ่านความร้อน ผักจะยังมีสารกอยโทรเจน และสารตัวนี้จะไปยับยั้งเอนไซม์ในการพาไอโอดีนเข้าไปสู่ต่อมไทรอยด์ ก็จะยิ่งทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ แต่ในคนทั่วไป ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ สามารถกินกะหล่ำปลีดิบได้ ไม่มีปัญหา แต่ควรระวังเรื่องยาฆ่าแมลงในผักเท่านั้นเอง
ดังนั้น เวลาเราจะกินกะหล่ำปลีดิบ เราควรจะต้องล้าง โดยเฉพาะการแยกล้างทีละใบ เพราะส่วนใหญ่ยาฆ่าแมลงจะซึมเข้าไปด้านในด้วย
3.หน่อไม้และมันต่างๆ
พืชจำพวกมันสำปะหลัง หรือพวกหน่อไม้ มักมีสารไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยปกติ หากเรานำไปผ่านความร้อน หรือ ต้มนานประมาณ 10 นาที สารดังกล่าวถึงจะสลายไป
ดังนั้นการกินดิบอาจรับเอาสารไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกายได้
4.ถั่วฝักยาว
บางครั้งเวลากินถั่วฝักยาวดิบเข้าไป บางรายอาจมีอาการท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย ซึ่งอาจเป็นปัญหาของระบบลำไส้ของแต่ละคนมากกว่าในเรื่องของการย่อย แต่สิ่งที่สำคัญที่เราควรระวังมากกว่าเมื่อกินถั่วฝักยาวดิบก็คือ เป็นผักที่มีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในการปลูกค่อนข้างสูง และเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มดูดซึมด้วย เช่น โมโนโกลโตฟรอสต์ ซึ่งเรามักจะเจอว่ามีการปนเปื้อนและตกค้างอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้ว สารนี้จะใช้เวลาในการสลายประมาณ 7 วัน แต่เวลาเราซื้อ เราไม่รู้หรอกว่าเขาใช้ฉีดพ่นไปแล้วทิ้งช่วงถึง 7 วันก่อนจะเก็บมาขายให้เราหรือไม่ เราจึงต้องระวังหากจะบริโภคถั่วฝักยาวดิบ
แต่หากเราซื้อถั่วฝักยาวมาทำอาหารกินเองที่บ้าน โดยใช้วิธีล้างผ่านน้ำ ใช้มือขัดถูเพื่อให้สารพวกนี้ออกไปด้วยอาจไม่พอ อาจต้องแช่ผักด้วยเพื่อความปลอดภัยที่แน่นอน วิธีล้าง/แช่ผักให้ปลอดภัย อ่านที่นี่
5.ผักโขม
ผักโขมจะมีกรดออกซาลิค (Oxalic Acid) ซึ่งกรดออกซาลิคที่อยู่ในผักโขมจะไปยับยั้งหรือขัดขวางร่างกายในการนำแคลเซียมและธาตุเหล็กไปใช้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมและธาตุเหล็กได้ ยกตัวอย่างเช่น เรากินอาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียมและธาตุเหล็ก แต่ในขณะเดียวกันอาหารมื้อนั้นมีผักโขมดิบร่วมอยู่ด้วย แม้ผักโขมจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่กรดออกซาลิคก็จะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็กในอาหารมื้อนั้นได้ ดังนั้น หากต้องการกินผักโขมดิบ ก็ควรกินแยกจากอาหารที่อุดมแคลเซียมและธาตุเหล็ก เผื่อไม่ให้เสียคุณค่าทางอาหารไปโดยใช่เหตุ
ดูคลิปเต็ม คลิ้ก
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
6 วิธี ล้างผัก แบบนี้ปลอดภัยชัวร์